www.Nattakae.webs.com |
ทำไมจึงเรียกว่ายางพารา
ยางพาราเป็นยางที่ได้มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้นยางพารา (เรียกตามภาษาพฤกษศาสตร์ว่า Hevea brasiliensis) สามัญชนทั่วไป เรียกว่า ยางพารา หรือ ต้นยางพารา (para rubber) ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อประมาณ 100 ปี มาแล้ว ยางชนิดที่กล่าวนี้ซื้อขายกันที่เมืองพารา ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพื่อสะดวกแก่การซื้อขายกันในครั้งนั้นจึงเรียกยางชนิดนี้ว่า "ยางพารา"
![]()
![]()
ในระยะนั้นมียางที่ได้จากต้นไม้อยู่หลายชนิด เช่น ยางแคสติลลาในอเมริกันกลาง ยางพันทุเมียจากแอฟริกา และยางอินเดียรับเบอร์ในเอเชียตอนใต้ ถิ่นเดิมของต้นยางพาราอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิล ต้นยางพาราเป ็น ไม้ป่าขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน ทั้งในที่ดอนและที่ลุ่มของแม่น้ำอะเมซอน จนถึงประเทศเปรูชาวพื้นเมือง คือ ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาใต้และอเมริกากลางรู้จักยางมานานแล้ว และได้นำเอามาใช้ทำประโยชน์มาหลายร้อยปี ก่อนที่ชาวยุโรปจะไปพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นถิ่นเดิมของต้นยางพารา ชาวอินเดียนแดงได้ใช้ยางทำลูกบอล ทำผ้ากันฝนและทำถุงเก็บน้ำปากแคบเป็นต้น
แหล่งปลูกยางพาราที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือที่ใด
ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติอื่นๆ คือ ยางพาราจะทำให้อ่อน ให้นุ่ม ยืดหยุ่นหรือแข็งถึงขนาดใช้แทนโลหะบางชนิดก็ได้ เก็บน้ำได้ อัดลมไว้ได้ไม่รั่วและยังเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วยเนื่องจากยางพาราใช้ทำประโยชน์ได้มากมายหลายอย่างความต้องการที่ใช้ยางเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีมาแล้ว จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยมา แต่จำนวนยางพารารวมทั้งยางอื่น ๆ ที่จะกรีด เก็บอามาจากป่าในครั้งนั้น มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นได้ยาก เกรงกันว่าต่อไปจะขาดแคลนลง และประเทศต่าง ๆ ที่มียางก็คงจะไม่จำหน่ายให้หรือไม่ก็คงจำหน่ายในราคาแพง ในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๐-๒๔๒๐ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมานี้ จึงได้มีการพยายามที่จะหาทางปลูกต้นยางให้มากขึ้น ในที่สุดได้มีการนำเมล็ดต้นยางพาราจากลุ่มน้ำอะเมซอนมาปลูกในทวีปเอเชีย ในแหล่งที่มีดินฝนและความชื้นใกล้เคียงกับถิ่นเดิมของต้นยางพารา คือ แผ่นดินที่อยู่ในระหว่างเส้นขนานที่ ๒๘ องศาเหนือ และ ๒๘ องศาใต้
ผู้ที่ได้รับเกียรติในการนำเมล็ดพันธุ์ยางพารามาจากลุ่มน้ำอะเมซอนอย่างเป็นล่ำเป็นสันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นจำนวนถึง ๗๐,๐๐๐ เมล็ด คือ มร. เฮนรี วิค แฮม ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ "เซอร์" (Sir Henry A. Wickham) เมล็ดยางจำนวนนี้ได้ส่งไปเพาะที่อุทยานคิว (Roya botanic Gardens, Kew) ในกรุงลอนดอน ได้เมล็ดงอกและชำไว้ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ต้น ได้ส่งมายังประเทศศรีลังกาในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ส่วนมากตายหมด ในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้ส่งมาที่สิงคโปร์อีก ๒๒ ต้นนี้ ได้แพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ปรากฏว่า ในเอเชียมีการปลูกต้นยางพาราขึ้นเป็นจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าไร่ และในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕ ประเทศไทยก็ได้เริ่มปลูกสร้างสวนยางขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า แหล่งปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือเอเชีย ส่วนที่ประเทศบราซิลมีการปลูกสร้างเป็นสวนน้อยมาก
ต้นยางพาราชนิดที่ให้น้ำยางมากที่สุดคือชนิดใด
![]()
ลักษณะของต้นยางพารา ต้นยางพาราเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีอายุยาวนานเป็นร้อยๆ ปี ขณะนี้ยังมีต้นยางป่าอายุมากๆ ในป่าลุ่มน้ำอะเมซอนอีกเป็น จำนวนมาก ต้นที่เจริญเติบโตในประเทศบราซิลและในประเทศข้างเคียง ลำต้นวัดโดยรอบได้กว่า ๓ เมตร บางต้นลำต้นโตถึง ๕ เมตรเศษก็มี สำหรับความสูงนั้น ถ้าเป็นต้นที่สมบูรณ์และอยู่ในที่ที่ระบายน้ำได้ดี จะมีความสูงถึง ๔๐ เมตร แต่ต้นที่เอามาปลูกในทวีปเอเชียเล็กลงมาก ลำต้นของต้นที่ปลูกด้วยเมล็ดจะโตประมาณ ๑-๒ เมตร และถ้าเป็นต้นติดตา ลำต้นจะโตไม่เกิน ๑ เมตร ส่วนความสูงก็ ลดลงเหลือเพียงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรเท่านั้น ต้นยางมีเปลือกที่น้ำยางจะไหลออกได้หนาประมาณ ๖.๕-๑๕ มิลลิเมตร ทรงต้นที่สมบูรณ์มักจะสูง ชะลูด กิ่งแยกมักแยกตั้งขึ้นไปประมาณ ๔๕ องศาจากลำต้น ใบมักจะรวมเป็นพุ่มที่ส่วนปลายของกิ่ง แต่ละก้านใบแยกออกเป็น ๓ ใบ แต่ละใบใน ๓ ใบกว้างประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๑๐-๒๐ เซนติเมตร ในทางพฤกษศาสตร์ได้จัดให้ต้นยางพาราอยู่ในวงศ์ ยูฟอร์เบียซีอี (Family Euphorb iaceae) ในสกุลฮีเวีย (Genus Hevea) ชนิดบราซิไลเอ็นซิส (Species brasiliensis) ต้นยางฮีเวีย มีประมาณ ๒๐ ชนิด แต่ปรากฏว่า ฮีเวียบราซิไลเอ็นซิส (Hevea brasiliensis) เป็นชนิดที่ให้น้ำยางมากที่สุด และเนื้อยางก็มีคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่ายางชนิดอื่นๆ จึงปลูกกันแต่พันธุ์ฮีเวียบราซิไล เอ็นซิส ซึ่งเรียกว่า ต้นยางพารา เท่านั้น
ทำไมจึงกล่าวว่า"สวนยางของประเทศไทยที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นสวนยางพันธุ์เลว"
ต้นยางพาราชอบขึ้นในดินร่วน ซึ่งมีการระบายน้ำใต้ผิวดินดี และดินนั้นควรมีความเป็นกรดมี pH ระหว่าง ๔-๕.๕ ต้องการฝนพอสมควร ขนาดปีละประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๕๐๐ มิลลิเมตร หรือประมาณ ๘๐-๑๐๐ นิ้ว เฉลี่ยตกได้สม่ำเสมอกันทุกเดือนได้มากเท่าใดยิ่งดี เพราะยางพาราต้องการความชื้นสูง อุณหภูมิอยู่ในระดับ ๗๕-๘๐ องศาฟาห์เรนไฮต์ จึงเหมาะที่จะปลูกในระหว่างเส้นขนาน ๒๘ องศาเหนือ และ ๒๘ องศาใต้ เช่นเดียวกันกับที่ขึ้นอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้อันเป็นถิ่นเดิม ไม่ควรปลูกในที่สูงกว่า ระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐ ฟุต รากของต้นยางมีรากแก้วค่อนข้างตื้น ลึกลงไปไม่เกิน ๑.๕-๒ เมตร มีรากเล็กแผ่หากินไปตามผิวดินเป็นส่วนใหญ่ ที่ใดมีลมจัดมักจะล้มง่าย ต้นยางพาราทั้งที่ ปลูกด้วยเมล็ดหรือต้นติดตา จะกรีดเอาน้ำยางได้ตั้งแต่อายุ ๕-๖ ปี ขึ้นไป ถ้ากรีดเปลือกด้วยความระมัดระวังจะกรีดหาราย ได้นานกว่า ๓๐ ปี สาเหตุที่ชอบปลูกต้นยางพารากันมาก็คือ ต้นยางพาราให้ผลิตผลสม่ำเสมอทุกปี และให้น้ำยางได้ทุกวัน แต่จะต้องรู้จักถนอมกรีด เพื่อให้ได้น้ำยางมากและนานปี ได้กล่าวมาแล้วว่า สวนยางของประเทศไทยที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพันธุ์เลว เพราะใช้เมล็ดที่เก็บจากโคนต้นทำพันธุ์ปลูกต่อๆ กันมาเป็นเวลาหลายสิบปี
![]()
แม้จะกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังมีเจ้าของสวนยางอีกจำนวนมากยังปลูกด้วยเมล็ด หรือต้นกล้าที่เก็บมาจากใต้ต้นยาง ต้นยางพันธุ์เลวให้ผลน้อยกว่าหลายเท่าถ้าเทียบกับต้นยางพันธุ์ดี ฉะนั้น ในการปลูกสร้างสวนยางพารา จะต้องปลูกด้วยยางพันธุ์ที่ดี
ในเนื้อที่ ๑ ไร่ หากใช้ต้นกล้าปลูกควรจะปลูกประมาณกี่ต้น
ในทางปฏิบัติที่ดีในเนื้อที่ ๑ ไร่ ควรจะมีต้นยางที่ได้ขนาดกรีดแล้วเพียงไร่ละประมาณ ๕๐-๕๕ ต้น ในการปลูกจำเป็นต้องปลูกเผื่อต้นตายหรือต้นแคระแกร็นไว้ด้วย ฉะนั้น ในการกะระยะปลูกควรคำนึงถึงจำนวนต้น และคำนึงถึงความเจริญของต้นยาง อย่าให้เบียดกันจนเป็นเหตุให้ต้นแคระแกร็นถ้าปลูกด้วยต้นกล้าที่จะต้องปลูกให้ได้ไร่ละประมาณ ๘๐ ต้น
![]()
เพราะต้นกล้าแม้ว่าจะเป็นเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีเพียงใดก็ตาม ย่อมจะมีต้นอ่อนแอ และอาจเป็นเมล็ดที่ถูกผสมกับต้นอื่นๆ จึงต้องปลูกเผื่อไว้เล็กน้อย และถ้าปลูกด้วยตอติดตาหรือต้นติดตา หรือจะติดตาในแปลงภายหลัง ต้นที่ใช้ปลูกเหล่านี้เป็นพันธุ์แท้ไม่กลาย จะปลูกเพียงไร่ละ ประมาณ ๗๐ ต้น เท่านั้นก็พอ (๑)ถ้าเป็นพื้นที่ราบ ควรปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้ระยะให้ใกล้กับสีเหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๔x๕ เมตร ๔.๕x๕ เมตร ๓.๕x๖ เมตร ถ้าต้องการปลูกพ ืชเพื่อหารายได้ชั่วคราวระหว่างแถวยาง หรือเป็นที่ที่มีฝนชุกต้องการให้เปลือกต้นยางแห้งเร็ว จะใช้ระยะตามข้อ (๒) ก็ได้ ระยะตามข้อ (๒) ถ้าใช้ในที่ราบเรียกว่า ปลูกแบบถนน ถ้าไม่ต้องการปลูกพืชเพื่อหารายได้ หรือไม่มีวัตถุประสงค์อย่างอื่นแล้ว ก็ ไม่จำเป็นที่จะใช้ระยะตามข้อ (๒) เพราะจะทำให้เกิดภาระในการปราบวัชพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น การที่เปิดช่องไว้กว ้าง จะทำให้รับลมมากเกินไป ถ้ามีลมแรงหรือพายุ ต้นยางอาจหักหรือโค่นลงได้ (๒)ถ้าเป็นที่ควนเขาหรือที่ลาด ควรใช้ระยะระหว่างต้นให้ถี่ และระยะระหว่างแถว คือ ซานดินที่เป็นขั้น ๆ ให้ห่าง เพื่อให้จำนวนขั้นบันไดน้อยลง โดยใช้ระยะ ๒.๕x๙ เมตร ๓x๗ เมตร หรือ ๓x๘ เมตร (๓)ถ้าเป็นสวนยางขนาดเล็ก เช่น สวนยางขนาดเนื้อที่ไม่เกิน ๕x๖ ไร่ ต้องการจะอาศัยปลูกพืชอื่นเก็บกินเป็นการถาวรทุก ๆ ปี เช่น พืชล้มลุกหรือพืชอายุนานแต่เป็นต้นเล็ก ๆ เช่น กล้วย พริก สับปะรด ในกรณีนี้จะปลูกต้นยางโดยใช้แบบรั้วแถวเดียวก็ได้แต่ละแถวให้ห่างกันเพียง ๒ เมตร หรือจะใช้แถวคู่ก็ได้ แต่ต้องให้ระยะแถวคู่แต่ละคู่ห่างกัน ๑๖-๑๘ เมตร และแถวคู่ทุก ๆ แถว ต้องปลูกต้นยางเป็นรูปฟันปลาห่างหัน ๒.๕x๔ เมตรการปลูกแบบรั้วแถวคู่โดยใช้ระยะดังกล่าวนี้ อาจจะแก้ปัญหาต้นยางเอียงออกได้ดีขึ้น การใช้ระยะปลูกต้นยางตามข้อ (3) เป็นแบบที่ไม่ดีนัก เพราะเป็นแบบที่ต้นยางอยู่ชิดกันเกินไป และวัชพืชเจริญรวดเร็ว ถ้าไม่ใช้ที่ดินที่ว่างอยู่นี้ให้เกิดประโยชน์เป็นการถาวรแล้ว ไม่ควรใช้ระยะปลูกแบบนี้นอกจากปรากฏข้อเสียดังกล่าวแล้ว การปลูกแบบนี้ยังปลูกต้นยางได้ร้อยต้น คือ ปลูกได้ไร่ละประมาณ ๕๐-๖๐ ต้น เท่านั้น และถ้าปลูกแถวคู่ ต้นยางอาจจะไม่สมบูรณ์เต็มที่และลำต้นมักจะเอียงออก ฉะนั้น ก่อนที่จะปลูกแบบนี้จะต้องคิดให้รอบคอบก่อนว่า จะใช้ที่ดินที่ว่างปลูกอะไรแน่ และพืชที่จะปลูกนั้นจะได้ผล ช่วยให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่จะปลูกต้นยางอย่างเดียวหรือไม่
ดินที่เป็นควน ควรทำชานดินแบบใด...เพื่อให้ดินที่จะใช้ปลูกต้นยางช่วยเก็บน้ำและรักษาดินมิให้พังทลาย
การทำชานดินขั้นบันไดให้ได้ระดับ ที่ดินที่เป็นเนินหรือควนสูงยังใช้ทำประโยชน์ได้ โดยปรับพื้นที่ให้เป็นชานดินเหมือนกับขั้นบันไดให้ได้ระดับขนา นไปกับพื้นดิน บางทีอาจต้องทำชานดินเป็นชั้น ๆ อ้อมไปตามไหล่เนินหรือควนทั้งลูก เครื่องมือในการหาระดับอย่างง่าย ๆ เช่น ใช้ระดับน้ำในสายยางชนิดใส หรือใช้ไม้แนวระดับซึ่งมีขาสูงเท่ากัน ๒ ขา มีระดับน้ำติดไว้ตรงกลางของไม้ยาวที่ยึดขาทั้ง ๒ ไว้ หรือจะใช้ "ดิ่งหน้าจั่ว" ซึ่งมีเชือกผูกลูกดิ่งห้อยลงจากมุมบนของหน้าจั่วก็ได้ ความสำคัญของ "ดิ่งหน้าจั่ว" คือ ทุกๆ ครั้งที่เชือกลูกดิ่งจากมุมบนของจั่วอยู่ที่จุดศูนย์กลางของฐานจั่ว ขาของหน้าจั่วที่ยื่นออกไปเท่ากันทั้ง ๒ ข้าง จะอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อตั้งต้นจากจุดหนึ่ง สมมุติว่า ขาของจั่วข้างหนึ่งวางอยู่ตรงหมุดที่ ๑ และขาอีกข้างหนึ่งวางอยู่ที่หมุดที่ ๒ เมื่อขยับขาจั่วทั้ง ๒ ข้างให้เส้นดิ่งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของฐานจั่ว ระดับของขาจั่วอยู่ตรง หมุดที่ ๓ ก็จะได้ระดับเดียวกันกับหมุดที่ ๒ และจะอยู่ในระดับเดียวกันกับหมุดที่ ๑ ด้วย ทำเรื่องๆ ไปตามวิธีนี้ ระดับที่จะ ได้ ตรงหมุดที่ ๔-๕-๖ และต่อๆ ไปจะเท่ากันเสมอและถ้าทำไปรอบ ๆ เนินจะวนกลับมาถึงหมุดที่ ๑ หน้าจั่วที่จะใช้ ควรให้สูงประมาณ ๒ เ มตร สำหรับระยะระหว่างขาจั่วทั้ง ๒ ข้าง จะถ่างให้ตรงพอดีกับระยะปลูกที่ต้องการได้ยิ่งดี เช่น หน้าจั่วก้าวไป ๒ ครั้งให้ได้ระยะ ๓ เมตร พอดีที่จะปักหมุดสำหรับปลูกต้นยาง ๑ ต้นการหาระดับทำขั้นบันได ควรจะทำจากยอดเนินลงมา ระยะระหว่างขั้นควรให้ระยะตาม ข้อ ๓(๒) ข้างต้น ระยะขั้นจะถี่ห่างเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความชันของเนินหรือควนด้วย ถ้าชันมากจะใช้ระยะถี่ขึ้นเล็กน้อยได้ (ระยะที่กล่าวนี้ หมายถึง ระยะถี่ห่างกันทางอากาศของต้นยาง ไม่ใช่ระยะที่วัดบนดินที่ลาดเอียง) การทำชานดินเป็นขั้นบัน ได ทำให้ใช้ที่ดินได้ประโยชน์ขึ้นแทนที่จะทิ้งที่ดินที่เป็นควนขาให้เสียไป
![]()
การปลูกต้นยางที่ดินควนเขาตามวิธีนี้เป็นการช่วยเก็บน้ำและรักษาดินมิให้พังทลายด้วย ชานดินดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ โดยตัดดินลึกเข้าไปในเนินเหมือนกับจะทำถนนเลียบเขา แนวชานดินกว้างประมาณ ๑.๕-๒ เมตร เอียงเข้าไปทางเนิน น้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลเข้าไปในเนินดินจะมีคัน ดินด้านนอกกั้นมิให้น้ำไหลตกลงมาจากชาน
ต้นยางพันธุ์ดีมีสภาพแตกต่างกันอย่างไร
การปลูกต้นยาง ต้นยางที่จะใช้ปลูกจะต้องเป็นต้นยางพันธุ์ดี ซึ่งมีสภาพต่าง ๆ กัน คือ (๑)กล้ายางพันธุ์ดี (หรือถ้าจะติดตาในแปลงก็จะต้องปลูกกล้าธรรมดาไว้ก่อน) ต้นกล้ายางพันธุ์ดีที่จะใช้ปลูกมี ๓ ขนาด ด้วยกัน คือ กล้าขนาดเล็ก โคนต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ เซนติเมตร กล้าขนาดกลาง โคนต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๓.๕ เซนติเมตร กล้าขนาดใหญ่ โคนต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ ๓.๕ เซนติเมตรขึ้นไป กล้าขนาดใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถอนต้นแพงกว่ากล้าขนาดที่เล็กกว่าต้นกล้าที่เหมาะแก่การปลูก คือ ต้นกล้าขนาดกลางซึ่งไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป สะดวกทั้งในการขุด ถอนและการขนย้ายเข้าไปปลูกในสวน กล้าที่จะเอาไปปลูกนี้จะต้องตัดเอาส่วนยอดซึ่งมีเปลือกสีเขียวออก ให้เหลือส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาลเพียง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร และตรงที่ตัดยอดออก ควรจุ่มด้วยขึ้นผึ้งเหลวเสียก่อนเพื่อป้องกันมิให้น้ำเลี้ยงในลำต้นระเหยออกเร็วเกินไปต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากดินแล้ว (ถ้าถอนไ ม่ขึ้นควรใช้เสียมขุดช่วย) ถ้าเป็นขนาดเล็กจะมีรากแก้วยาวประมาณ ๒๐-๓๐ เซนติเมตร ถ้าขนาดกลางรากแก้วยาวประมาณ ๓๕-๔๕ เซนติเมตร กล้าขนาดกลางและกล้าขนาดใหญ่อาจมีรากแขนงยาว ควรตัดออกเสียบ้างให้เหลือประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร (๒)ต้นตอติดตา คือ ต้นตอที่ติดตาไว้แล้ว แต่ตายังไม่แตกยอด ถ้ามีแปลงขนายพันธุ์ยางแลมีต้นกล้าซึ่งจะใช้เป็น "ต้นตอ " สำหรับติดตาได้ขนาดสำหรับติดตาอยู่พร้อมแล้ว เพียงแต่ติดตามในแปลงต้นหล้าแล้วย้ายไปปลูกในสวนจะทุ่นเวลาและค่าใช้ จ่ายในการดูแลรักษาสวนประมาณ 1 ปี การถอนต้นตอที่ติดตาแล้วให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับถอนต้นกล้า แต่จะต้องระวังตาที่เพิ่งติดไว้มิให้ชอกช้ำ
![]()
![]()
โดยปกติเมื่อแน่ใจว่าตาติดแน่แล้วแต่ยังไม่ผลิออกมาก็เป็นอันย้ายได้ก่อนจะย้อยต้นมาให้ตัดยอดให้เหลือเพียง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร เหนือรอยติดตาหรือให้เหลือเพียง ๕-๖ เซนติเมตร ถ้าเป็นต้นตอติดตาเขียว ข้อควรระมัดระวังสำหรับการปลูกต้นตอติดตาก็คือ เมื่อย้ายเอาไปปลูกในสวนแล้ว ต้นตอติดตาบางต้นตายางพันธุ์ดี ที่ติดไว้อาจจะแห้งตายไปและมีตาของลำต้นเดิมงอกออกมาแทน โดยที่เจ้าของสวนยางอาจเข้าใจผิดคิดว่างอกจากตายางพันธุ์ดีจึงปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไปกลายเป็นต้นยางพันธุ์เลวแทรกอยู่ (๓)ต้นติดตา คือ ต้นติดตาที่ตางอกเป็นต้นสูงประมาณ ๑ เมตรแล้วการปลูกด้วยต้นติดตาจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าต้นที่ใช้ ปลูกในสภาพอย่างอื่นที่กล่าวมาแล้ว เพราะต้นติดตาดังกล่าวนี้ ส่วนมากมีอายุประมาณ ๒ ปี นับตั้งแต่ปีที่เริ่มปลูกต้นตอเป็นต้นมาหรืออายุประมาณ 1 ปี ถ้าเป็นตนติดตาเขียวเพราะฉะนั้น ในการขุด การถอน และการย้าย ตลอดจนการปลูก จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแพงกว่าต้นเล็กๆ บ้าง
![]()
นอกจากนั้น หลุมที่ขุดเตรียมไว้จะต้องใหญ่และต้องลึกกว่าปกติอีกด้วย ในปัจจุบันนี้สามารถเลี้ยงต้นติดตาเขียวในถุงพลาสติกได้นานประมาณ ๑ ปี จึงเห็นว่า การใช้ต้นติดตาเขียวอายุ ๑๐-๑๒ เดือนปลูก จะทุ่นเวลาได้ถึง ๑ ปี คือต้นยางที่ปลูกไว้จะกรีดได้ภายใน ๔ ปี เท่านั้น แทนที่จะเป็นเวลา ๕-๖ ปี วิธีติดตาแบบใหม่ โดยติดตาตั้งแต่ต้นตอยังเขียวอยู่มีอายุเพียง ๓-๔ เดือนเท่านั้น ร่นเวลาได้มาก ปลูกก็ง่ายขึ้น ตายางที่ จะใช้ติดก็หาง่ายขยายพันธุ์ได้เร็วการติดตาตามวิธีใหม่นี้เรียกว่า "การติดตาเขียว" ต้นตอตามวิธีนี้เรียกว่า ต้นตอดตาเขียว แต่ทั่วๆ ไปมักเรียกว่าต้นติดตาเขียว
ที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter4