www.Nattakae.webs.com |
บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๒๑
๖
___________________________________________________________________________________________________________________
ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและ การขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
_____________________________________________________________
๑๒๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๒๓
หัวใจหลักของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัว อย่างไรก็ตาม ในการประยุกต์ใช้ปัจจัยทั้ง ๓ นั้น จำเป็นต้องดำเนินควบคู่ไปกับ ความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการสัมฤทธิ์ผลใน ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ขั้นตอนต่อไปสำหรับการส่งเสริมให้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการบริหารประเทศ และดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง ก็คือ การขยายผลของความเข้าใจนี้สู่สังคมโดยทั่วกัน เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมกันสร้างการพัฒนาที่สมดุล และมั่นคง ทั้งในระดับบุคคล และระดับประเทศ ต่อไป
๑๒๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
๖.๑
๑)
๒)
เกริ่นนำ
ในที่สุดแล้ว การสร้างความเข้าใจร่วมกันและตรงกัน เกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นสิ่งสำคัญ และคณะทำงานได้เริ่มสร้างความเข้าใจไปบ้างแล้ว ในเชิงทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ ดังที่ได้อธิบายในบทที่ ๕ นอกจากนี้แล้ว คณะทำงานก็ได้เริ่มขยายผลความเข้าใจเกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในเชิง Inductive และ Deductive
ในบทนี้ จะยกตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะทำงานฯ ในการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓ รายงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้เพิ่มมากขึ้นจากมุมมองต่าง ๆ ดังนี้
ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล, การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๒๕๔๕) ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำเพื่อขยายความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับความคิด (Conceptual) และในระดับการประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน
ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ, ความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม: ประสบการณ์จากประเทศไทย (Socioeconomic Vulnerability: Experiences from Thailand) (๒๕๔๔) ซึ่งเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนจน และนำการประยุกต์ใช้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในเวทีวิชาการระหว่างประเทศ
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑ ๒๕
๓)
๖.๒
๑)
คณะทำงานโครงการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๒๕๔๕) ซึ่งเป็นบทสังเคราะห์ที่ได้จากการสัมมนาเรื่อง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ที่จัดขึ้นโดยคณะทำงานฯ เพื่อระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้นำชุมชน ในแต่ละภาคของประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหา อันหลากหลายที่ชุมชนประสบอยู่
ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล, การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (๒๕๔๕)
บทสรุป
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ไม่ได้ก่อประโยชน์โดยตรง แก่ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนและอาศัยอยู่ในท้องถิ่นห่างไกล และแม้ว่าจะมีความพยายามในการนำ ทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจ๒๗ มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อจำกัด ของกลไกตลาดและการค้าเสรี แต่การดำเนินนโยบายตาม
๒๗ ทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจมุ่งเน้นสร้างเสถียรภาพในระดับมหภาค การเสริมสร้างความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน การส่งออก และการจัดตั้งสถาบัน/องค์กรกลางเพื่อ ร่วมบริหารนโยบายการพัฒนาประเทศตามที่ได้วางไว้ ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจและการคลัง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑๒๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
๒)
๒.๑)
ทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ทรัพยากรขาดความสมบูรณ์ หรือผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น โครงการสร้างเขื่อน คนยากจนเหล่านี้ยังคงกระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดใหม่ด้านการพัฒนาที่เรียกว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยหลัก ๓ ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และ การสร้างระบบ คุ้มกันในตัว เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการสร้างความ มั่นคงและส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุลของประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวทางพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะบรรลุเป้าหมายได้ก็ต่อเมื่อ ประชาชน รัฐบาล และองค์กรเอกชนต่างๆ มีความเข้าใจในโอกาส และภัยคุกคามของกระแสโลกาภิวัตน์ และระบบเศรษฐกิจโลก และสามารถประยุกต์ใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตลอดจนสามารถ ประสานแผนปฏิบัติการของแต่ละภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการและแนวคิด
วัตถุประสงค์ของรายงาน: รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในระดับความคิดและ หลักการ (Conceptual Framework) ของ ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ในระดับประยุกต์ เพื่อนำไปสร้างประโยชน์แก่บุคคลและสังคม
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑ ๒๗
โดยรวม โดยที่ผู้เขียนมีความตั้งใจให้นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนานำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ใน ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) ระดับของความ อยู่รอดและ/หรือความเจริญอย่างยั่งยืนภายใต้อิทธิพล ของกระแสโลกาภิวัตน์ (๒) ระดับของกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน และ (๓) ระดับสังเคราะห์แผนปฏิบัติการในการพัฒนาระดับท้องถิ่นตามความเหมาะสมของทรัพยากร ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของประเทศไทย ต่อไป
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุล: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสที่เกี่ยว กับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่า การพัฒนานั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องรุ่งเรืองอย่างยอด หากเราสามารถ รักษาความพออยู่พอกินได้ ก็นับว่ายอดยิ่งยวด๒๘ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน นั้น ควร ทำไปตามลำดับขั้น จากการสร้างพื้นฐานความพอดี พอกินพอใช้ของ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้น ให้เป็นพื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป๒๙ นอกจากนี้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเป็น
๒๘ พระราชดำรัส, พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันพุธที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
๒๙ พระราชดำรัส วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
๑๒๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
แนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล ทั้งนี้เพราะ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั้นไม่เพียงแต่เป็น ปรัชญาด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา แต่ยังเป็นกรอบ การดำรงชีพสำหรับบุคคลทั่วไปได้ด้วย ๒.๒)
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ภาคเกษตรกรรม: ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการปลูก พืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว และปัญหาความไม่แน่นอนของราคาสินค้าเกษตรซึ่งทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงทั้งด้านรายจ่ายและรายรับ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ เกษตรกรไทยยากจนนั้น เกษตรกรควรมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันด้านอาหารสำหรับบริโภคภายในครัวเรือนเป็นอันดับแรก และเมื่อครอบครัวมีความมั่นคงด้านอาหาร ก็สามารถ ใช้เวลาที่เหลืออยู่เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักและผลไม้ เพื่อ บริโภคเอง และส่วนที่เหลือสามารถนำไปขายในตลาดได้ โดยเน้นหลักพอประมาณ คือ ไม่ได้ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่มักจะมีความไม่แน่นอน และ เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ เกษตรกร จำเป็นต้องมีความรอบคอบและมีเหตุผลในการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกและอยู่เหนือการควบคุมของเกษตรกรเอง
ภาคส่งออก: เนื่องจาก ประเทศไทยต้องส่งออกสินค้า เพื่อหาเงินตราต่างประเทศมาซื้อสินค้าที่เราไม่สามารถผลิตเองได้ และสินค้าเหล่านี้ต้องแข่งขันได้ในตลาดโลก ดังนั้น การวางแนวทางการแข่งขันสำหรับสินค้าเกษตร
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑ ๒๙
บางประเภทจึงจำเป็น อาทิ การกำหนดให้สินค้าเกษตร ที่ผลิตเพื่อการส่งออก/ การแปรรูปผลผลิต อยู่ใน พื้นที่ที่เหมาะสม และใกล้แหล่งการขนส่งคมนาคม เช่นท่าเรือ เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่วนเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล ที่จำเป็นต้องเสียค่าขนส่งสูงควรยึดหลักการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เพื่อลดความเสี่ยงต่อความ ผันผวนทั้งภายในและภายนอก
ผลงานการศึกษาของ ดร. ธันวา จิตต์สงวน: ดร.ธันวา จิตต์สงวน ได้อธิบายความสอดคล้องระหว่าง เกษตรยั่งยืน๓๐ และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในผล งานเรื่อง แนวทางและนโยบายในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ดังนี้ กระบวนการพัฒนาและข้อเสนอแนะต่างๆ ของการเกษตรแบบยั่งยืนล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้ปรัชญาที่ว่าด้วยเศรษฐกิจแบบพอเพียงขององค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่าด้วยกระบวนการพัฒนา ที่มี เหตุมีผล พอดีพอประมาณ เป็นระบบขั้นตอน ยึดทาง สายกลาง ไม่รีบร้อนก้าวกระโดด และมีการสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงภัยอันอาจจะเกิดขึ้นได้ในยามวิกฤต๓๑
๓๐ เกษตรยั่งยืน ประกอบด้วย เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ และเกษตรทฤษฎีใหม่
๓๑ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางและนโยบายในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
๑๓๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
ทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจ: Meier และ Stiglitz ได้ สรุปสาระสำคัญจากบทความต่างๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ด้านการพัฒนาในหลายประเทศที่นำเสนอในการ สัมมนาระหว่างประเทศ ณ เมือง Dobrovnik ภายใต้ หัวข้อ อนาคตและแนวคิดใหม่ของทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจ ไว้ในหนังสือ Frontiers of Development Economics - the Future in Perspective ๓๒
ทั้งนี้ ดร. จิรายุ และ ดร. กอบศักดิ์ ได้อธิบายถึง ความสอดคล้องระหว่าง แนวคิดใหม่ๆ ของทฤษฎีพัฒนาการเศรษฐกิจ และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเชิงแนวคิดและ แนวปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังชี้แนะให้นักพัฒนาประเทศ ต่างๆ ประยุกต์ใช้ประสบการณ์จริงของประเทศไทย กับงานพัฒนาของประเทศเหล่านั้น
บทบาทภาครัฐ: ผลงานของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อ เสียงหลายท่าน อาทิ Paul Samuelson ได้เสนอบทบาทของรัฐที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารประเทศตามแนวทางของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการเสนอว่า ระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานกลไก ตลาดเข้ากับบทบาทรัฐ ในขอบเขตที่เหมาะสม (Centrist mixed-economy system) คาดว่าน่าจะทำงานได้ดี กว่าระบบเศรษฐกิจที่พึ่งกลไกตลาดแต่เพียงอย่างเดียว
๓๒ Gerald M. Meier, Joseph E. Stiglitz (editors). ๒๕๔๔. Frontiers of Develop- ment Economics: the Future in Perspective (World Bank and Oxford University Press,)
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๓๑
และดีกว่าระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับบทบาทและการ ตัดสินใจของรัฐเป็นสำคัญเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่า ความมุ่งปรารถนาดีของมนุษย์และรัฐมีมากมาย แต่เพื่อ ให้มีประสิทธิผล ก็ต้องเลือกช่วยเหลือเฉพาะในกรณี สำคัญเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การจำกัดบทบาทของรัฐให้อยู่ ในขอบเขตที่เหมาะสมเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับรัฐประชาธิปไตย ๓๓
ในประเด็นนี้ ดร.จิรายุ และ ดร.กอบศักดิ์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า รัฐจะต้องรักษาไว้ซึ่งวินัยการเงินและ การคลังเพื่อให้เกิดเสถียรภาพทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ และเมื่อสร้างเสถียรภาพของ ระบบเศรษฐกิจได้แล้ว รัฐควรมีบทบาทดำเนินการเฉพาะในเรื่องที่สำคัญเท่านั้น อาทิ สร้างโอกาสให้ กับผู้ยากจน ให้มีความพอเพียงอย่างยั่งยืน และที่ สำคัญรัฐต้องระวังไม่ให้เข้าแทรกแซงในเรื่องอื่นๆ มากเกินไป เพราะรัฐบาลเองก็มีงบประมาณและบุคคลากรที่จำกัด นอกจากนั้นการปฏิบัติหน้าที่ ของรัฐจะต้องยึดถือตามหลักธรรมภิบาล (Good Governance) ด้วย
๓๓ อ้างแล้ว หน้า ๑๔
๑๓๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
๖.๓
๑)
ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ, ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ และสังคม: ประสบการณ์จากประเทศไทย (Socioeco- nomic Vulnerability: Experiences from Thailand) (๒๕๔๔)
บทสรุป
รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นผลงานทางวิชาการเสนอในการประชุมประจำปีของเครือข่ายการพัฒนาของโลกครั้งที่ ๓ (The Third Annual Global Development Conference) ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๔
ผู้เขียนเริ่มต้นด้วย การอธิบายความหมายและวิเคราะห์คุณลักษณะร่วมระหว่าง ความยากจน (Poverty) และ ความเปราะบางต่อความยากจน (Vulnerability) โดยอธิบายถึงผลของวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ที่ทำให้จำนวนคนจนและคนที่มีความเสี่ยงต่อสภาวะยากจน เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนจนซ้ำซาก (Chronic Poor) และ คนด้อยโอกาสที่มีความเสี่ยงต่อความยากจนสูง (Low Mean Vulnerability) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มากที่สุด
ผู้เขียนเน้นว่า การแก้ไขปัญหาความเปราะบางทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้เป็นผลสำเร็จผู้จัดทำนโยบาย จะต้องแก้ไขในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง และ การด้อยความสามารถในการตอบสนองต่อสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด (adverse shocks)
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๓๓
๒)
นโยบายที่ใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าวมีอาทิ นโยบายส่งเสริมการประกันสังคม และกิจกรรมกระตุ้นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งกิจกรรมทดลองต่างๆ เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ และกระบวนการเตรียมการจัดทำแผนชุมชน โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเหล่านี้ คือ การสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และการกระจายความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ต่างๆ เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อความยากจนสามารถหลุดพ้นจากสถานะดังกล่าว
ผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงความสำคัญเร่งด่วนในการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้านอื่นๆ อาทิ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกันการบริหารจัดการทรัพยากรการบริการของหน่วยงานในภาครัฐ และการปฏิรูปกฎหมาย ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความยากจน
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นประเด็นใหม่ ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ซึ่งทำให้ คนที่แต่เดิมไม่จนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนจน และในขณะเดียวกัน คนที่ยากจนอยู่แล้วก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น คนจนซ้ำซาก มากขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความพยายามที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้ต้อง ตกอยู่ในสภาวะยากจน
๑๓๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
ในการนี้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งอยู่บน หลักพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า ทางสายกลาง และประกอบด้วยปัจจัยหลัก ๓ ประการ อันได้แก่ ความ พอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ในตัว สามารถช่วยสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันในตัวเอง (Self-immunity system) ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการแก้ไขปัญหาความเปราะบางต่อความยากจน
การแก้ไขความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั้น เริ่มต้นจากการส่งเสริมให้ ประชาชนพึ่งพาตนเอง และลดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอก เพื่อกระจายความเสี่ยงต่อสภาวะยากจน และลดความเสี่ยง ที่ไม่จำเป็นลง ทั้งนี้ ประชาชนต้องประยุกต์ใช้ความรู้และความสามารถในการจัดการอย่างรอบคอบ และมีความอุตสาหะในการประกอบอาชีพ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ ในระยะยาวต่อตนเอง และสังคม
ยกตัวอย่างเช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่ง ในการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทั้งในระดับครอบครัว และสังคมชนบท นั้น ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน ได้แก่ (๑) การบริหารพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำ (๒) การรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ (๓) การร่วมมือกับแหล่งเงินและแหล่งพลังงาน อาทิสถาบันการเงิน และบริษัทน้ำมัน เป็นต้น และประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ นั้น จะทำให้เกษตรกรและครอบครัวมีความมั่นคงด้าน
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๓๕
อาหารมา
๖.๔
๑)
กขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว การรวมกลุ่มกันในระดับชุมชน และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรและสถาบันต่างๆ ภายนอกชุมชน จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้แก่ชุมชนอีกด้วย
คณะทำงานโครงการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (๒๕๔๕)
บทสรุป
ผลงานส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงนั้น มักจะใช้วิธีการประมวลและสังเคราะห์โดยวิธี การเชิง Deductive ซึ่งต่างจากผลงานชิ้นนี้ ที่ใช้วิธีการ กลั่นกรองความหมายโดยการนำประสบการณ์ที่มีอยู่มาสังเคราะห์ (Inductive) เพื่อถอดออกมาเป็นข้อคิดและ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผลงานชิ้นนี้ อาจถือได้ว่าเป็นผลงานที่ใช้วิธีการทำงานเชิง inductive เป็นชิ้นแรกๆ เพื่อแสดงให้เห็นฐานความคิดและวิธีการปฏิบัติในระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการขยายผลในระดับอื่นๆ และสาขาภาคการผลิตอื่นๆ ต่อไป
หนังสือเรื่องการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นการสรุปและสังเคราะห์ผลการสัมมนาเรื่องการประยุกต์ ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จากการระดมสมองผู้นำชุมชนจากทุกภาคของไทย ใน
๑๓๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ ทั้งนี้ เนื้อหาหลักของการสัมมนาแบ่งเป็น ๔ ส่วน ได้แก่
๑) การค้นหาความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และการ ศึกษาภูมิหลังของชุมชน โดยการให้ผู้นำชุมชนแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ชุมชนของตนทำอยู่ ในส่วนที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒) ปฏิสัมพันธ์ของโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจพอเพียง ผู้นำชุมชนทุกคนเห็นพ้องร่วมกันว่าปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไม่ใช่ปรัชญาที่ใช้ได้เฉพาะครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น แต่เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสังคมโดยรวม ทั้งนี้ผู้นำชุมชนมิได้ต่อต้านกระแส โลกาภิวัตน์ แต่เห็นว่ากระแสโลกาภิวัตน์มีทั้งโอกาสและภัยคุกคาม เราทุกคนมีหน้าที่จะต้องเลือกรับในสิ่งที่จะเสริมสร้างโอกาส และป้องกันภัยคุกคามด้วยความระมัดระวัง และรู้เท่าทันเหตุการณ์
๓) ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ผลจากการระดมความเห็น และผลจากการลงคะแนนตามลำดับความ สำคัญของผู้นำชุมชน สามารถแบ่งปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงโดยเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้
กลุ่มทุนทางสังคม ประกอบไปด้วยภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น ศาสนา และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๓๗
๒)
การรวมกลุ่มเป็นชุมชนเข้มแข็ง ประกอบไปด้วย กลุ่มเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการจัดทำ แผนชุมชนโดยอาศัยข้อมูลจากชุมชนเป็นพื้นฐาน และกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกภายใน ชุมชนที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนการสร้าง เครือข่ายผู้นำ ปราชญ์และองค์กรชุมชนต่างๆ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายเครือญาติสันติในชุมชน
กลุ่มปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติ ความหลากหลายของทรัพยากร ตลอดจนที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของประเทศไทย
๔) เป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละภาค ในระยะเวลา ๓ ปีข้างหน้า ในการกำหนดเป้าหมายพบว่ามีความ แตกต่างกัน ขึ้นกับภูมิหลังและสภาวะแวดล้อมของ แต่ละภูมิภาค เช่นสมาชิกในภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจะเน้นการทำงานเป็นเครือข่าย และการเรียนรู้ร่วมกันจากปราชญ์ชาวบ้าน ขณะที่สมาชิกในภาคใต้จะเน้นการขยายกิจกรรมในพื้นที่ของตนให้ครอบคลุมกิจกรรมอื่นๆ ให้กว้างขึ้น เป็นต้น
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลังจากผู้นำชุมชนได้ร่วมกันระดมสมอง และทบทวนถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ตนเองทำอยู่พบว่ามีความสอดคล้องกับ
๑๓๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามสมควร ซึ่งความ สอดคล้องดังกล่าวนั้น สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ได้แก่
ระดับจิตสำนึก เกิดจากการที่สมาชิกในชุมชนแต่ละคนตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่าง พอดี และรู้สึกถึงความพอเพียง คือดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงตนเองได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ แม้ว่าระดับความพอเพียงของสมาชิกแต่ละคนจะไม่ เท่าเทียมกัน แต่สมาชิกทุกคนดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดมั่นหลัก ๓ ประการร่วมกัน ได้แก่ การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง การคิดพึ่งพา ตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน และการใช้ชีวิตอย่าง พอเพียง
ระดับปฏิบัติ ผู้นำชุมชนแต่ละพื้นที่ได้นำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับปฏิบัติโดยสามารถแบ่ง เป็น ๔ ขั้น ได้แก่
๑) การพึ่งตนเองได้ คือ ต้องพยายามพึ่งตนเองให้ได้ในระดับครอบครัวก่อน ให้แต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี
๒) การอยู่อย่างพอเพียง คือดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางให้ตนเองอยู่ได้อย่างสมดุล คือมีความสุข ที่แท้โดยไม่ให้รู้สึกขาดแคลนจนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดีจนต้องเบียดเบียน สิ่งแวดล้อม
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๓๙
๓) การอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร คือ รู้จักการให้ และแบ่งปัน ซึ่งจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดี อีกทั้ง เป็นการช่วยลดความเห็นแก่ตัว และสร้างความ พอเพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ
๔) การอยู่ดียิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้ คือ ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง โดยการเรียนรู้จากธรรมชาติและประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการระมัดระวังในการกระทำการใดๆ ต่อไป
ระดับปฏิเวธ (ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ) คือการวัดผลจากการปฏิบัติตามหลักการข้างต้น กล่าวคือสมาชิกในแต่ละชุมชนได้พัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นโดยเริ่มจากการพัฒนาจิตใจ ให้เกิดความพอเพียงในทุกระดับของการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม
จาการสัมมนาพบว่าชุมชนจากแต่ละภาคมีความเข้าใจ ในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจในมุมมองที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่แล้ว ชุมชนมักจะกล่าวถึงเรื่องหลักของ ความพอประมาณ โดยไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของความมีเหตุผลและ เรื่องภูมิคุ้มกันในตัว อย่างชัดเจนนัก ทั้งนี้ มิได้ หมายความว่าชุมชนดำเนินชีวิตโดยขาดหลักความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกันในตัว แต่อย่างใด แต่หมายความว่าชุมชนอาจ จะยังไม่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ใน ๒เรื่องดังกล่าวได้อย่างชัดเจนนัก ดังนั้นจึงเห็นควรว่า ในอนาคต น่าจะมีการสร้างความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องของความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกันในตัวให้เป็นที่ตระหนักได้ชัดเจนยิ่งขึ้นแก่ชุมชนด้วย
๑๔๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
๖.๕
๑)
ในอนาคต ควรจะมีการขยายผลการศึกษาเชิง inductive ให้ครอบคลุมในสาขาและระดับอื่นๆ ด้วย นอกเหนือไปจากระดับชุมชน เช่น สาขาการเงิน การบริหารธุรกิจสาขา อุตสาหกรรม ภาคการเมือง เป็นต้น
บทส่งท้าย
ในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ จากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งจากภาคราชการและภาคประชาสังคมได้ริเริ่มดำเนินการต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในลักษณะที่หลากหลายโดยเน้นการมีส่วนร่วมร่วมจากภาคต่างๆ เพื่อให้เกิดผลของการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับที่แตกต่างกันไป ในบทส่งท้ายนี้ จึงได้ประมวลข้อเสนอแนะในการดำเนินงานขั้นต่อไปในด้านต่างๆ ดังนี้
การวิจัยเชิงทฤษฎี อาทิ
แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงในอีกบางด้านที่สมควรจะหาทางอธิบายในเชิงทฤษฎี และจะเป็นงานที่ความ สำคัญในเช
ิงบุกเบิกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ การสร้างทฤษฎีที่สมบูรณ์สำหรับแนวคิดและระบบเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งจะเป็นผลงานบุกเบิกอย่างแท้จริง
การศึกษาว่า เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลจะนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงระดับกลุ่มหรือระดับประเทศได้อย่างไร จะเป็นตัวอย่างของผลงานสำคัญในทำนองเดียวกับ กรณีความสัมพันธ์ระหว่าง Individual Rationality กับ Collective Rationality ของ Kenneth J. Arrow
__________ บทที่ ๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๔๑
๒)
การวิจัยเชิงนโยบาย อาทิ
แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ ไทยอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศตลอดจนนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกแต่ละชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากร คำนึงถึง ความพอประมาณและความมีเหตุผลในการใช้ ทรัพยากรในพื้นที่และพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ทำลายทรัพยากร แต่เป็นไปในเชิงอนุรักษ์และสร้างสรรค์ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีความสมดุลในเชิงปริมาณและ คุณภาพมากขึ้น โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและการ จัดการเชิงบูรณาการ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมในการรักษาทุนทางทรัพยากรให้คงอยู่ในระยะยาว
การจัดความขัดแย้งอย่างสันติวิธีบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลักสามัคคี หรือ รู้จักการอะลุ้มอล่วยกัน ซึ่งความอะลุ้มอล่วยนั้น เป็นวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานของสังคมไทย ที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์ต่างๆ แม้ว่าข้อตกลง ที่เกิดขึ้นจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างสมบูรณ์ แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่อยู่บนทางสายกลาง โดยคำนึงถึง
๑๔๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _______________________________
๓)
๔)
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันในสังคมไม่ให้เกิดความแตกแยก
การดำเนินการเพื่อแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ ไปสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อผลักดันให้เกิดการขยายผลการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ
การพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นองค์รวม ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ โดยสร้างระบบฐานข้อมูลทุนทางสังคม ที่สามารถเชื่อมโยง ฐานข้อมูลให้กลุ่มผู้กำหนดนโยบายสามารถนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายภายในและระหว่างหน่วย งาน รวมทั้ง เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและฐานข้อมูลทุนทางสังคมแก่สาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง และ การจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลและห้องสมุดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นหน่วยประสานงานหลักในการค้นคว้า ศึกษาวิจัย และจัดทำหลักสูตรการเรียน การสอนเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง ของประเทศต่อไป ซึ่งการวิจัยนั้น ควรส่งเสริมวิธีวิจัยทั้งในเชิง Inductive และ Deductive ดังตัวอย่างผลงานที่นำเสนอในบทนี้ ซึ่งการวิจัยทั้งสองวิธี จะก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับต่างๆ อย่างกว้างขวาง
ที่มา http://www.sufficiencyeconomy.org