www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

การปฏิบัติระยะต้นยางให้ผลผลิต

การเปิดกรีด

- โดยทั่วไปต้นยางเปิดกรีดได้เมื่ออายุประมาณ 7 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน
- ต้นยางในสวนต้องมีขนาดเปิดกรีดได้มากกว่า 70 % ของยางทั้งหมด
- เปิดกรีดครึ่งลำต้นที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน รอยกรีดทำมุม 30 องศากับแนวระนาบ และเอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง
- ติดรางรองรับน้ำยางห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวดรับถ้วยน้ำยาง ให้ห่างจากรางรับน้ำยางลง 
  มาประมาณ 10 เซนติเมตร
- ถ้าไม่กรีดยางควรคว่ำถ้วยไว้เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกตกลงไปในถ้วยรับน้ำยาง

การกรีดยางและระบบกรีด

การกรีดยางในระยะ 3 ปีแรก ระบบกรีดที่เหมาะสมควรเป็น

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) ใช้กับยางทุกพันธุ์

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2 S d/ 2) ยกเว้นพันธุ์ RRIM 628 PB 28/59 และ PB 5/63

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5 % เหมาะ สำหรับยางที่ให้ผลผลิตต่ำใน ระยะแรกของการกรีด

การกรีดยางหลังจาก 3 ปี ไปแล้ว ระบบกรีดที่เหมาะสมควรเป็น

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) เหมาะกับพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2 S d/ 2) ใช้กับยางทุกพันธุ์ ยกเว้นพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3)ร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง เหมาะกับยางที่ให้ผลผลิตต่ำ

การกรีดเปลือกงอกใหม่

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2 S d/ 2)ใช้กับยางทุกพันธุ์

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/ 3) ใช้กับยางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสามวัน (1/2 S d / 4) หรือกรีดครึ่งต้นวัน เว้นสองวัน (1/2 S d/ 3)ร่วมกับ สารเคมีเร่งน้ำยาง

ระบบกรีดสำหรับชาวสวนขนาดเล็ก

เพื่อแก้ปัญหาและลดความสูญเสีย เนื่องจากชาวสวนไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพราะมีความจำเป็นหลายประการบังคับอยู่ ฉะนั้นเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อน จึงอนุโลมให้ชาวสวนขนาดเล็กปฏิบัติดังนี้ สวนยางที่มีเนื้อที่น้อยกว่า 10 ไร่ อนุโลมให้กรีดระบบครึ่งลำต้นสองวันเว้นวัน (1/2 S.2d/3) แต่จำนวนวันกรีดยาง ไม่ควรเกิน 160 วัน/ปี สวนยางที่มีเนื้อที่มากกว่า 10 ไร่ ควรกรีดตามระบบที่แนะนำ

ผลเสียหายของยาง RRIM600 ระยะเวลากรีด 9 ปีที่กรีดยางระบบหนึ่งในสามลำต้น กรีดทุกวัน (1/3s.d/1)

- ผลผลิต (ต้น/ครั้งกรีด) เป็น 63% ของการกรีดระบบ 1/2S. d/2 หรือให้ผลผลิต (5 ไร่ หรือ 1 งานกรีด/วัน) เป็น 65% ของการกรีดระบบ 1/2S.d/2

- เปลือกงอกใหม่ หนา 93% ของระบบกรีด 1/2 S.d/2

- ความสิ้นเปลืองเปลือก เป็น 206% ของระบบกรีด 1/2S.d/2 มีผลให้อายุการให้ผลผลิตลดลง

-ต้นยางเป็นโรคเปลือกแห้ง 8.3% ในขณะที่ 1/2 S.d/2 เป็นเพียง 1.7% เท่านั้น

การเก็บน้ำยางและการรักษาน้ำยางสด

หลังจากกรีดเสร็จแล้ว ประมาณ 3-4 ชม. เมื่อน้ำยางหยุดไหลก็สามารถ เก็บรวบรวมน้ำยาง เพื่อนำไปทำเป็น ยางแผ่นดิบ หรือขายในรูปน้ำยางสด หากมีความจำเป็น ต้องเก็บน้ำยางไว้เป็น เวลานาน ก่อนนำไป แปรรูปควรใช ้สารกันบูด เพื่อป้องกัน น้ำยางจับตัว

ข้อควรระวังในการกรีดยาง

- หมั่นลับมีดกรีดยางให้คม อยู่เสมอเพื่อให้กรีดเปลือกได้บาง ไม่ต้องออกแรง และหลีกเลี่ยงบาดแผลที่ทำให้หน้ายางเสียหาย

- เปลือกที่กรีดแต่ละครั้งไม่ควรหนาเกิน 2.5 มิลิเมตร

- ควรกรีดไม่เกิน 500 ต้น/คน/วัน หยุดกรีดยางต้นที่เป็นโรคเปลือกแห้ง จนกว่าจะหาย

- หยุดกรีดเมื่อต้นยางผลัดใบ

- หยุดกรีดเมื่อต้นยางเป็นโรคหน้ายาง

- กรีดให้ลึกใกล้เนื้อไม้มากที่สุด แต่อย่าให้ลึกถึงเนื้อไม้ เพราะจะทำให้เปลือกที่งอกใหม่เป็นปุ่มปม

 

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544

         สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง  , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545 

 

 

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว