www.Nattakae.webs.com |
การผสมพันธุ์ยางชุด RRIT 400
(Hand - pollination of RRIT 400 Series) กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข ประเทือง เกงขุนทด ธีรชาต วิชิตชลชัย
ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา / กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง
บทคัดย่อ
การผสมพันธุ์ยางชุด RRIT 400 เพื่อสรางพันธุ์ยางลูกผสมใหม่ที่รวมลักษณะดีเด่นจากแม่-พ่อพันธุ์ ดำเนินงานทดลองที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา โดยปลูกพันธุ์ยางที่ใช้เป็นแม่-พ่อพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2531 จำนวน 24 พันธุ์ ได้แก่ BPM24 Haiken1 PBunknow PB5/51 PB5/63 PB235 PB310 PB311 PR305 RRIC7 RRIC52 RRIC100 RRIC101 RRIC110 RRIC121 RRIM600 RRIM707 RRIM717 RRIT13 RRIT21 RRIT156 SCATC93-114 และ Tianren31-45 พันธุ์ละ 10 ต้น โดยใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร ดำเนินการผสมพันธุ์ยางในระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2543 จำนวน 341 คู่ผสม 133,623 ดอก มีค่าเฉลี่ยอัตราการผสมติดร้อยละ 3.69 ได้ลูกผสมจำนวน 4,783 ลงปลูกในแปลงคัดเลือกพันธุ์ และพบว่ามีพันธุ์ยาง 3 พันธุ์ มีลักษณะเกสรตัวผู้เป็นหมัน ได้แก่ BPM24 SCATC93-114 และ Tianren31-45 เนื่องจากอับละอองเกสรไม่สร้างละอองเกสร (empty anther) และมีพันธุ์ยาง 3 พันธุ์ ได้แก่ RRIT 156 PR302 และ PB5/63 ที่มีการออกดอกน้อยมาก ทำให้ดำเนินงานผสมพันธุ์ยางได้เพียงเล็กน้อย
รหัสทะเบียนวิจัย 42 17 100 100 ที่มา www.rubberthai.com