www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

การแปรรูปยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นท้องที่ใหม่ การผลิตยางอยู่ในระยะเริ่มต้น ในปี 2540-2541 ผลิตได้ประมาณ 7,317 ตันตั้งแต่เริ่มโครงการปลูกยาง หลายฝ่ายมีความเห็นว่า การแปรรูปยางจะเป็นปัญหาสำคัญเพราะการทำยางแผ่นของชาวสวนยาง จำเป็นต้องใช้น้ำสะอาดในปริมาณมาก แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นท้องที่แห้งแล้ง ขาดน้ำในฤดูแล้ง จากความวิตกกังวลดังกล่าวจึงตั้ง ข้อสังเกตกันว่า การผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะต้องหลากหลาย ตามความสะดวก และความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละแห่ง

จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสภาพการแปรรูปยางที่เป็นเอกลักษณะของรูปแบบยาง ที่ชาวสวนผลิตออกขาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อหาทางพัฒนาให้ชาวสวนมีการแปรรูปแบบ เหมาะสมและมีรายได้สูงขึ้น การศึกษาโครงการพัฒนาให้ ชาวสวนมีการแปรรูปยางของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำท้องที่ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงทำยางและโรงอบยาง ที่รัฐบาลจัดหาให้กลุ่มชาวสวนผ่านสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง รูปแบบของยาง ชั้นยางที่ชาวสวนสมาชิกกลุ่มผลิตได้ และชาวสวนยาง กระจัดกระจายผลิตได้ระดับความสำเร็จของโครงการโรงงานแปรรูปของเอกชน และการศึกษาสภาพท้องที่ในลักษณะ ของการกระจัดกระจายการขนส่งและสภาพน้ำกิน น้ำใช้ โดยการรวมกลุ่มทำยางของชาวสวน

สรุปการศึกษา

ตั้งแต่มีการเปิดกรีดยางและแปรรูปยางประมาณ 6-7 ปี ที่ผ่านมาพบว่าชาวสวน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปเริ่มต้นด้วย การทำยาง แผ่นดิบขายมาโดยตลอด ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มแรกสวนเปิดกรีดมีน้อยกระจัดกระจาย พ่อค้ารับซื้อมีน้อย จึงเป็นความจำเป็น สำหรับชาวสวนที่จะต้องทำเป็นแผ่น เพราะสามารถเก็บไว้รอขายได้เป็นเวลานานวัน สำหรับการรมควันยางนั้น มีเพียงสมาชิกนิคมสร้างตนเอง ที่อำเภอประสาท จังหวัดบุรีรัมย์ แห่งเดียวที่มีการรมควันยางขาย ชาวสวนในแหล่งอื่น ๆ ทำยางแผ่นดิบกันหมด เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้จัดกลุ่มทำยางแผ่นแหล่งกลาง และโรงอบยางขึ้น จำนวน 62 โรง ซึ่งแต่ละโรงทำยางจะมีตะกงจักรรีดยาง บ่อน้ำ สำหรับสมาชิกจำนวนประมาณ 30 คนและมีโรงอบยางขนาดความจุ 500 แผ่น โรงทำยางแผ่นแหล่งกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสอนให้ชาวสวนรู้จัก วิธีทำยางแผ่นชั้นดี ถูกต้องตามมาตรฐาน


ปรากฏว่า โดยภาพรวมชาวสวนยางสามารถทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 ร้อยละ 17 ,คุณภาพ 2 ร้อยละ 25 ,คุณภาพ 3 ร้อยละ 51 และ คุณภาพ 4 ร้อยละ 7 ของยางแผ่นที่ผลิตได้ทั้งหมด จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี ทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 และ 2 ได้มากที่สุด กลุ่มทำยางแหล่งกลางจำนวน 62 โรงดังกล่าว ครอบคลุมสมาชิก ได้ประมาณ 1,800 คน หรือประมาณร้อยละ 45 ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่อีกประมาณร้อยละ 55 หรือประมาณ 2,200 คน อยู่กันอย่างกระจัดกระจายเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะสร้างโรงทำยางแหล่งกลางได้ สำหรับโรงอบยางที่ควบคู่อยู่กับโรงทำยางนั้นจุยางแผ่นได้เพียง 500 แผ่น และเป็นการใช้อบยางให้ความชื้นเหลือน้อยที่สุด มิได้อบจนแห้งสนิท รูปแบบของยางยังไม่เปลี่ยนแปลงไป จากยางแผ่นดิบไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าพื้นที่กรีดและผลผลิตจะเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายสนใจที่จะตั้ง โรงงานผลิตน้ำยางข้น มากกว่าที่จะตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง

เอกสารอ้างอิง
สมพร กฤษณะทรัพย์และคณะ , เศรษฐกิจการแปรรูปยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร 2540 

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว