www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

สำรวจผลของการปลูกยางของสวนยางอายุ 1-2 ป

(Survey Planting Success of Age 1-2 Years Rubber Production)

อนุสรณ์ แรมลี เกษตร แนบสนิท เพชรรัตน์ พลชา อารักษ์ จันทุมา สว่างรัตน์ สมนาค

บทคัดย่อ 

สำรวจผลการปลูกยางพาราของสาวนยางอายุ 1-2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการรอดตาย และสภาพการปฏิบัติดูแลรักษาต้นยางอ่อน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ดำเนินการสำรวจในปี 2543-2544 โดยวิธีการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน มีแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลโดยวิธีทางสถิติ คำนวณค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสุงสูง และค่าสถิติไคสแควร์

จากการประเมินจำนวนต้นยางรอดตายในแปลงยางของเกษตรกร พบว่า มีอัตราการรอดตายเฉลี่ยร้อยละ 87.06 การดูแลรักษาสภาพแปลงส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีร้อยละ 61 ความสม่ำเสมอของขนาดต้นยางส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.86 การเจริญเติบโตของต้นยางเมื่อเทียบมาตรฐานการเจริญเติบโตของยางเขตแห้งแล้ง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 38.33 มีการปฏิบัติดูแลรักษาแปลงยางโดยกำจัดวัชพืช 2 ครั้งต่อปี ร้อยละ 80.51 ใส่ปุ๋ยจำนวน 2 ครั้งต่อปี ในปีที่ 1 และ 2 ร้อยละ 61.66 และ 83.55 ตามลำดับ ปลูกซ่อม 6-15 ต้น ต่อต้นยาง 100 ต้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.30 การคลุมโคนต้นยางในช่วงแล้งร้อยละ 31.69 และถูกต้องตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางร้อยละ 81.82 การทำแนวกันไฟร้อยละ 93.4

สำหรับลักษณะพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ การปลูกสร้างสวนยางและการปฏิบัติดูแลรักษาแปลงยางบางประการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นชาย สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีรถไถนาเดินตาม ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกยางมาก่อน มีขนาดสวนยางเฉลี่ย 13.14 ไร่ ที่ตั้งสวนอยู่ห่างจากบ้าน 1,501-5,000 เมตร ปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ได้รับการสงเคราะห์จากหน่วยงานของรัฐ ระยะปลูก 3 x 7 เมตร ปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน วางแนวขุดหลุมด้วยตนเอง ใช้ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 ซม. ปลูกยางชำถุงด้วยตนเอง ไม่ปลูกพืชแซมยาง เปรียบเทียบกับอัตราการรอดตาย ในสภาพแปลงปลูกแปลงยางของเกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห ์มีอัตราการรอดตายน้อยกว่าแปลงยางที่ใช้ทุนส่วนตัว สำหรับการปลูกซ่อมพบว่า เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มสวนยาง (ส่วนใหญ่ได้รับการสงเคราะห์จากหน่วยงานของรัฐ) มีการปลูกซ่อมมากกว่า ทั้งสภาพการรอดตาย และการปลูกซ่อมของเกษตรกรที่ปลูกโดยใช้ทุนส่วนตัวมีจำนวนต้นรอดตายสูง และปลูกซ่อมน้อยกว่าเกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห์จากหน่วยงานของรัฐ เนื่องด้วยเกษตรกรที่ปลูกโดยใช้ทุนส่วนตัว มีโอกาสในการเลือกวัสดุปลูก(ยางชำถุง) ที่ดีกว่า และต้องจ่ายเงินเอง จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี เพราะหากต้นยางตายจะต้องซื้อมาปลูกเอง

รหัสทะเบียนวิจัย 43 17 600 001

ที่มา www.ruberthai.com

 

 
 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว