www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบางระยะ

(Periodic Tapping and Stimulation)

พิชิต สพโชค    นอง ยกถาวร     สุริยะ คงศิลป์    เพิ่มพันธ์ ค่านคร     และ วีรพงศ์ ตันอภิรมณ์ 
ศูนย์วิจัยยางสงขลา/ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง 

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในบางระยะร่วมกับการกรีดระบบ 1/2s d/2 เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ดำเนินการทดลองสถานีทดลองยางคลองท่อม อ. คลองท่อม จ.กระบี่ กับต้นยางพันธุ์ GT1 อายุ 19 ปี จำนวน 30 ต้น/plot วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ วิธีทดลอง 7 วิธีการ โดยทดลองใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5% ปีละ 10,8,6,4,3,2 ครั้ง และไม่ใช้

ผลการทดลองตั้งแต่ มกราคม 2540 - ธันวาคม 2543 พบว่า ระบบกรีด 1/2S d/2 ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 8 ครั้ง/ปี ให้ผลิตผลิตสะสมและผลผลิตเฉลี่ยสูงคือ 21.84 กิโลกรัม/ต้น และ 40.52 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด มากกว่า control 53 เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 4-10 ครั้ง ให้ผลิตผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติมากกว่าการไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 10 ครั้ง/ปี มีแนวโน้มการเพิ่มของผลผลิตลดลง ส่วนการศึกษาการกรีดเป็นช่วงระยะเวลา (periodic tapping) โดยกรีดระบบ 1/2s d/2 กรีด 3 เดือน หยุด 1 เดือน และกรีด 9 เดือน หยุด 3 เดือน ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางและแรงงานกรีด โดยลดจำนวนวันกรีดลงแต่ไม่ลดผลผลิตรวม ดำเนินการทดลองสถานีทดลองยางคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ กับต้นยางพันธุ์ GT1 จำนวน 30 ต้น /plot วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ วิธีการทดลอง 9 วิธีการ ซึ่งมีการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยแต่ละวิธีการหยุดกรีดเดือนที่แตกแต่งกันรวม 3 เดือน/ปี เทียบกับการกรีดตลอดโดยไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง จากผลการทดลองตั้งแต่ เดือนมกราคม 2540 - ธันวาคม 2543 พบว่า การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยหยุดกรีดเดือน กุมภาพันธ์ มิถุนายน และตุลาคม มีจำนวนครั้งกรีด 416 ครั้ง น้อยกว่าการกรีดตลอดโดยไม่ใช้เคมีเร่งน้ำยาง (control) 120 ครั้ง ให้ผลผลิตสะสมสูงคือ 20.60 กิโลกรัม/ต้น มากกว่า control 25 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลผลิตเฉลี่ย พบว่าการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยหยุดกรีดเดือนมกราคม - มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงผลัดใบ ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงคือ 51.65 กรัม/ต้น มากกว่า control 68 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตสะสม 19.06 กิโลกรัม/ต้น มากกว่า control ยาง ได้ผลไม่ค่อยดีเนื่องจากกรีดไม่ได้ แม้ว่าต้นยางจะตอบสนองดีกว่า ฤดูปกติเพราะต้นยางสมบูรณ์กว่า แต่กรีดแล้วมักเก็บน้ำยางครั้งที่ 2 ไม่ได้ (โชคชัย เอนกชัย 2526) จากการกรีดพบว่าในช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม และพฤษภาคม - กันยายน เป็นช่วงที่สามารถกรีดยางได้มากที่สุด แต่การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในฤดูผลัดใบไม่ควรแนะนำให้ใช้ แม้ว่าช่วงนี้จะได้กำไรสูง เพราะต้นยางอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าการเพิ่มของผลผลิตจากการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะมากแต่ผลที่ได้จริงจะน้อย (โชคชัย เอนกชัย และคณะ ,2518) การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ทาเหนือรอยกรีดกว้าง 1.25 ซม. เพียงครั้งเดียวหลังจากเปิดกรีด 1 เดือน พบว่าต้นยางยังคงให้ผลผลิตสูงต่อไปอีก 4-6 เดือน โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 12 เดือน หลังจากทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 134 เปอร์เซ็นต์ ของการไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง (โชคชัย เอนกชัย และคณะ ,2524) ดังนั้นการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางน้อยครั้งและใช้ให้เหมาะสมกับช่วงระยะเวลากรีด ร่วมกับระบบกรีด 1/2S d/2 โดยหยุดกรีดและหยุดใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในบางระยะ จึงน่าจะมีแนวโน้มให้ผลผลิตที่ดีได้ โดยต้นยางไม่ทรุดโทรมไม่กระทบกระเทือนต่อต้นยางและผลผลิตในระยะหลัง และลดค่าใช้จ่ายสารเคมีเร่งน้ำยางที่ต้องใช้ทุกเดือน ทำให้การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางได้รับประโยชน์เต็มที่

การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางต่อเนื่องในระยะยางทำให้ต้นยางทรุดโทรม ผลผลิตลดลง จึงมีการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในรอบปีให้น้อยครั้งลง และพิจารณาร่วมกับการพักกรีดเพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักตัว

รหัสทะเบียนวิจัย 42 17 300 009

ที่มา www.rubberthai.com

 

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว