www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

การศึกษาชีวเคมีของยางพันธุ์แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในเขตภูมิอากาศที่ 1

(Study Biotechnology of Multilateral Rubber Clone Exchnage in Climate Zone1)

นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ รัชนี รัตนวงศ์ อนุสรณ์ แรมลี

ศูนย์วิจัยยางหนองคาย / กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง

บทคัดย่อ 

การศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของน้ำยาง เป็นการศึกษาพารามิเตอร์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความสมดุลของขบวนการทางสรีรวิทยา การผลิตน้ำยาง การไหลและหยุดไหลของน้ำยาง ได้แก่ total solid content (TSC), thiol (RSH) ,inorganic phosphorus (Pi) และปริมาณน้ำตาลซูโครส การทดลองนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางชีวเคมีของน้ำยางกับผลผลิตของยางพันธุ์แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ 20 สายพันธุ์ ที่ปลูกในศูนย์วิจัยยางหนองคาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางชีวเคมีกับผลผลิตยางพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกพันธุ์ยาง และหาช่วงเวลาในรอบปีที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางชีวเคมี เริ่มดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2541 - ธันวาคม 2544

ผลการทดลองพบว่าในยางแต่ละพันธุ์มีผลผลิต และองค์ประกอบทางชีวเคมีแตกต่างกัน ปริมาณ thiol และ Pi มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลผลิต ยกเว้นพันธุ์ PB 311 ปริมาณน้ำตาลซูโครสมีความสัมพันธ์ทั้งทางบวกและลบกับผลผลิต ปริมาณน้ำฝนในช่วงต้นฤดู อุณหภูมิ การผลัดใบและสร้างใบใหม่ของต้นยางมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของค่าองค์ประกอบทางชีวเคมีและผลผลิตยาง และเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคมเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม ในการเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์น้ำยาง เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของน้ำยาง

รหัสทะเบียนวิจัย 43 17 100 005

ที่มา www.rubberthai.com

 

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว