www.Nattakae.webs.com |
ดัชนีความแข็งแรงของต้นตอตายาง
(Vigor Index of Buc Stump)
อารักษ์ จันทุมา พัสมัย จันทุมา อนุสรณ์ แรมลี พิบูลย์ เพ็ชรยิ่ง สว่างรัตน์ สมนาค
กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง
บทคัดย่อเทคโนโลยีการปลูกสร้างสวนยางพื้นที่แห้งแล้ว กิจกรรมที่ 3 ดัชนีความแข็งแรงต้นตอตายางเพื่อหามาตรฐานว่าปัจจัยแต่ละอย่างมีผลต่อความแข็งแรงของวัสดุขยายพันธุ์ยางต้นตอตา ใช้ต้นตอตาที่เป็นตัวแทนจากแหล่งผลิตต่างๆ ได้แก่ ภาคใต้ (จ.พังงา) จ.จันทบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา นำส่วนหนึ่งไปชำถุง เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นยาง เช่น จำนวนต้นเจริญจากแผ่นตา นำต้นตอตายางอีกส่วนหนึ่งไปวัดหาปริมาณน้ำตาล โดยเครื่อง HPLC (High Perfotmance Liquid Chromatography) อาศัยหลักการ สารแต่ละชนิดเคลื่อนไปด้วยความเร็วที่ต่างกัน ทำในสารตัว (Mobile phase) 90% acetonitrile ในน้ำกลั่น ใช้อัตราการเคลื่อนที่ของสารตัวพา 1 แล./นาที ใช้ท่อแยกสาร (column)Shim-Pack CLC-NH2 ขนาด 6.0 x 150 มม.
ผลการทดลองพบว่า ต้นยางที่ผลิตจากภาคใต้ (จ.พังงา) มีปริมาณน้ำตาลในรากสูงสุด 8.15 กรัม/ลิตร รองลงมาคือ ต้นตอยางจากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา และจาก จ.จันทบุรี มีปริมาณน้ำตาลละลายที่ได้ 3.26 และ 3.08 กรัม/ลิตร ตามลำดับ เมื่อตรวจสอบความสำเร็จของการแตกตา หรือ จำนวนต้นเจริญจากแผ่นตาของยางชำถุงในเรือนเพาะชำ ตัวอย่างต้นตอตาจากภาคใต้มีจำนวนต้นเจริญจากแผ่นตามากที่สุดคือ 70.8% รองลงมา คือ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา คือ 49.5% และจาก จ.จันทบุรี 45.6% ตามลำดับ
รหัสทะเบียนวิจัย 42 17 100 016
ที่มา www.rubberthai.com