www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

ระดับธาตุอาหารในดิน และในต้นยางพารา ในเขตปลูกยางใหม่

(Nutrients Level in Soils and Rubber Trees in Non-Traditional Area)

พิเชษฐ ไชยพานิชย์ จำนงค์ คงศิลป์ อารักษ์ จันทุมา ธีรชาต วิชิตชลชัย ยุทธกร ธรรมศิริ

บทคัดย่อ 

การวิจัยหาระดับธาตุอาหารในดิน และในต้นยางพารา ในเขตปลูกยางใหม่ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 24 จังหวัด พบว่าผลผลิตของยางเฉลี่ยประมาณ 39.24 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด หรือ 296.51 กิโลกรัม/ไร่/ปี ความสูงของต้นยางเฉลี่ย 3.07 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม เฉลี่ย 7.27 เมตร ปริมาตรไม้ยางเฉลี่ย 0.125 ลูกบาศก์เมตร/ต้น หรือ 9.49 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ อัตราส่วนของน้ำหนักใบสด:แห้ง ประมาณ 2.77 : 1 ปริมาณน้ำในใบยางประมาณ 177.08% จำนวนใบยางเฉลี่ย 17,569 ใบ/ต้น และพื้นที่ใบยางเฉลี่ย 134.66 ตารางเมตร/ต้น ระดับธาตุอาหารในดินของชุดดินกบินทร์บุรี ซึ่งเป็นตัวแทนของดินในภาคตะวันออก สูงกว่าชุดดินโคราช ซึ่งเป็นตัวแทนของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้การเจริญเติบโต ผลผลิต ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ของต้นยางในภาคตะวันออกสูงกว่าในภาตตะวันออกเฉียงเหนือ

ความสัมพันธ์ระหว่างอายุต้นยาง กับ การเจริญเติบโตเฉลี่ยของต้นยางของพันธุ์ RRIM 600 ในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีลักษณะเป็นเส้นตรง เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุต้นยาง กับ ปริมาตรไม้ยางเฉลี่ย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอายุต้นยาง กับผลผลิตเฉลี่ยของต้นยาง พบว่ามีลักษณะเป็นเส้นตรงที่ไม่คงที่ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณธาตุไนโตรเจน และปริมาณธาตุฟอสฟอรัสเฉลี่ยในใบ ต้น และรากยาง พบว่าธาตุไนโตรเจนจะอยู่ในใบยางมากที่สุด รองลงมาคือที่ราก และในลำต้น ตามลำดับ ตลอดทั้งต้นยางจะมีไนโตรเจนประมาณ 182054 กรัม ส่วนธาตุฟอสฟอรัสมีประมาณ 972.50 กรัม

รหัสทะเบียนวิจัย 43 17 100 008

ที่มา www.rubberthai.com

 
 

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว