www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๗ ๑



_________________________________________________________________________
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ แนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่าง ๆ
_________________________________________________________________________
๗๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๗ ๓
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับ รัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดย เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก…”
๗๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
๕.๑
􀂉
􀂉
􀂉
􀂉
บทนำ
จากวิธีการจำแนกวิเคราะห์ในส่วนที่ ๓ สรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบของคำนิยามที่สำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัว และทั้ง ๓ องค์ประกอบนี้ยังจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยหากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็จะไม่ถือว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ยังมีข้อพึงสังเกตด้วยว่า การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์นั้น นอกจากต้องมีองค์ประกอบของคำนิยามทั้ง ๓ พร้อมกันแล้ว ยังจะต้องขึ้นกับเงื่อนไขที่สำคัญอีก ๒ ประการ ได้แก่ ความรู้และคุณธรรม ซึ่งก็เป็นเงื่อนไขจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นพร้อมกันโดยขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ อีกเช่นกัน
กล่าวคือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economy) หรือระบบเศรษฐกิจพอเพียง นั้น จะมีความสมบูรณ์เป็นระบบได้ตามคำนิยาม จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะ ๓ ประการได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกันในตัว และเงื่อนไข ๒ ประการ ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแต่ละส่วนและผลที่เกิดขึ้น ในเชิงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งของการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ องค์ประกอบทั้งสามประการในคำนิยาม สามารถพิจารณาวิเคราะห์แยกออกเป็น ๒ ส่วน
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๗ ๕
•
•
􀂉
􀂉
ส่วนแรกเป็นองค์ประกอบที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ในสถานการณ์ที่ปราศจากผลกระทบภายนอก (Deterministic optimality) ซึ่ง ประกอบด้วยความพอประมาณ และความมีเหตุผล
ส่วนที่สองเป็นองค์ประกอบที่เสริมประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร ให้พร้อมต่อการรองรับผลกระทบจากภายนอก (Stochastic optimality) อันได้แก่ การมีภูมิคุ้มกันในตัว
ทั้งนี้ องค์ประกอบทั้ง ๓ ส่วนของคำนิยาม มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ความมีเหตุผลถือได้ว่าเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้ความพอใจเป็นไปอย่าง พอประมาณ ระดับของความพอประมาณก็จำเป็นต้อง พอเพียงในเชิงการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว และการมีภูมิคุ้มกันในตัว ก็เป็นปัจจัยเสริมสร้างให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะเป็นพลวัตรเป็นไปอย่างมีเหตุผลในระยะยาว
เงื่อนไขจำเป็นทั้ง ๒ ประการที่ต้องอยู่คู่กันอย่างสมดุล ภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความรู้คู่คุณธรรม หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งแล้ว ก็สามารถทำให้กระบวนการตัดสินใจผิดพลาด และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนได้ เช่น หากมีความรู้อย่างเดียว แต่นำความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ ผลแห่งการตัดสินใจกระทำการนั้น ก็สามารถนำความ เสียหายมาสู่ตนเอง และสังคมได้ ในลักษณะเดียวกันหากมีเพียงคุณธรรมแต่ขาดความรู้ ก็อาจทำให้กระบวนการ ตัดสินใจเป็นไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ และก่อให้เกิด ผลเสียได้เช่นเดียวกัน
๗๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
􀂉
ส่วนต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยแยกวิเคราะห์แต่ละองค์ประกอบแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้อง ระหว่างองค์ประกอบแต่ละส่วน และแนวคิดทาง เศรษฐศาสตร์บางประการที่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ อาทิ ความพอประมาณกับหลัก Optimisation ความมีเหตุผลกับกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวกับกระบวนการจัดการความเสี่ยง (Risk man-agement) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์บางเรื่อง จะสามารถอธิบายองค์ประกอบแต่ละส่วนของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี แนวคิดดังกล่าวก็ยังคงเป็นเพียงการอธิบายแบบแยกส่วน ไม่ใช่การอธิบายความ สัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทั้ง ๓ ส่วนอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยง จึงต้องมีการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบทั้ง ๓ กับเงื่อนไข ๒ ประการดังกล่าวข้างต้นด้วย
นอกจากนี้ เนื่องจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักเป็นไปเพื่อการอธิบายการกระทำที่เป็นอยู่ (Positive aspect) ของมนุษย์มากกว่าการเสนอแนะแนวทางและการกระทำที่ เหมาะสม (Normative aspect) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดของเศรษฐกิจ การบรรลุจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง จึงจำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขต่างๆ ดังที่ได้กำหนดไว้ในตัวปรัชญาฯ ทั้งเงื่อนไขกรอบความรู้ อันได้แก่ ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง และเงื่อนไขที่จะต้องเสริมสร้างในด้านจิตใจ และการกระทำ เพื่อเป็นวิถีทางปฏิบัติให้เกิดความพอเพียง
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๗ ๗
๕.๒
􀂉
􀂉
ความพอประมาณ๒๒
บทวิเคราะห์เรื่องความพอประมาณในส่วนนี้ มีจุดประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องความพอประมาณดังที่ได้ปรากฏในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ๒ เรื่อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ในทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ แนวคิดเรื่องกระบวนการ Optimisation และแนวคิดเรื่อง Bounded rationality
บทวิเคราะห์สามารถแยกออกได้เป็น ๓ ส่วน ในส่วนแรกจะเป็นการอัญเชิญพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสที่ เกี่ยวข้องกับความพอประมาณ ดังที่ปรากฏในวโรกาสต่างๆ และจำแนกประเภทของความหมายของความพอประมาณตามความเข้าใจของผู้วิจัย เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแนวคิดดังกล่าวกับแนวคิดทาง เศรษฐศาสตร์ต่างๆ และในส่วนหลังจะเป็นการวิเคราะห์ บทบาทของความพอประมาณในกระบวนการที่กล่าวถึง พฤติกรรมของมนุษย์ที่สำคัญ ๒ ประการ ได้แก่กระบวนการ Optimisation และ พฤติกรรมภายใต้ Bounded rationality ตามลำดับ
๒๒ บทวิเคราะห์เกี่ยวกับความพอประมาณนี้ ยกร่างเบื้องต้นโดย นายทองใหญ่ อัยยะวรากูล หนึ่งในคณะทำงาน ฯ
๗๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
๕.๒.๑ ความพอประมาณและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 􀂉
พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ปรากฏเป็นครั้งแรกตามหลักฐานที่ได้ ค้นคว้าในปี ๒๕๑๖ โดยแม้จะไม่ได้ทรงมีพระราชดำรัสถึง คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างชัดเจนในปีดังกล่าว แต่ก็ได้ทรงมีพระราชดำรัสถึงคำว่า “พอมีพอกิน” หลายครั้งด้วยกัน เรื่อยมา จนกระทั่งในปี ๒๕๔๑ จึงได้ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่มีเนื้อหาหลักที่ ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังจะได้อัญเชิญมาเฉพาะบางองค์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องดังนี้
๑ “…ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความ มีเหตุผล” ...(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๒ “…พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้” ...(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๓ “...เศรษฐกิจพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางกว่า Self-sufficiency คือ self-sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อ คนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง)...เป็นตามที่เขา เรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง)…. ไม่ต้องไปยืมขาของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน แต่พอเพียงนี้
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๗ ๙
􀂉
•
มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอใน ความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด… ว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียง นี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง” …(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม พรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๔ “…ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควร ที่จะปฏิบัติ”…(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
จากการประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทข้างต้น แนวคิดเรื่องความพอประมาณในปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ตามการวิเคราะห์ของผู้เขียน อาจสามารถ แยกได้เป็น ๒ เรื่องหลัก ได้แก่
ในประการแรก ความพอประมาณเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบระดับสินค้าหรือบริการที่แต่ละบุคคลเลือก ที่จะบริโภค กับเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง โดยหากระดับที่บริโภค/ผลิต (x) ไม่ต่ำกว่าระดับหนึ่งที่กำหนด หรือ
๘๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
ระดับที่พอมีพอกิน (a) ดังพระราชดำรัสองค์ที่ ๒ และ ไม่เกินกว่าระดับหนึ่งที่กำหนด หรือระดับที่เกินกว่าระดับที่ต้องการ และก่อให้เกิดความโลภ (b) ดังพระ ราชดำรัสองค์ที่ ๓ ก็ถือเอาว่าเป็นความพอประมาณ •
􀂉
(a “ x “ b) และหากอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว ก็ถือเป็นความไม่พอประมาณ ระดับที่เหมาะสมดังกล่าว (a และ b) จะถูกสมมติขึ้น และอาจแตกต่างออกไป แล้วแต่บุคคล ตลอดจนปัจจัยทางสังคม หรือ สถานการณ์
ในประการที่สอง ความพอประมาณเป็นการเปรียบเทียบระดับสินค้าหรือบริการที่แต่ละบุคคลเลือกที่จะบริโภค กับศักยภาพของตน หากระดับที่เลือกไม่สูงเกินกว่าศักยภาพ (g(x) “c) ก็ถือได้ว่าพอประมาณ (ไม่เกินตัว) และ หากสูงเกินก็ถือเป็นความไม่พอประมาณ (เกินตัว) และ “แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข และสามารถทำได้โดยไม่เกินศักยภาพของตน ก็สมควร ที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ” (พระราชดำรัสองค์ที่ ๔)
๕.๒.๒ ความพอประมาณและกระบวนการ Optimisation ในทางเศรษฐศาสตร์
ข้อสันนิษฐานที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งในทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ได้แก่ พฤติกรรมของมนุษย์ที่มุ่ง optimise ภายใต้ข้อจำกัดทางทรัพยากรต่างๆ ที่ตนมี อาทิ รายได้ เวลา ข้อมูล และความรู้ เป็นต้น
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๘ ๑
􀂉
•
•
􀂉
โดยทั่วไปแล้ว ผลที่ได้รับจากกระบวนการ optimisation ในลักษณะที่เป็น positive อาจมีลักษณะที่สอดคล้องหรือ ไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของความพอประมาณทั้ง ๒ ประการก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะความพอใจ ทรัพยากร และมุมมองเรื่องความเสี่ยง (risk perception) ของแต่ละคน กล่าวคือ
หากความพอใจไม่ได้โอนเอียงไปยังสินค้า หรือบริการประเภทใดประเภทหนึ่งมากจนเกินไป ระดับสินค้าหรือบริการที่ได้เลือกสรรแล้วภายหลังกระบวนการ optimisation ภายใต้ข้อจำกัดทางทรัพยากรก็มัก อยู่ในระดับที่พอประมาณ (สอดคล้องกับข้อจำกัดที่ว่า a “ x* “ b) ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไปภายใต้ เกณฑ์ที่กำหนด
นอกจากนี้ หากมุมมองที่บุคคลมีต่อศักยภาพของ ตนเองตลอดจนระดับความเสี่ยงในสถานการณ์ต่างๆ ถูกต้อง และไม่เกิดปัญหา Non-Ponzi game หรือการกู้ยืมเงินอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อใช้หนี้เดิม ระดับสินค้า หรือบริการที่ถูกเลือกก็ย่อมต้องสอดคล้องกับศักยภาพของตน (g(x*) “ c)
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของความพอประมาณของระดับ สินค้าหรือบริการที่ถูกเลือกไม่ได้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ optimisation ในทางเศรษฐศาสตร์แบบ positive เสมอไป กล่าวคือ หากลักษณะความพอใจของบุคคลใดมีความโอนเอียงต่อการบริโภคสินค้าหรือบริการ
๘๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
•
ชนิดใดเป็นพิเศษ หรือหากมีการประเมินศักยภาพของตนสูง เกินไปจากความเป็นจริง ระดับสินค้าและบริการที่ถูกเลือกก็อาจอยู่ในระดับที่ไม่พอประมาณ ไม่อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือเกินกว่าศักยภาพในการหารายได้ของตน
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า หากลักษณะความพอใจของสังคม (social preference) ประกอบขึ้นด้วยความพอใจของบุคคลในสังคม (individual preference) แต่เพียงอย่างเดียว และความพอใจของบุคคลหนึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบจากภายนอก (externality) ต่อความพอใจของอีกบุคคลหนึ่งแล้ว สังคมจะเกิดความพอใจสูงสุดก็ต่อเมื่อได้ยอมให้พฤติกรรมของบุคคลในสังคมเป็นไปตามกับกระบวนการ optimisation แม้ว่าระดับสินค้าหรือบริการที่ถูกเลือกอาจไม่พอประมาณในความหมายของ Social optimisation
ในความเป็นจริงแล้ว ความไม่พอประมาณจากคำนิยามทั้งใน ๒ ลักษณะข้างต้นอาจก่อให้เกิดการขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากมุมมองของสังคมได้ โดยอาจเป็นผลจากสาเหตุหลายประการ อาทิ
ลักษณะความพอใจที่บกพร่องโดยธรรมชาติ (naturally defected preference) ซึ่งอาจส่งผลให้บุคคลบางคน เลือกบริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่เหมาะสม หรือในระดับที่ไม่พอเหมาะ แม้จะเข้าใจถึงผลเสียของสินค้า และบริการดังกล่าวอย่างชัดเจนแล้วก็ตาม เช่น การ รับประทานอาหารบางประเภทที่มากหรือน้อยจนเป็น ผลเสียต่อสุขภาพ ในสถานการณ์ดังกล่าว สังคมไม่
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๘ ๓
•
•
สามารถจะปล่อยกระบวนการตัดสินใจให้เป็นเรื่องของบุคคลแต่เพียงอย่างเดียวได้ และอาจจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงในแบบ paternalistic ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น มาตรการทางราคาเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือ การกำหนดกฎหมาย เพื่อควบคุมให้ ระดับสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นต้น
การประเมินความเสี่ยงที่ผิดพลาด (misperception of risks) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องศักยภาพตนเองในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนต่างๆ เช่น ระดับรายได้ของตนในอนาคต ยอดขายของบริษัทในอนาคต เป็นต้น ในสถานการณ์ดังกล่าว กระบวนการ optimisation ของบุคคลที่ตั้งอยู่บนการประเมินศักยภาพของตนที่ ผิดพลาดอาจนำไปสู่ระดับสินค้าหรือบริการที่เกินกว่าศักยภาพของตน หรือเกินตัวในที่สุด
ผลกระทบภายนอกต่อผู้อื่น (externality) ในหลาย ๆ สถานการณ์นั้น ผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในสังคมได้ในวงกว้าง ผลลัพธ์ที่มีลักษณะ “สุดโต่ง” จากกระบวนการ optimisation ของบุคคลหนึ่งจึงอาจพิจารณาแต่เพียงโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแต่เพียงกับตนเอง ไม่ได้ต้องคำนึงถึงผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นในสังคมด้วย ในสถานการณ์ดังกล่าว แม้ว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเป็นไปตามกระบวนการ optimisation แต่ผลที่เกิด ขึ้นในระดับสังคมอาจไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ได้
๘๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
􀂉
ความพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงน่าจะจัดเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาวิธีหนึ่งของระบบตลาด (market failure) เมื่อเกิดปัญหาการไม่ได้ใช้ทรัพยากรอย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งแตกต่างจากวิธีการแก้ไขปัญหา ทั่วไปซึ่งเน้นการใช้กลไกราคาต่างๆ เป็นหลัก ด้วยการเพิ่มหลักความพอประมาณเข้าไปในกระบวนการ optimisation ของบุคคล ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้ว เป้าประสงค์ของทั้งสองแนวทางก็ล้วนเป็นการสร้างให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในสถานการณ์ซึ่งไม่สามารถปล่อยให้ระบบตลาดเป็นกลไกกำหนดกระบวนการจัดสรรทรัพยากรได้
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติแล้ว จะเห็นได้ว่า การใช้กลไกราคาเป็นเครื่องแก้ไขปัญหาทั้ง ๓ ประการข้างต้นนั้น ต้องอาศัยข้อมูลที่จัดเก็บได้ยาก หรืออาจมีลักษณะเป็นนามธรรม (เช่น ลักษณะ utility function ของแต่ละบุคคล) และอาจไม่สามารถกำหนดมาตรการที่จำเพาะเจาะจงถึงแต่ละบุคคลได้ (เช่น ระดับภาษีที่เหมาะสมในกรณีที่ลักษณะ defected preference ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน) หลักความพอประมาณของเศรษฐกิจพอเพียงจึงอาจนับเป็นทางเลือกที่สำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้น แทนการใช้กลไกราคาในกรณีที่ข้อมูลเกี่ยว กับบุคคล หรือความเสี่ยงในสถานการณ์ต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด
๕.๒.๓ ความพอประมาณ และ Bounded rationality
แนวคิดเรื่อง Bounded rationality เป็นแนวคิดอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากแนวคิดเรื่อง optimisation โดยมุ่ง
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๘ ๕
อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ดังที่เป็นอยู่จริงในชีวิตประจำวันทั่วไป ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบทางเลือกทุกทางเลือกที่ตนมีดังเช่นในกระบวนการ optimisation ได้ เนื่องจากการได้ มาซึ่งข้อมูลที่สมบูรณ์เพื่อประกอบการตัดสินใจนั้น เป็นไปไม่ได้ หรือต้องอาศัยค่าใช้จ่ายสูงมากเกินความจำเป็น บุคคลจึงอาจเลือกวิธีการตัดสินใจอย่างง่ายๆ ตามแนวทางใด แนวทางหนึ่งซึ่งสังคมได้ปฏิบัติกันมา และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า นำไปสู่ผลลัพธ์ที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจแก่ผู้ปฏิบัติ 􀂉
􀂉
การปฏิบัติตามแนวทางที่สืบทอดกันมาในทางสังคมเช่นที่ว่านี้ สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติในภาวะ Bounded rationality ได้ด้วยเหตุผลหลัก ๒ ประการดังที่ Henrich et al. (๒๕๔๒)๒๓ อธิบายไว้ คือ ได้แก่ การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ optimisation ทั่วไป และเป็นกระบวนการ ตัดสินใจที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ และวิวัฒนาการไปตามสภาพสังคม โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการปรับตัว (adaptive process)
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาวัฒนธรรม และประเพณีที่มีอยู่ในสังคม ไทยแต่เดิมแล้ว จะเห็นได้ว่า ความพอประมาณเป็นแนวปฏิบัติที่มีมานาน สังเกตได้จากลักษณะการดำรงชีวิตของคนไทยที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ หรือฟุ่มเฟือยจนเกินกว่าศักยภาพของตน อีกทั้งยังรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลแก่โดยการแบ่งปันส่วนที่สามารถหาได้เกินกว่าความต้องการของตนไปสู่ผู้ที่ด้อยกว่า
๒๓ Henrich, Joe, et. al. ๒๕๔๒ What is the Role of Culture in Bounded Rationality, Emory University
๘๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
•
•
􀂉
􀂉
ในสังคม โดยการปฏิบัติตนตามแนวทางดังกล่าวแม้จะไม่ผ่านกระบวนการ optimisation ในระดับบุคคล ก็สามารถ นำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าพอใจในระดับสังคมได้เช่นกัน
๕.๒.๔ บทสรุปของความพอประมาณ
จากการวิเคราะห์ของผู้เขียน แนวคิดเรื่องความพอประมาณดังที่ได้ปรากฏในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถแยกออกได้เป็น ๒ แนวทางหลัก ได้แก่
ความพอประมาณโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ทางสังคม ที่ถูกกำหนด
ความพอประมาณโดยเปรียบเทียบกับศักยภาพของตน
เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องความพอประมาณกับกระบวนการ optimisation ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า หลักความพอประมาณสามารถช่วยให้การใช้ทรัพยากรของสังคมเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ในบางสถานการณ์ เช่น การที่บุคคลบางคนมีลักษณะความพอใจที่ไม่เหมาะสม การประเมินความเสี่ยงหรือศักยภาพของตนผิดพลาด หรือการไม่พิจารณาผลของการกระทำของตนอันอาจเกิดขึ้นกับผู้อื่น โดยหลักความพอประมาณสามารถใช้เป็นกลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากกลไกราคาในทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เพื่อช่วยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากมุมมองของสังคม

เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องความพอประมาณกับแนวคิดในเรื่อง Bounded rationality ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า ความพอประมาณสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของสังคมทางเลือกหนึ่งได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้ ในสถานการณ์ที่การเสาะหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๘ ๗
ในกระบวนการ optimisation เป็นไปได้ยาก หรือต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง และความพอประมาณสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าพอใจในระดับสังคมได้เช่นเดียวกัน ๕.๓
􀂉
􀂉
ความมีเหตุผล๒๔
บทวิเคราะห์ในเรื่องความมีเหตุผลนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ตลอดจนประเด็นสำคัญในการประยุกต์ใช้เรื่องความมีเหตุผลเพื่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาประเทศ
ความมีเหตุผลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงการดำเนินการใดๆ ด้วยความรู้ความเข้าใจถึงผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนวิธีการปฏิบัติอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของความดี ดังพระบรมราโชวาทที่มี ข้อความสำคัญที่ทรงเน้นหนักในเรื่องความมีเหตุผล ดังนี้
"...ข้าพเจ้าอยากให้ทุกคนคำนึงถึง กฎแห่งเหตุผล ว่า ผลที่ เกิดขึ้นเพราะเหตุ คือ การกระทำและผลนั้นจะเป็นผลดีหรือผลเสีย ก็เพราะกระทำให้ดีหรือให้เสีย ดังนั้นการที่จะทำงานใดให้บรรลุผลที่พึงประสงค์จะต้องพิจารณาถึงวิธีการที่เหมาะสมก่อนเป็นเบื้องต้นแล้วลงมือกระทำตามหลักเหตุผลด้วยความตั้งใจจริงและด้วยความสุจริต งานของแต่ละคน จึงจะเป็นผลดี และเชื่อได้ว่าผลงานของแต่ละคนจะประมวลกัน เป็นความเจริญมั่นคงของบ้านเมืองได้ดังปรารถนา.."
๒๔ บทวิเคราะห์เรื่องความมีเหตุผล ยกร่างเบื้องต้น โดย ดร. วิชัย ตุรงคพันธุ์ หนึ่งในคณะทำงาน ฯ
๘๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๓)
"...จะต้องเชื่อมั่นและยืนหยัดในเหตุผลและความดีถ้าทุกคน มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อความวิปริตผันผวนของสังคม ช่วยกันปลูกฝังความรู้ ความคิด ความมีเหตุผล ให้เกิดมี ในอนุชนสังคมของเราก็จะเข้ารูปเข้ารอยดีขึ้นเป็นลำดับ..." (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๔)
๕.๓.๑ ความมีเหตุผลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 􀂉
􀂉
ความมีเหตุผล หรือ Reasonableness ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความหมายที่สะท้อนถึงความเข้าใจถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำ ณ สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง ความมีเหตุผล จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการสั่งสมความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจน การรู้วิธีประมวลปัจจัยที่ซับซ้อนมาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจ อาทิ ความเชื่อมโยงเชิงเหตุปัจจัยต่างๆ ในการตัดสินใจ เพื่อให้ความคิดและการกระทำอยู่ในกรอบที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ความมีเหตุผลในทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการตัดสินใจและการปฏิบัติบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์
หากมองด้วยหลัก Optimisation ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ความมีเหตุผล เกิดจากความรู้ที่สั่งสมและได้รับการพัฒนาเชิงพลวัตร (Dynamic) ทำให้สามารถซึมซับ (Internalise) ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ เข้าไปในกระบวนการ
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๘ ๙
ตัดสินใจในทุกระดับจากความคิดถึงการกระทำ อย่างไรก็ดี การกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยปกติ เช่น กระบวนการคล้อยตามกัน (Collective effects) อาจถูกมองว่าไม่ตั้งอยู่ในหลักของเหตุผลในทางทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้ยากต่อการกำหนดขอบเขตที่แน่ชัดของคำว่า ความมีเหตุผล ตามหลักเศรษฐศาสตร์ 􀂉
􀂉
ในขณะเดียวกัน ความมีเหตุผลในปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ที่มีเงื่อนไขความรู้ควบคู่คุณธรรม กำหนดกรอบการตัดสินใจและการดำเนินการที่ไม่มีเหตุผล (Irrational behavior) ที่เกิดจากความผันผวนของปัจจัยต่างๆ ในสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินชีวิตทั่วๆไป
๕.๓.๒ ความมีเหตุผลในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่อย่าง หลากหลายและไม่จำกัด การจัดสรรดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทั้งในตัวเองและต่อบุคคลรอบๆ ตัวในสังคม หลักการพื้นฐานที่สำคัญข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์คือ การตัดสินใจของปัจเจกชนเพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์และผลตอบแทนที่ดีที่สุด โดยบุคคลนั้นจะถูกรวมว่าเป็นผู้มีเหตุผล ในการตัดสินใจเลือก ไม่ว่าจะคำนึงถึงปัจจัยและผลที่ เกิดจากภายนอก (External factor and externality) จากการตัดสินใจนั้น ๆ
๙๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
•
•
•
ความมีเหตุผลในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์อาจวิเคราะห์ได้โดยวิธีเปรียบเทียบและสังเคราะห์ความแตกต่างที่ระดับต่างๆ กล่าวคือ
ในระดับจุลภาค: ตามทฤษฎีที่ยึดหลัก Rationality เป็นแกนกลางในการวิเคราะห์จะนิยามความมีเหตุผลในความหมายที่แคบกว่า โดยเน้นการตัดสินใจและ การกระทำ โดยปัจเจกบุคคลซึ่งอยู่ในกรอบของความชอบ (Preference) ความต่อเนื่อง (Transitivity) และ การเลือกสรร (Selectivity) ในระดับต่างๆ กัน ความคิดในเชิงดังกล่าวมีขอบเขตที่แน่นอน และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดคะเนได้โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเริ่มต้นที่กำหนดไว้
ในระดับมหภาค: ตามทฤษฎีRational expectation ซึ่งกล่าวว่า ปัจเจกชนจะใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและผลที่คาดว่าจะเกิดจากการดำเนินนโยบายในอนาคต ประกอบการตัดสินใจ ณ ปัจจุบัน เพี่อ ผลประโยชน์สูงสุดในปัจจุบันและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะประกอบการตัดสินใจในอนาคต
ความคิดในเชิงทฤษฎีเกม (Game theory) ของ เศรษฐศาสตร์ที่รู้จักในชื่อว่า Common knowledge นับเป็นแนวคิดเชิงเหตุผลอีกแขนงหนึ่งที่เน้นถึง ศักยภาพในตัวบุคคลในการรู้ถึงการดำเนินการใดๆ ก็ตาม ด้วยความรู้ที่ปราศจากความคลุมเครือในความคิดทั้งต่อตนเองและผู้อื่นโดยความสมบูรณ์ของความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีที่สุด ณ เวลาที่ตัดสินใจกระทำการ
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๙ ๑
􀂉
􀂉
􀂉
จะเห็นได้ว่าความมีเหตุผลในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ มีมิติของความแน่นอนของคำตอบโดยอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ใน มุมมองเชิงสังคม ซึ่งสามารถนำแนวคิดจากการศึกษาต่างๆ ในเรื่องความรู้มาวิเคราะห์ร่วมได้ ในขณะที่ เงื่อนไขของความมีเหตุผล ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีมิติที่สะท้อนการสั่งสมความรู้และประสบการณ์เชิงพลวัตร ที่คำนึงถึงแง่มุมเชิงคุณธรรมหรือความถูกต้องควบคู่กันไป ซึ่งเป็นแง่มุมใหม่ของความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์
๕.๓.๓ ความมีเหตุผลโดยเปรียบเทียบระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับ ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์
ความมีเหตุผลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะเฉพาะตัว (Uniqueness) โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับจากจุลภาคถึงมหภาค โดยเน้นการคำนึงถึงผลลัพธ์และ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจการกระทำและวิธีการและเลือกปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพียงแขนงใดแขนงหนึ่ง มิอาจครอบคลุมความคิดเรื่องความมีเหตุผลในปรัชญาฯ ได้
Toulmin๒๕ (๒๕๔๔) นักปรัชญาชาวอเมริกัน เสนอความ คิดในเรื่องนี้ว่าการตัดสินใจโดยเหตุผลที่ขาดความยืดหยุ่นมิอาจครอบคลุมความเป็นไปได้ของกระบวนการที่เป็น พลวัตรของโลกได้ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ที่ขาดความยืดหยุ่น ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบจำลองต่างๆ จึงบดบังกระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างมีเหตุผลที่เกิดจากการวิเคราะห์
๒๕ Stephen Toulmin. ๒๕๔๔. Return to Reason, MA: Harvard University Press
๙๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
และพิจารณาจากประสบการณ์ที่สั่งสมของมนุษย์อย่างแท้จริง ดังนั้นการพัฒนาความมีเหตุผลที่ตอบสนองพลวัตรและ คำนึงถึงปัจจัยซับซ้อนในโลกปัจจุบันประกอบจึงมีความจำเป็น
ความคิดของ Toulmin ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ Soros (๒๕๔๐) ๒๖ ซึ่งเป็นนักลงทุนข้ามชาติที่เสนอความคิดในเรื่องความมีเหตุผลว่า เป็นความคิดที่มีลักษณะยืดหยุ่น อันเป็นผลพวงมาจากความมีเหตุผลและจากประสบการณ์ที่แท้จริงโดยคำนึงถึงความเชื่อมโยง จากจุดเริ่มต้นของปัญหาสู่ผลลัพธ์ด้วยกระบวนการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความมีเหตุผลและประสบการณ์เรียนรู้จากเหตุการณ์
แนวคิดในเรื่องความมีเหตุผลจึงควรคำนึงถึงคำว่า Reasonableness มากกว่า Rationality เนื่องจาก Rationality มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึงความมีเหตุผล ที่สะท้อนจากการเข้าใจด้วยเหตุผลที่ยึดติดในความเป็นกรอบแนวทางเป็นสำคัญ ผลลัพธ์จึงคาดการณ์ได้โดยขึ้นอยู่กับกรอบที่วางไว้ และมีความยืดหยุ่นไม่มากนักแนวคิดความมีเหตุผลในกรอบ Reasonableness จึงสอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนา ต่อยอด ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคือ การพัฒนาเทคโนโลยีและแบบ จำลองทางเศรษฐศาสตร์ต่างๆ โดยที่การพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องจะดำเนินไปโดยมีผลลัพธ์เป็นเครื่องตรวจสอบเพื่อการพัฒนาความคิดอย่างต่อเนื่อง กรอบแนวทางในเชิง Reasonableness จึงใช้ได้กับการพัฒนาในทุกด้าน ครอบคลุมทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และสังคม
๒๖ George Soros ๒๕๔๐ The Alchemy of Finance: Reading the Mind of the Market, NY: John Wiley & Sons, Inc.
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๙ ๓
􀂉
•
•
ในระบบเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการดำเนินชีวิตนั้น การหยิบยกประเด็นครอบคลุม (Generalisation) เพื่อการแก้ปัญหาใดๆ ควรยึดหลักความมีเหตุผล(Reasonableness) เพื่อผลลัพธ์ที่ถูกต้องมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ดังได้กล่าวข้างต้นว่า ความมีเหตุผลที่ใช้ในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่ถูกตีกรอบที่เน้นผลที่เกิดขึ้นว่ามีความถูกต้องเป็นหลักใน การตัดสินใจสร้างเหตุ โดยคำนึงถึงความสุจริตและความดีซึ่งเมื่อความมีเหตุผลดังกล่าวหากได้รับการพัฒนาต่อเนื่องและลงมือกระทำอย่างจริงจังก็จะนำพาความเจริญมาสู่การทำงานและการพัฒนาสังคม
ความมีเหตุผลจึงเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างให้เกิดความความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันที่ดีให้เกิดขึ้นในตัวเองโดยใช้ความรู้และความรอบคอบในการกลั่นกรองก่อนการกระ ทำใดๆ ความมีเหตุผลจึงสามารถก่อเกิดและสั่งสมได้ เฉกเช่นดอกไม้พันธุ์ดีที่งดงามในสวน ซึ่งเติบโตได้ด้วยน้ำและปุ๋ยที่ดีซึ่งเปรียบเสมือนความดีและความสุจริตที่ส่งเสริมโดยมีการแพร่พันธุ์ได้ด้วยการฟุ้งกระจายของเกสรหรือจากแมลงที่ถูกดึงดูดดอกไม้จึงแพร่พันธุ์ขยายวง ความมีเหตุผลก็สามารถพัฒนาและเติบโตตามวันเวลาผ่านไปด้วยการฝึกฝนแก้ปัญหาจากระดับจิตใจและความคิด ต่อเหตุการณ์ภายนอกในโลกปัจจุบันที่มีแต่ความผันผวนตลอดเวลา โดยคำนึงถึงผลของการกระทำว่าอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องหรือไม่
๙๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
ความมีเหตุผลในแง่มุมของเศรษฐศาสตร์และของเศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกต่างซึ่งสรุปไว้ในตาราง ๕-๑ ดังนี้
ตารางที่ ๕-๑ ตารางเปรียบเทียบความมีเหตุผล ในแง่มุมของเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง
ความมีเหตุผล
แง่มุมที่เกี่ยวข้อง
ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั่วไป
ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑. กรอบความคิดในเชิงพัฒนา
มีขอบเขตจำกัดมากภายใต้สมมติฐาน ที่ต่างกัน
คำนึงผลของการกระทำและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๒. ความเกี่ยวข้องในเชิงเวลา
สถิตย์และพลวัตร
พลวัตรและยืดหยุ่น
๓. ระดับการนำไปใช้
ทุกระดับขึ้นกับแง่มุมที่สนใจ
ทุกระดับและในทุกแง่มุม
๔. ข้อจำกัดในการปฏิบัติ
เนื่องจากมีสมมติฐานจึงมีข้อจำกัด ในการนำไปใช้
ไม่มีข้อจำกัดในการนำไปใช้
๕. ความสอดคล้องกับนโยบายต่างๆ
จำกัดขึ้นอยู่กับสมมติฐานและวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะนำไปใช้
ได้ทั้งหมดโดยไม่มีข้อจำกัด
๖. การนำมาซึ่งความสมดุลและความยั่งยืน (Balance and Sustainability)
ไม่แน่นอน
นำไปสู่ความสงบสุขในสังคมและ การพัฒนาที่ยั่งยืน
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๙ ๕
๕.๓.๔ ความมีเหตุผลกับการพัฒนาประเทศ 􀂉
􀂉
การรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเคยชินจึงเป็นกระบวนการซึมซับเพื่อการพัฒนาพื้นฐานทางปัญญา ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการพัฒนาซึ่งมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการสั่งสมมาแต่ช้านานมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์โดยยึดหลักความมีเหตุผล (Reasonableness) ในการดำเนินงาน ผลพวงของภูมิปัญญาดังกล่าวจะถูกใช้ในระดับที่เหมาะสมส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จได้มากกว่าการดำเนินการใดๆ ไปด้วยความพึงพอใจส่วนบุคคลโดยมิได้มีหลักของเหตุผลเป็นพื้นฐาน
การพัฒนาโดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยใช้ เทคโนโลยีชั้นสูงอาจมิใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป เนื่องจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างไม่มีเหตุผลที่เหมาะสมเพียงเพื่อหวังว่าจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงเป็นประเด็นที่น่าห่วงและที่ควรวิตกเป็นอย่างยิ่งคือการนำเทคโนโลยีมาตีกรอบความ คิดและเหตุผลในการทำงานและดำเนินชีวิต Young๒๗ (๒๕๓๕) ได้เสนอความคิดในเรื่องนี้ว่า เศรษฐกิจหนึ่งถ้าทุ่มเทให้กับการวิจัยมากจนกระทั่งกระบวนการพัฒนาในตนเองหรือ Leaning by doing ลดน้อยลงแล้ว แม้การวิจัยจะมีส่วนผลักดันให้ความรู้ใหม่ๆ แต่การเติบโตของเศรษฐกิจอาจมีความถดถอย และไม่ได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่วางไว้ แนวความคิดนี้สะท้อนให้เห็นว่าการกระทำใดๆ ควรมี
๒๗ Alwyn Young ๒๕๓๕. “A Tale of Two Cities Factor Accumulation and Technical Change in Hongkong and Singapore” NBER Macroeconomics Annual
๙๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
􀂉
การเรียนรู้ต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Toulmin (๒๕๔๔) และ Soros (๒๕๓๕) ดังกล่าวแล้วในข้อ ๕.๓.๓
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยซึ่งเกิดจากความไม่ พอประมาณ การขาดความระมัด ระวัง และการขาดวิจารณญาณที่รอบคอบของการเปิดการค้าเสรีทางการเงิน การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่รวมถึงความรู้ใหม่เข้ามาอย่างฉับพลัน โดยมิได้มีการมองศักยภาพของความเป็นจริง อย่างมีเหตุผลที่เพียงพอ จึงนำมาซึ่งการขาดเสถียรภาพในตัวองค์กรต่างๆและรวมถึงประเทศชาติในที่สุด การพัฒนาตนเองด้วยความคิดที่ดีมีเหตุผล จึงต้องเกิดจากสติสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆตัวได้อย่างเข้าใจชัดเจนถึงผลที่จะเกิดขึ้นด้วยหลักพื้นฐานของการพัฒนา อย่างมีเหตุผลเพียงเท่านี้ก็อาจจะเป็นการพอเพียงในระดับหนึ่งในการเพิ่มขีดความมั่นคงของการพัฒนาประเทศได้
การแก้ปัญหาทางสังคมจึงต้องเริ่มจาก ความมีเหตุผล และการเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงจากการกระทำภายใต้ ความมีเหตุผลดังกล่าว ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาสังคมที่ยั่งยืนได้อีกทางหนึ่ง
๕.๓.๕ บทสรุปของความมีเหตุผล
ความมีเหตุผลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยสรุปแล้ว คือ การคำนึงถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำ แล้วเลือก แนวทางที่นำไปสู่ผลที่ถูกต้องโดยมีปัจจัยในเรื่องคุณธรรมกำกับควบคู่ไปด้วย ซึ่งทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เช่น Rationality หรือ rational expectation และ common knowledge ไม่สามารถอธิบายได้โดยสมบูรณ์ จึงทำให้ความมีเหตุผล (reasonableness) ในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๙ ๗
􀂉
􀂉
๕.๔
􀂉
มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งควรค่าแก่การดำเนินการวิจัยเชิงเศรษฐศาสตร์ในแนวลึกต่อไป
ความมีเหตุผลในระบบพลวัตรจะเป็นการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องและเน้นความยืดหยุ่นในการดำเนินชีวิตและการทำงานต่างๆ โดยการนำภูมิปัญญาและความรู้ที่มีอยู่ในตัว มากลั่นกรองอย่างมีเหตุผลและนำไปใช้อย่างมีเหตุผล เพื่อการพัฒนาตัวเองและประเทศชาติ ความมีเหตุผลอาจไม่ได้เกิดจากการศึกษาหาความรู้ แต่เกิดจากการฝึกฝนปัญญาให้รู้จักคิดใคร่ครวญ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อ บูรณาการกับความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงแล้ว จะเป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาประเทศและสังคมใน รูปแบบที่ยั่งยืนต่อไป
แม้กระทั่งทุกวันนี้ ก็ยังมีความพยายามที่จะหาความหมายของความมีเหตุผลทั้งในส่วนบุคคลและในระดับมหภาคนิยม แต่การประมวลแนวคิด ในตัวความมีเหตุผล เป็นหัวข้อใหม่ ที่มีค่าต่อการดำเนินงานวิจัยและตอบคำถามในสาขาต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำถามที่ว่า ปัญหาในระดับต่างๆ จะได้รับการแก้ไขด้วยกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ได้อย่างไร
การมีภูมิคุ้มกันในตัว๒๘
บทวิเคราะห์นี้จะช่วยชี้ถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของ “ระบบภูมิคุ้มกันในตัว” ของเศรษฐกิจพอเพียงและ
๒๘ บทวิเคราะห์เรื่อง การมีภูมิคุ้มกันในตัวนี้ ยกร่างเบื้องต้น โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล หนึ่งในคณะทำงาน ฯ
๙๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ โดยเปรียบเทียบประเด็นเรื่องภูมิคุ้มกันในตัวตามที่ปรากฏในพระราชดำรัสต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา กับกรอบความคิดในทางเศรษฐศาสตร์หลักที่มีความ เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการบริหารความเสี่ยง การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่ไม่แน่นอน และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค
๕.๔.๑ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวของเศรษฐกิจพอเพียง 􀂉
ความคิดในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในตัว ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่ประเทศไทยได้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวหมายถ
􀂉
ึงการที่ระบบเศรษฐกิจสามารถรองรับและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งรวมไปถึงภูมิคุ้มกันในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน บริษัท และรัฐ
ระบบภูมิคุ้มกันในตัว อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือ เกิดจากความไม่ประมาท ความมีเหตุผล ความพอประมาณ โดยหลีกเลี่ยงความต้องการที่เกินพอของเราเอง มี Self discipline ในระดับตัวบุคคล เพื่อปกป้องตนเองจากกระแสบริโภคนิยม การแข่งขันด้านฐานะทางสังคมไม่ให้มากระทบกับมาตรฐานการครองชีพของเรา หรือ เกิดจากการที่พยายามที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้น ให้เป็นกลไกรองรับวงจรทุกข์สุขของชีวิต ตลอดจนสร้าง Social Safety-net ของครอบครัวและของสังคม
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๙ ๙
􀂉
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสยกเป็น ตัวอย่างว่า
“...การที่จะทำโครงการอะไร จะต้องทำด้วยความรอบคอบ และอย่าตาโตจนเกินไป คือบางคนเห็นว่ามีโอกาสที่จะทำโครงการอย่างโน้นอย่างนี้ และไม่ได้นึกถึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่ง คือขนาดของโรงงานหรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุดคือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกร เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าวัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็น วัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะทางไกลหรือนำเข้าก็ยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบนั้นมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงาน ก็ขายยากเหมือนกัน เพราะว่ามีมาก จึงทำให้ราคาตกนี่เป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องมี
แต่ข้อสำคัญที่อยากจะพูดถึงคือถ้าเราทำโครงการที่เหมาะสม ขนาดที่เหมาะสม อาจจะไม่ดูหรูหรา แต่จะไม่ล้ม หรือถ้า มีอันเป็นไป ก็ไม่เสียหายมาก …”(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)
“…เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถพ้นวิกฤตได้ดีกว่าหลายประเทศ เพราะแผ่นดินนี้ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้ อย่างที่เคยพูดกันมาหลายปีแล้ว ภูมิประเทศยัง “ให้” คือเหมาะสมแต่ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องอยู่อย่างประหยัด และต้องไปในทางที่ถูก...”(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

๑๐๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
“…ฉะนั้นจึงทำทฤษฎีใหม่เพื่อที่จะให้ประชาชนมีโอกาสทำเกษตรกรรมให้พอกิน ถ้าน้ำมีพอดีในปีไหน ก็สามารถที่จะประกอบการเกษตร หรือปลูกข้าวที่เรียกว่านาปีได้ ถ้าต่อไป ในหน้าแล้ง น้ำมีน้อย ก็สามารถที่จะใช้น้ำที่กักไว้ในสระเก็บน้ำของแต่ละแปลงมาทำการเพาะปลูก แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ ไม่ต้องไปเบียดเบียนชลประทานระบบใหญ่ เพราะมีของตัวเอง แต่ก็อาจจะปลูกผักหรือเลี้ยงปลา หรือทำอะไรอื่นๆ ก็ได้ ทฤษฎีใหม่นี้มีไว้สำหรับป้องกันความขาดแคลน ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามที่มีอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดนไม่ต้องให้ทางราชการเข้าไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชนมีโอกาสพึ่งตนเองได้อย่างดี…”(พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘)
“…คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมาย ถึงการมีพอสำหรับใช้ของตัวเอง มีความหมายว่าพอมีพอกิน…ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศ พอมี พอกินก็ยิ่งดี…” (พระบรมราโชวาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)
๕.๔.๒ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
สำหรับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้น ได้กล่าวถึงภูมิคุ้มกันในตัวของประเทศต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดยมีอยู่ในหลายระดับ เช่น เรื่องของการบริหารความเสี่ยง การประกันภัย และการตัดสินใจภายใต้ภาวะที่มีความไม่แน่นอน (Decision-making under Uncertainty) ตลอดจนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ได้กล่าวถึงการวาง
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๐ ๑
􀂉
๑.
๒.
กรอบนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างกลไกที่จะบรรเทาผลกระทบจากความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
หากกล่าวโดยสรุปแล้ว ภูมิคุ้มกันในตัวคือ
การบริหารความเสี่ยงหรือ Risk Management นั้น เน้นถึงการควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการบริหารการลงทุน การบริหารการเงินของสถาบันการเงินในประเทศต่างๆ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร และจนกระทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในระดับมหภาคเพื่อช่วยในการบริหารประเทศอย่างเป็นระบบ หลักสำคัญของ Risk management นั้น ประกอบด้วย การ Identify ความเสี่ยง (Risk identification) การวัดความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยง (Risk diver- sification) การลดความเสี่ยง (Risk mitigation) การประกันความเสี่ยง (Risk sharing) การเตรียมเงินไว้รองรับให้เพียงพอต่อความเสี่ยงและรวมไปถึงการวางระบบต่างๆ เพื่อจัดการกับความเสี่ยง
เป้าหมายหลักของการบริหารความเสี่ยงก็คือ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์หรือภูมิคุ้มกันที่จะบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนในระบบที่อาจจะมากระทบต่อฐานะการ เงินและความอยู่รอดขององค์กร
การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่มีความไม่แน่นอนหรือ Decision-making under Uncertainty ซึ่งเป็นส่วน
๑๐๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
๓.
หนึ่งของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ในแขนง Economic of Uncertainty เน้นถึงการเลือกตัดสินใจที่เหมาะสมในกรณีที่มีความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ที่ตัดสินใจจะต้องเลือกว่าจะเรียนในสาขาอะไรดี เวลาที่เหมาะสมที่จะซื้อบ้านควรเป็นเมื่อไร จะไปเรียนต่อหรือไม่ จะใช้นโยบายไหนที่เหมาะสมที่สุดในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ซึ่งในแต่ละกรณี ผู้ที่ตัดสินใจไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือกเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบข้อดีและ ข้อเสียของแต่ละทางเลือกในสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ในบางกรณี ผู้ตัดสินใจเมื่อพิจารณาสถานการณ์ต่างๆ แล้ว ในขณะที่เลือกใช้ทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ไม่เสี่ยงจน เกินไปแล้ว ก็อาจจะเตรียมการในด้านต่างๆ เพื่อรองรับ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่สถานการณ์ออกมาเป็นทางลบไปพร้อมๆกันด้วย โดยการซื้อประกันภัยเพื่อป้องกันอัคคีภัย ออมเงินที่จะรองรับในกรณีเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่งสำหรับใช้บรรเทาความผันผวนที่จะมากระทบได้
Automatic Stabilisers ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ในด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น ได้กล่าวถึงคุณลักษณะประการหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจที่เรียกว่า Automatic Stabiliser โดยนโยบายที่ดีนั้น ควรจะเป็นนโยบายที่ช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนทาง
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๐ ๓
􀂉
เศรษฐกิจในตัว โดยทางการไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้ง
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นเสมอในต่างประเทศ ก็คือ Unemployment benefit ซึ่งในช่วงที่มีความผันผวนในระบบเศรษฐกิจจากภายในหรือภายนอกประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ดี มีคนว่างงานมาก รายจ่ายของรัฐเพื่อผู้ว่างงานก็จะเพิ่ม ขึ้นเอง ช่วยบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรง รายจ่ายนี้ก็จะลดลง ช่วยบรรเทาความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง สำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวก็มีผลเช่นเดียวกัน ในช่วงที่ประเทศไม่สามารถส่งออกได้ อัตราแลกเปลี่ยน ก็จะอ่อนค่าลง ช่วยกระตุ้นการส่งออก จึงเป็นระบบที่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนที่จะเกิดขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบพระราชดำรัสข้างต้นกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แล้วจะเห็นว่า มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันในหลายด้าน เช่น การนำทฤษฎีใหม่มาใช้ช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำใน บางฤดูกาล โครงการแก้มลิง การเกษตรแบบผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพิ่มความหลายหลากของพืชพันธุ์เพื่อกระจายความเสี่ยง การเลือกโครงการที่มีขนาดที่เหมาะสม อาจจะไม่ดูหรูหรา แต่จะไม่ล้ม หรือถ้ามีอันเป็นไป ก็ไม่ เสียหายมาก ความประหยัด รวมไปถึงการอยู่ได้ด้วยขาของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในตัวและลดกระทบจากความผันผวนที่เกิดขึ้นได้
๑๐๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
๕.๔.๓ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวและทางสายกลาง 􀂉
􀂉
แม้จะมีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันโดยรวมดังที่ได้กล่าวมา แล้ว อย่างไรตามระบบภูมิคุ้มกันในตัวของเศรษฐกิจ พอเพียงและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความแตกต่างในบางส่วน โดยเฉพาะเรื่องของการดำเนินไปในทางสายกลาง
การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่ไม่แน่นอนภายใต้ทฤษฎี เศรษฐศาสตร์โดยอาศัยหลัก Optimization และการดำเนินตนไปในทางสายกลางโดยวางตนอย่างไม่เกินตัว นั้น กล่าวได้ว่าเป็นสองแนวทางที่สามารถเลือกใช้เป็นหลักในการตัดสินใจของแต
􀂉
่ละบุคคล กล่าวคือ
๑. หลัก Optimisation เริ่มจาก Utility functions โอกาสความน่าจะเป็นของแต่ละสถานการณ์ เพื่อเลือกทาง เลือกที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป และให้ผลตอบแทนสูงสุดโดย เฉลี่ยภายใต้ความผันผวนในอนาคต
๒. ส่วนทางสายกลาง เป็นหลักการดำรงตน ที่เน้นการทำ อะไรที่ไม่เกินตน เหมาะแก่อัตภาพ พอประมาณ ซึ่งการทำอะไรที่ไม่เกินตัวแต่ก็ต้องไม่ขัดสนจนเกินไปอยู่ได้ด้วยขาของตนเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดผลกระ ทบจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจได้
อาจจะกล่าวได้ว่า (๑) และ (๒) เป็นหลักการตัดสินใจที่นำ มาสู่คำตอบที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดย Optimisation มีรากฐานและมุมมองจากโลกทางทฤษฎี และ ทางสายกลางเป็นข้อแนะนำจากประสบการณ์จริง
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๐ ๕
􀂉
􀂉
อย่างไรก็ตาม ในโลกที่เป็นจริงแล้ว การตัดสินใจของบุคคลต่างๆ คงไม่ได้คำนวณถึงข้อดี ข้อเสียของผลตอบแทนโดยละเอียด ทุกสถานการณ์ แล้วนำมาใช้เปรียบเทียบกันเพื่อเลือกทาง เลือกที่ดีที่สุดตามที่บรรยายไว้ในหลัก Optimisation ในประเด็นนี้ ศ.ดร. Herbert Simon๒๙ นักเศรษฐศาสตร์รางวัล โนเบล ปี ๒๕๒๑ อธิบายไว้ว่า อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และการจะเข้าใจอนาคตในทุกกรณีนั้น มีต้นทุนสูง บุคคลและองค์กรทั่วไปแม้จะมีเหตุผล แต่มีเหตุผลอย่างจำกัด หรือ Bounded rationality จึงใช้หลักที่เรียกว่า Satisficing กำหนด ผลกำไร/ผลการดำเนินการในระดับที่จะพอใจยอมรับได้ และ เลือกทางเลือกเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์นั้น ซึ่งนับได้ว่ามีลักษณะ ใกล้เคียงกับการใช้ทางสายกลางเป็นกรอบในการตัดสินใจ
๕.๔.๔ บทสรุปของภูมิคุ้มกันในตัว
ระบบภูมิคุ้มกันในตัวของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ นับว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยรวม กล่าวคือมีลักษณะในการบริหารความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยง การลดความเสี่ยง การสร้างกลไกที่ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยังมีข้อแตกต่างในด้านของวิธีการตัดสินใจ ซึ่งทางสายกลางเป็นทางเลือกหนึ่งที่บุคคล องค์กรสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้แทนหลัก Optimization และอาจจะ เหมาะสมกว่าภายใต้ข้อจำกัดจากอนาคตที่มีความไม่แน่นอน
๒๙ Herbert Simon. ๒๔๙๘, A Behavioral Model of Rational Choice, Quarterly Journal of Economics
๑๐๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
สำหรับประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องความพอประมาณ ความ ซื่อตรง ความไม่โลภมากนั้น คงจะต้องวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มีความ สอดคล้องคล้ายคลึงกันอย่างไร นอกจากนี้เราจะต้องคำนึงถึง ทั้งบทบาทของรัฐ บทบาทของตลาดและบทบาทขององค์กร หมู่บ้าน ในการสร้างภูมิคุ้มกันดังกล่าวให้เกิดขึ้นอีกด้วย
ตารางที่ ๕-๒: ตัวอย่างภูมิคุ้มกันในตัวในระดับต่างๆ
เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
จากความไม่ประมาท
สร้างให้เกิดกลไก
บุคคล/บริษัท/ ครอบครัว
(การผลิต/ครองชีพ)
๑) ความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่ และทรัพยากร ที่มีความหลาก
หลาย
๑)ความพอประมาณ ทำใน ขนาดที่เหมาะสม ไม่โลภ ไม่เกินตัวแต่ไม่ขัดสน
๒) ความมีเหตุมีผล
๑) การใช้ทฤษฎีใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาฝนที่ไม่ตกต้องตามฤดูกาล
๒) เกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มความหลากหลายของรายได้
๓) การป้องกันความเสี่ยงในรูปแบต่างๆ (Hedge ประกันภัย ฯลฯ)
ชุมชน/สังคม
(การอยู่ร่วมกัน)
๑) การอยู่ร่วม กันทางภูมิศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางสังคม ที่เอื้ออาทรกัน
๑) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๑) โครงการชลประทาน
๒) โครงการแก้มลิง
๓) เครือข่ายและการพึ่งพาอาศัยกัน
๔) การอนุรักษ์ป่าชุมชน
รัฐ (การบริหารเศรษฐกิจ)
๑) การมีกำลังทหารเพื่อป้องกัน อธิปไตยทางประเทศ
๑) ความพอประมาณในการ ใช้จ่ายภาครัฐและในการ ก่อหนี้สาธารณะทั้งในและต่างประเทศ
๑) Automatic Stabilizer ประเภทต่างๆ (การเก็บภาษี/โครงการประกัน สังคม/ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น)
๒) นโยบายที่ไม่พึ่งประเทศใดประเทศ หนึ่งเป็นหลัก (เช่น ส่งออกไปหลายๆ ประเทศ การสร้างพันธมิตร ในหลายๆ ด้าน)
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๐ ๗
๕.๕
􀂉
􀂉
􀂉
เงื่อนไข
เงื่อนไขที่สำคัญ ๒ ประการในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
“ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริม สร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ”
ในขณะที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั่วไป การจะได้มาซึ่งผลลัพธ์ในเชิง optimisation นั้น เงื่อนไขหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือความจำกัดในเชิงงบประมาณหรือรายได้ (budget constraint) แต่ในทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั้น เงื่อนไขจะเป็นเชิงนามธรรม เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม หรือที่เรียกว่า คือ ความรู้คู่คุณธรรม
ความรู้คู่คุณธรรม เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคมทุกสังคม โดยในแต่ละสังคมรูปแบบรายละเอียดของความรู้ และคุณธรรมอาจมีลักษณะต่างกันไป ขึ้นกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ และแม้แต่ในสังคมเดียวกันก็อาจต่างกัน แล้วแต่ศักยภาพ โอกาส และเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมของ แต่ละบุคคล เช่นภูมิหลังของครอบครัว การอบรมบ่มนิสัย การศึกษา เป็นต้น ซึ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้กำหนดให้มีเงื่อนไขทั้ง ๒ ประการเพื่อให้การตัดสินใจและการกระทำ ตลอดจนวิธีการเป็นไปอย่างพอประมาณ มีเหตุผลและภูมิคุ้มกันในตัว
๑๐๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
๕.๕.๑ เงื่อนไขความรู้ ประกอบไปด้วย ๓ องค์ประกอบข้างล่าง ซึ่งอาจกล่าวในอีกลักษณะหนึ่งได้ว่า ข้อ ก-ข คือความมีปัญญา และข้อ ค คือความมีสติ
ก) ความรอบรู้ คือรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ อย่างรอบด้าน
ข) ความรอบคอบ คือ รู้เชื่อมโยงระหว่างด้านต่างๆ
ค) ความระมัดระวัง คือ รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เพื่อพร้อมที่จะรับมือแก้ไขต่อความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
ข้อพึงสังเกตคือ มิติความหมายของเงื่อนไข “ความรู้” ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั้น อาจกล่าวได้ว่ากว้างกว่า “perfect knowledge” ในความหมายทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์ หรือ “Common knowledge” ในทฤษฎีเกม กล่าวคือ ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีความรู้มิใช่หมายถึงมีข้อมูลและความรู้รอบด้านแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีความรอบคอบในการใช้ข้อมูลนั้น ในการตัดสินใจ ประกอบ กับต้องมีความระมัดระวัง คือการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดต่างๆ ในอดีต เพื่อระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาดซ้ำๆ อีก ในอนาคต
อาจกล่าวได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะมีความใกล้เคียงกับทฤษฎี Learning process มากกว่า perfect knowledge ซึ่งความใกล้เคียงของลักษณะปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ learning process ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้นในข้อ ๕.๓ ภายใต้หัวเรื่ององค์ประกอบความมีเหตุผล
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๐ ๙
๕.๕.๒
เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย ๒ ด้าน ได้แก่
ก) ด้านจิตใจ คุณธรรม ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น
ข) ด้านการกระทำ เน้น ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนความเพียร
“ท่านจะต้องสุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชนและสุจริต ต่อหน้าที่ ...นอกจากความรู้และความสุจริตประจำตัวแล้ว ท่านควรมี หรือตั้งจุดมุ่งหมายให้แน่วแน่ในการงานที่จะกระทำนั้นแล้วใช้ ความคิดไตรตรองว่าจะทำอย่างไรบ้าง...และการใช้ความคิดดังว่า นี้จำเป็นต้องใช้สติควบคุม มิฉะนั้นก็จะเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านซึ่ง ประเทศชาติไม่พึงปรารถนา” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ๗ กรกฎาคม ๒๔๙๘)
“...ความรู้จักอดทนและอดกลั้นไม่ยอมตัวยอมใจให้วู่วาม ไปตามเหตุการณ์ ตามอคติ และอารมณ์ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น ทำให้เกิดมีการยั้งคิด และธรรมดาคนเรา เมื่อยั้งคิดได้แล้ว ย่อมมี โอกาสที่จะพิจารณาเรื่องที่ทำคำที่พูด ทบทวนดูใหม่อีกคำรบหนึ่ง การพิจารณาทบทวนเรื่องใดๆ ใหม่ย่อมจะช่วยให้มองเห็นละเอียด ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจอันสว่างไสว” (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ๑๔ กันยายน ๒๕๑๖)
“ก่อนที่แต่ละคนจะออกไปประกอบการงาน ดำเนินชีวิตต่อไป ใคร่ขอให้คิดไตรตรองให้เข้าใจโดยแจ้งชัดว่า การศึกษาสำเร็จได้นี้ ตัวท่านเองต้องพากเพียรบากบั่นอย่างหนักยิ่งมาโดยตลอด...เมื่อได้ บากบั่นสร้างความสำเร็จในการศึกษาด้วยตนเองมาได้ชั้นหนึ่งแล้ว ขอให้มุ่งมั่นสร้างความสำเร็จในชีวิตต่อไป...” (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ๒๙ มกราคม ๒๕๑๓)
๑๑๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
􀂉
􀂉
๕.๖
􀂉
เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไป มักจะกล่าวถึงแต่เรื่องของเงื่อนไขด้านงบประมาณ (budget constraint) เป็นหลัก โดยขาดเงื่อนไขทางด้านคุณธรรม (ethical constraint) แต่ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องเงื่อนไขคุณธรรมเป็น เงื่อนไขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในอันที่จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นักวิชาการระดับแนวหน้าก็กำลังหาทางสร้าง ทฤษฎีใหม่ ๆ อยู่ เช่น Amartya Sen ได้กระตุ้นให้คำนึงถึงปัจจัยด้านศีลธรรมในกระบานการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ และผลงานของเขาได้รับรางวัลโนเบลปี ๑๙๙๘ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาแนวทางการผนวกปัจจัยด้านศีลธรรม ในการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ในเชิงลึกต่อไป
นอกจากนี้แล้ว การบริหารจัดการที่ดีในภาคธุรกิจในปัจจุบัน มีความหมายครอบคลุมถึงการมีจริยธรรม ในการดำเนินธุรกิจ (Code of conduct) และการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ในรูปแบบต่างๆ อาทิ การคำนึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมของสังคม ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การคืนกำไรของบริษัท ให้แก่สังคมในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ เป็นหัวข้อที่น่าจะมีการศึกษาวิจัยที่สำคัญของภาควิชาบริหารจัดการ เพื่อ พัฒนากรอบแนวคิดและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และเงื่อนไข
ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละองค์ประกอบเพียงปัจจัยเดียว มิใช่เป็นสิ่งที่พอเพียงในตัวเอง จำเป็นต้องเชื่อม
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๑ ๑
􀂉
􀂉
๕.๖.๑
􀂉
โยงสัมพันธ์กันระหว่างความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว โดยดำเนินไปพร้อมความรู้และความดีด้วย
กล่าวคือ ความมีเหตุผลจึงถือเป็นปัจจัยนำและปัจจัยคู่ขนานใน การดำเนินการของความพอประมาณและการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณอย่างมีเหตุผลเป็นสิ่งที่ควรกระทำ แต่ความมีเหตุผลอย่างพอประมาณเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักความ เป็นจริง การสร้างระบบคุ้มกันภัยอย่างมีเหตุผลจะเป็นสิ่งที่ป้องกันความล้มเหลวทั้งจากภายในและภายนอก ในขณะที่ ความมีเหตุผลที่มีระบบป้องกันความเสี่ยง แท้จริงแล้วคือการจำกัดเหตุผลด้วยความระมัดระวังและด้วยเหตุปัจจัยที่จำกัด (Bounded Rationality) หรือถือเป็นการเดินทางสายกลางของเหตุผลที่นำไปสู่การกระทำต่างๆ
อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้กรอบแนวคิดของ เศรษฐกิจพอเพียง ต้องมีการตัดสินใจและการดำเนินการใน แต่ละขั้น บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ภายใต้เงื่อนไขของความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรมนั้น จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
ตัวอย่างความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบทั้งสาม
องค์ประกอบทั้งสาม มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างเป็นระบบ และมีได้หลายรูปแบบ แผนภาพที่ ๕-๑ แสดงให้เห็น ตัวอย่างความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งว่า ความมีเหตุมีผลเป็นพื้นฐานของอีก ๒ องค์ประกอบ คือ ความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกัน ดังนี้
๑๑๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
•
•
•
•
ความมีเหตุผลถือได้ว่าเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้ ความพอใจเป็นไปแต่โดยพอประมาณ และระดับของ ความพอประมาณจำเป็นต้องมากพอที่จะสร้าง ภูมิคุ้มกันในตัวด้วย
การมีภูมิคุ้มกันในตัว ก็เป็นปัจจัยเสริมสร้างให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีเหตุผล ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
อย่างไรก็ดี ระดับความมีเหตุมีผล สามารถปรับเปลี่ยน ไปได้ตามความรู้ และประสบการณ์ ที่เกิดจากการรับรู้ ในผลของการกระทำและการตัดสินใจของแต่ละครั้ง ของแต่ละบุคคล
ความมีเหตุมีผลที่เปลี่ยนแปลงไปและสั่งสมจากประสบการณ์ต่างๆ ในแต่ละครั้งที่มีการตัดสินใจในเชิง ความคิดและการกระทำ จะนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมที่ มีพื้นฐานบนความพอเพียงในที่สุด
แผนภาพที่ ๕-๑: ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทั้ง ๓ ด้าน
ความมีเหตุมีผล
ความพอประมาณ
ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (At time t)
การมีภูมิคุ้มกัน
กระบวนการ เรียนรู้
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๑ ๓
๕.๖.๒
􀂉
􀂉
􀂉
ตัวอย่างความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบกับเงื่อนไข
ดังได้กล่าวข้างต้นว่า ความมีเหตุผลที่ใช้ในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่ถูกตีกรอบด้วยความหมายที่มุ่งเน้นว่าปัจเจกชนจะต้องมีความถูกต้องในตัว ของเหตุและผลเสมอไป แต่การนำปัจจัยในเรื่องความรู้ และ ความดี มาประมวลรวมกันกับความมีเหตุผล หากได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและลงมือกระทำอย่างจริงจัง ก็จะนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่การดำเนินการงานและการพัฒนาสังคม
การผนวก ความมีเหตุผลเข้ากับความพอประมาณ เหมือนเป็น ตาชั่ง ถ่วงดุล ที่มิให้ เกิดการกระทำที่เกินพอดีหรือน้อยไป หรือเกิดอคติ (Biased) จนเกินขนาด โดยความ พอประมาณจะเป็นผลที่เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบ (cross-check) การกระทำ ตลอดจนความคิด ตลอดเวลา ความมีเหตุผลจึง ทำให้การตัดสินใจในการกระทำใดๆ เป็นไปในขอบเขตที่พอเพียง

การนำระบบคุ้มกันความเสี่ยง มาผนวกกับความมีเหตุผล จะช่วยลดความแปรปรวน หรือ ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ การคิดอย่างมีเหตุผลจึง ไม่ถูกตีกรอบด้วยตัวแปรที่ผันผวน ทั้งนี้ ถ้าความ พอประมาณได้ถูกยึดเหนี่ยวเป็นหลักแล้ว ความคิดที่เกิดจาก ความมีเหตุผล จึงเสมือนมีตัวกำกับและลดความผันผวนพร้อมๆ กัน ความเกินพอดีของความคิดจึงไม่มี และการเรียนรู้จากผลลัพธ์ของเหตุการณ์ จึงเป็นไปอย่างมีระบบแต่ไม่ตายตัว ซึ่งความสอดรับตามที่ได้กล่าวนี้ จึงเป็นยุทธวิธีของ การแก้ปัญหาจากระดับจิตใจ ความคิด ต่อเหตุการณ์ภายนอก
๑๑๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
ที่มีแต่ความผันผวน ซึ่งคือความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน ทั้งใน เชิงเศรษฐกิจและสังคม 􀂉
๕.๖.๓
􀂉
•
•
ความมีเหตุผลบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานในการสร้างคน สร้างสังคม และ ประเทศชาติ จะเห็นได้ว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปมิได้ รวมคุณธรรมในการสร้างแบบจำลองต่าง ๆ (Model) หรือแม้แต่การยกปัจจัยดังกล่าวเพื่อใช้ในการตีกรอบเพื่อหา คำตอบในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้อง ความมีเหตุผลในเศรษฐกิจพอเพียงจึงถือเป็นอีกแขนงความคิดที่ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์มิได้ครอบคลุมหรืออธิบายได้ยากในเชิงปริมาณ
ตัวอย่างการนำมาประยุกต์ใช้
หากเรายึดมั่นในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถนำองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการของหลักปรัชญา ดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ร่วมกันให้เกิดความเชื่อมโยงของในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อเราประสบกับเหตุการณ์วิกฤต เหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่ง และเราสามารถทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาและที่มาของการตัดสินใจที่ผิดพลาด เราก็จะนึกถึงระดับความพอประมาณ ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำในครั้งต่อไป เพื่อให้สามารถเข้าไปจัดการกับ สถานการณ์ได้อย่างระมัดระวัง
นอกจากนี้แล้ว เราจะคำนึงถึงการกระทำที่ไม่นำไปสู่การเจ็บตัวหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ร้ายๆเหล่านั้นอีก ซึ่งก็คือความมีเหตุมีผล
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๑ ๕
•
􀂉
•
ท้ายที่สุด เราก็ต้องคำนึงด้วยว่าต่อไปในภายภาคหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้ต้องหมั่นคิดต่อถึงวิธีการ ป้องกันและเตรียมพร้อมรับปัญหาเหล่านั้น โดยคำนึงว่าหากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร (ดูแผนภาพที่ ๕-๒ ประกอบ)
แผนภาพที่ ๕-๒ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
􀁀 􀁀
คิดเตรียม หากเกิดอะไรขึ้น
เหตุการณ์ หรือ วิกฤตที่เกิดขึ้น
ไม่มากไม่น้
อยไม่เกินตัว
ความมีเหตุมีผล
การสร้างภูมิคุ้มกัน
ทำอะไร อย่างไร จึงจะไม่เจ็บตัวอีก
ความพอเพียง
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มั่นคงขึ้น โดยเริ่มต้นจาก การปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกร ให้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง เน้นการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นขั้นตอนเริ่มต้น
๑๑๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
•
•
๕.๗
􀂉
•
นอกจากนี้ เกษตรกรควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการ เลือกใช้ความรู้ดั้งเดิมและวัตถุดิบตามธรรมชาติที่ หาได้ในท้องถิ่น โดยอาศัยกระบวนการใช้เหตุผล เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอันจะนำไปสู่เหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกษตรกรประสบในอดีต
ท้ายที่สุด เกษตรกรจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง โดยพัฒนาศักยภาพของตนเอง และชุมชน ลดการพึ่งพิงสิ่งต่างๆ ที่ไม่จำเป็นจากภายนอก เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น อาทิ การรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ และการนำ ผลผลิตในท้องถิ่นมาแปรรูปและจัดจำหน่าย เป็นการกระจายความเสี่ยงต่อความยากจน เพราะนอกจากจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และลดการอพยพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมใน เมืองแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระดับชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ก่อให้เกิดความสมานสามัคคีกัน ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ อันจะนำไปสู่ “ชุมชนเข้มแข็ง” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อันจะเกิด ขึ้นในอนาคต
บทสรุป
ผลการวิเคราะห์ของคณะทำงานมีข้อสรุปที่สำคัญ ๒ ประการ คือ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economy) หรือระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีความคิดหลัก คือ ทางสายกลางและมีองค์ประกอบของคำนิยามที่สำคัญ
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๑ ๗
•
􀂉
􀂉
สามประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัว และมีเงื่อนไข ๒ ประการคือความรู้และคุณธรรม เป็นกรอบชี้นำทางปฏิบัติ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเชื่อมโยงกับทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร์ที่สำคัญหลายทฤษฎี มีทั้งในแง่ที่สอดคล้อง กับบางทฤษฎี และในแง่ที่แตกต่างออกไป เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชี้ถึงสิ่งที่มีความซับซ้อนและลึกซึ้งมากกว่าที่จะอธิบายได้ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ที่มีอยู่ในขณะนี้
องค์ประกอบทั้งสามของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถ แยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ส่วนที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรในสถานการณ์ที่ปราศจากผลกระทบภายนอก ซึ่งประกอบด้วยความพอประมาณ และความมีเหตุผล และส่วนที่เป็นองค์ประกอบที่เสริมประสิทธิภาพของ การใช้ทรัพยากรให้พร้อมต่อการรองรับผลกระทบจาก ภายนอกซึ่งมีความไม่แน่นอน อันได้แก่ การมีภูมิคุ้มกันในตัว
ความพอประมาณหมายถึงความพอใจที่สิ่งที่สมควร ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยจนเกินไปจนก่อให้เกิดความขัดสน และไม่มากเกินไปจนฟุ่มเฟือยจนเกินกำลังของตน หรือก่อ ให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ซึ่งมีแนวคิดเรื่องความ พอประมาณใน ๒ แนวทางหลักคือ ความพอประมาณ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ทางสังคมที่ถูกกำหนด และ ความพอประมาณโดยเปรียบเทียบกับศักยภาพของตน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีความหมายครอบคลุมกระบวนการ
๑๑๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
􀂉
Optimisation ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ หรือใกล้เคียงกับ แนวคิดเรื่อง bounded rationality นอกจากนี้ยังแสดง ให้เห็นว่า ความพอประมาณสามารถนำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน หรือการสร้างให้เกิด ประสิทธิภาพในเชิงพลวัตร
ความมีเหตุมีผลใน
􀂉
บริบทของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นให้ คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำและวิธีการต่าง ๆ แล้วมุ่งให้เลือกกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดผลที่ถูกต้องบน พื้นฐานของความรู้และคุณธรรม โดยความถูกต้องในที่นี้ อธิบายได้ โดยผลที่พอประมาณและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ให้เกิดขึ้น ซึ่งแนวคิด Rationality หรือ Rational Expectation หรือ Common Knowledge ไม่สามารถอธิบายความมีเหตุมีผลในบริบทนี้ได้อย่างสมบูรณ์
ระบบภูมิคุ้มกันในตัวของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ นับว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยรวม กล่าวคือมีลักษณะในการบริหารความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยง การลดความเสี่ยง การสร้างกลไกที่ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อ พิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยังมีข้อแตกต่างในด้านของหลักการตัดสินใจ ซึ่งทางสายกลางเป็นทางเลือกหนึ่งที่บุคคล ตลอดจนองค์กรสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้แทนหลัก Optimization และอาจจะเหมาะสมกว่าภายใต้ข้อจำกัดจากอนาคตที่มีความไม่แน่นอน
________ บทที่ ๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่างๆ ๑ ๑ ๙
􀂉
􀂉
􀂉
􀂉
􀂉
องค์ประกอบทั้งสาม มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างเป็นระบบ โดย ความมีเหตุผลถือได้ว่าเป็นกระบวนการเสริมสร้าง ให้ความพอใจเป็นไปแต่โดยพอประมาณ ระดับของความพอประมาณจำเป็นต้องพอเพียงในเชิงการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว อีกทั้งการมีภูมิคุ้มกันในตัวก็เป็นปัจจัยเสริมสร้างให้ การดำเนินกิจกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีเหตุผล ในระยะปานกลางและระยะยาว
เงื่อนไข ๒ ประการ คือ เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไข คุณธรรมในระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวเองได้ ทั้งนี้เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วยความรู้ ๓ ด้านคือ รอบรู้ในวิชาการต่างๆ
รอบคอบในการเชื่อมโยง และระมัดระวังในการนำความรู้ไปใช้ ส่วนเงื่อนไขคุณธรรมนั้น ต้องมีคุณธรรมในมิติของจิตใจ และการกระทำที่เน้นความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน และความเพียร
สำหรับประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่อง ความซื่อตรง ความไม่โลภมากนั้น คงจะต้องวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจ พอเพียงและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันอย่างไร นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงทั้งบทบาทของรัฐ บทบาทของตลาดและบทบาทขององค์กรชุมชนต่างๆ ในการสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในสังคมด้วย
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่คณะทำงานอ้างถึงนั้น ล้วนมีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างวิชาเศรษฐศาสตร์ให้สามารถ อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ได้อย่างมีรากฐานทาง
๑๒๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ________________________________
วิทยาศาสตร์ จนทำให้นักเศรษฐศาสตร์ผู้บุกเบิกทฤษฎี ดังกล่าวเหล่านั้นได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น จึงถือได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมถึงหลักการสำคัญที่เป็นหัวใจของวิชาเศรษฐศาสตร์ 􀂉
ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนหรือข้อจำกัดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มีอยู่ในขณะนี้หลายข้อ แม้ว่าในขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถจะสร้างทฤษฎีที่อธิบายแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถชี้ถึงทิศทางของงานวิจัยที่ควรมีขึ้นเพื่อบุกเบิกสร้างเสริมองค์ความรู้ให้แก่วิชาการเศรษฐศาสตร์ต่อไป

ที่มา http://www.sufficiencyeconomy.org

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG |  แนะนำตัว