www.Nattakae.webs.com |
การผลิตวัสดุปลูกที่เหมาะสม
(Suitable Produced Rubber Planting Material) อารักษ์ จันทุมา พัสมัย จันทุมา อนุสรณ์ แรมลี สว่างรัตน์ สมนาค เพชรรัตน์ พลชา โอสา จิตจักร์ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา , ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สถาบันวิจัยยางบทคัดย่อ
กิจกรรมย่อยที่ 1 การเขตกรรมที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้นติดตาเขตแห้งแล้ง เพื่อศึกษาการผลิตวัสดุปลูกที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีเปอร์เซ็นต์การติดตาและแตกตา ได้สูงตามมาตรฐาน วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ โดยกรอกดินใส่ถุง จำนนวน 15,000 ถุง แบ่งพื้นที่และจำนวนถุงอย่างละเท่ากัน ปลูกเมล็ดงอกลงถุงทำการติดตา ด้วยพันธุ์ยาง RRIM 600 และ RRIT 251 ดำเนินการทดลองที่ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ระยะเวลาทำการทดลอง 2 ปี (2543-2544) หลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่าการผลิตวัสดุปลูกด้วยต้นติดตาในถุง มีอัตราการแตกตาหลังติดตาสำเร็จ สามารถนำไปปลูกได้ เฉลี่ย 93.5% ปลูกยางเดือน มิถุนายน 2544 หลังปลูกยาง 2 เดือน พบว่าอัตราการรอดตาย 94%
กิจกรรมย่อยที่ 2 ทดสอบเทคนิคการปลูกยางชำถุงขนาดใหญ่ในพื้นที่แห้งแล้ง เพื่อศึกษาชนิดของต้นตอตาที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่เขตแห้งแล้ง ที่มีอัตราการรอดตายสูง วางแผนการทดลองแบบ PCBD 4 ซ้ำ ได้แก่ ต้นตอตาค้างปีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 ซม. ,1.5-2 ซม. , น้อยกว่า 1.5 ซม. และต้นตาตาในปีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1.5 ซม. ดำเนินการทดลองที่ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย กิ่งอ.รัตนวาปี จ.หนองคาย ระยะเวลาทำการทดลอง 1 ปี (2544) ปลูกยางเดือนกรกฎาคม 2544 หลักปลูกยาง 2 เดือน พบว่าอัตราการรอดตายของต้นตาตาค้างปีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 ซม. และ 1.5-2 ซม. สูงที่สุดคือ 79.67 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเจริญเติบโตของต้นยาง พบว่า การใช้ต้นตอตาค้างปีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 ซม. และ 1.5-2 ซม. ต้นยางมีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีที่สุดรหัสทะเบียนวิจัย 43 17 100 015
ที่มา www.rubberthai.com