www.Nattakae.webs.com |
บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔๗
๔
_________________________________________________________________________
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
_________________________________________________________________________
๔๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔๙
บทวิเคราะห์ในบทที่ ๓ ได้แสดงให้เห็นว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมความหมายที่กว้าง โดยเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายๆด้าน ไม่จำกัดเฉพาะภาคเกษตร โดยบทนี้จะมุ่งอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดทฤษฎีใหม่ กล่าวคือเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาหรือกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ตลอดจนนำเสนอตัวอย่างความพยายามของสถาบันการศึกษาและหน่วยราชการต่างๆ ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ โดยในช่วงที่ผ่านมา
๕๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
๔.๑ เกริ่นนำ
เนื่องจาก พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทองค์ต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ดังเช่น
การปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญได้ (พระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)
คณะทำงาน จึงเห็นถึงความจำเป็นในการทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างแนวพระราชดำริ เรื่องทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของแนวพระราชดำริทั้งสองในแง่มุมต่างๆ ซึ่ง จะช่วยให้การเข้าใจความหมายของแนวพระราชดำริทั้งสองอย่างถูกต้องตรงกันมากขึ้น
๔.๒ แนวพระราชดำริเรื่อง ทฤษฎีใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นกับวิถีทางที่จะทำให้คนไทยรอดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยมีวิธีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน (Sequencing) และเน้นให้อยู่รอดได้ก่อนในขั้น ตอนแรก กล่าวคือ พอมีพอกินเป็นขั้นที่หนึ่ง ขั้นต่อไปให้มีเกียรติยืนด้วยตัวเอง ขั้นที่สามให้นึกถึงผู้อื่น (พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกระพง: ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๘) แนวพระราชดำรินี้เป็นพื้นฐานสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ได้ทดลองจัดทำเป็นตัวอย่างที่วัดมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เน้นการบริหาร จัดการที่ดินและน้ำเพื่อการพัฒนาที่มุ่งให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรกรรมได้ตลอดปี โดยไม่ต้องกังวลกับความผันแปร
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕๑
ของธรรมชาติ และสามารถช่วยตัวเองได้จนถึงพึ่งตัวเองได้ เป็นอย่างดี๕
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ คือ แนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอน ๓ ขั้น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง เรียกได้ว่าเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างพอเพียงในระดับประหยัดหรือพอมีพอกินก่อนเป็นขั้นที่หนึ่ง แล้วจึงก้าวเข้าสู่ขั้นที่สอง คือการรวมกลุ่มกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์เพื่อดำเนิน กิจกรรมต่างๆ อาทิ การผลิต การตลาด สวัสดิการ การศึกษา เป็นต้น เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยสมาชิกในชุมชนมี ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตน และท้ายสุดเมื่อกลุ่มหรือชุมชนมีความเข้มแข็งแล้ว จึงสร้างความเข้มแข็งในระดับประเทศโดยติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน แหล่งพลังงาน แหล่งตลาด เป็นต้น เพื่อสร้างเครือข่ายในการขยายขอบเขตกิจกรรมในด้านต่างๆ ให้นำไปสู่การลดต้นทุน การเพิ่มผล ประโยชน์ของกลุ่มให้มากขึ้น และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นเกษตรยั่งยืนรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือ จาก เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ ซึ่งเน้นการจัดระบบการผลิตทางการเกษตร ที่สามารถคงอัตราการผลิตระดับสูงให้ได้ในระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
๕ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. ๒๕๔๔. (ร่าง)การน้อมนำแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติในสถาบันราชภัฏ สิงหาคม หน้า ๗
๕๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
พร้อมกับคำนึงถึงดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยัง จะให้ความสำคัญกับการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้ผลิตและผู้บริโภค อันจะนำไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนและรักษาอาชีพเกษตรกรรมให้เป็นอาชีพที่มั่นคงสำหรับเกษตรกรตลอดไป๖
ในเรื่องนี้ดร. ธันวา จิตต์สงวน แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า กระบวนการพัฒนาและข้อเสนอแนะต่างๆ ของการเกษตรแบบยั่งยืน ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้ปรัชญาที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่าด้วยกระบวนการพัฒนาที่มีเหตุมีผล พอดีพอประมาณ เป็นระบบขั้นตอน ยึดทางสายกลาง ไม่รีบร้อนก้าวกระโดด และมีการสร้างภูมิคุ้มกัน ความเสี่ยงภัยอันอาจเกิดขึ้นได้ในยามวิกฤต๗
สรุปลักษณะสำคัญของทฤษฎีใหม่
แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎ
ีใหม่ มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการพัฒนาทางการ เกษตร เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนเป็นเบื้องต้นและความมั่นคง สงบสุข เป็นอิสระของประเทศเป็นเป้าหมายสุดท้าย๘
๖ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล. ๒๕๔๔. ใต้เบื้องพระยุคลบาท พฤษภาคม หน้า ๑๑๔
๗ ธันวา จิตต์สงวน รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางและนโยบายในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ใน.การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรกฎาคม ๒๕๔๕ หน้า ๑๑
๘ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. ๒๕๔๔. (ร่าง)การน้อมนำแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติในสถาบันราชภัฏ สิงหาคม หน้า ๑๑๑๒
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕๓
ขั้นตอนของทฤษฎีใหม่สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทุกด้าน ด้วยหลักการ ๓ ขั้นตอน กล่าวคือ การพึ่งตนเองได้ในระดับบุคคล แล้วจึงก้าวเข้ามาสู่การ พึ่งตนเองระดับชุมชน และ ท้ายสุดระดับสังคมประเทศ และ โลก ซึ่งท้ายที่สุด หลักการ ๓ ขั้นตอนนี้นำไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน
ทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องใช้หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติ กล่าวคือ แนวพระราชดำริหลักในการ พระราชทานทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองหรือเลี้ยงตัวเองได้อย่างพอเพียง ในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยคำนึงถึงความ พอประมาณในการผลิตและการบริโภคอย่างมีเหตุผลทำให้ไม่ต้องกังวลกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกต่างๆ บนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ และความเพียร ความอดทน
๔.๓ การเปรียบเทียบทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง
(๑) กรอบการเปรียบเทียบ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาหรือกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ กล่าวคือ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ ในแง่ที่ว่า แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่นั้น เป็น ตัวอย่างภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตร อนึ่ง ทั้งทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆ ได้ นอกเหนือจาก
๕๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
ภาคเกษตรกรรม หรือแม้แต่ในประเทศอื่นๆที่มีปัญหา คล้ายกับประเทศไทย๙
จากการสำรวจพระราชดำรัสในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจะเห็นได้ว่า แนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้มีการพัฒนามาโดยลำดับ เห็นได้จากพระราชดำรัสปี ๒๕๔๒ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงว่า มีเป็นขั้นๆ เช่นเดียวกับทฤษฎีใหม่ ดังนี้
.
เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้. จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วย กัน......... พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะ ดำเนินงานได้......ฉะนั้นโครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดี ที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน. คนไม่ เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน. เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง. แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเห
มือนกัน (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)
๙ แนวคิดนี้สอดคล้องกับข้อคิดเห็นของ ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ๒๕๔๑. ทฤษฎีใหม่มิติ ที่ยิ่งใหญ่ทางความคิด ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ.นนทบุรี ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕๕
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ ๒ แบบ คือมีทั้งเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานและแบบก้าวหน้า
เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน สามารถพึ่งตนเองได้ โดยไม่โลภมากและไม่เบียดเบียนคนอื่น ดังมีรายละเอียดตามพระราชดำรัสที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ว่า
เศรษฐกิจพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางกว่า Self-sufficiency คือ self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง)
. เป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง).
. ไม่ต้องไปยืมขา ของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน... แต่พอเพียงนี้ มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด
ว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมี ของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๕๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
ความหมายจากพระราชดำรัสข้างต้นนี้ได้สื่อให้เราเข้าใจถึงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือ การพึ่งตนเองให้ได้ โดยยึดหลักของความพอเพียง ทั้งทางความคิดและการกระทำในการดำเนินชีวิต ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเองอย่างสุจริต ไม่โลภหรือไม่ตักตวงในระดับที่เกินความต้องการ จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หากแต่เป็นการยึดมั่นในหลักการดำเนินชีวิตที่อยู่บนพื้นฐานของการรู้จักตนเองและ การพัฒนาตนเองก่อนเป็นพื้นฐาน
เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ การแลกเปลี่ยน ร่วมมือ ช่วยเหลือกันเพื่อทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชน และสังคมให้เจริญอย่างยั่งยืน ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานไว้ว่า
.
.เศรษฐกิจพอเพียงนั้น เขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชนหมายความว่า ให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่นให้สามารถที่จะมีพอกิน เริ่มด้วยพอมี พอกิน
..แต่ว่าพอมีพอกินนี้เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ
ถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของ ตนเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยนมีการไม่พอเพียง
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕๗
จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้
.ไหนไหนได้เอ่ยถึงเขื่อนป่าสักแล้ว จะขอกล่าวว่า คนเดียวทำให้สำเร็จไม่ได้ หรือแม้หน่วยราชการหนึ่งเดียว ก็ทำไม่ได้ เขื่อนป่าสักนี้
เป็นเรื่องกว้างขวางมาก จึงต้องรวบรวมกำลังมากมาย และกลายเป็นกิจการของรัฐบาลเป็นส่วนรวม จะว่าไปไม่ใช่รัฐบาลเดียว แต่ต้องเป็นรัฐบาลหลายรัฐบาล ถ้าพูดภาษาอังกฤษ ก็ต้องใส่ตัวเอส(s)หรือหลายรัฐบาลต้องทำ(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนม พรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)
หากถอดความหมายจากพระบรมราโชวาทนี้ จะสามารถ สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้านี้สามารถดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ในลักษณะที่เกื้อกูลกันอย่างสมดุล กล่าวคือ การดำรงชีวิตในความเป็นจริงนั้น สมาชิกในแต่ละสังคมไม่สามารถดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ที่เน้นหลักการพึ่ง ตนเองอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้แต่เพียงอย่างเดียว จึงต้องนำ เอาหลักการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบ ก้าวหน้า ที่มุ่งส่งเสริมหลักแห่งการแบ่งปันกันและร่วมมือกัน กับสมาชิกคนอื่นๆในสังคม ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างสันติสุขและมีไมตรีต่อกัน
(๒) การเปรียบเทียบทฤษฎีใหม่ขั้นต่างๆ และเศรษฐกิจพอเพียงแบบต่างๆ
๕๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
การพึ่งตนเองได้และพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกร ตรงกับ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ และเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน กล่าวคือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งทางกายและใจ ตนเองและครอบครัวมีความพอเพียงในการดำรงชีวิต ลดค่าใช้จ่ายที่ ไม่จำเป็น โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ทำให้ไม่เป็นหนี้เป็นสิน และไม่จำเป็นต้องเบียดเบียนผู้อื่น หาก แต่สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่นความ ต้องการในปัจจัยสี่ ของตนเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง
การพึ่งตนเองได้และพอเพียงในระดับชุมชน ตรงกับ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ และเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวมีความพอเพียง ขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้ว ก็จะทำให้ครอบครัวต่างๆ เหล่า นั้นหันมารวมกลุ่ม เพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมเกิดความพอเพียงในการดำเนินชีวิตและมีชีวิตที่สมดุลอย่างแท้จริง
การพึ่งตนเองได้และพอเพียงในระดับประเทศ ตรงกับ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ และเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า กล่าวคือ เศรษฐกิจพอเพียงในระดับนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงในระดับหนึ่งของชุมชนต่างๆ ที่ เมื่อสมาชิกในชุมชนเหล่านั้นมีความพอเพียงแล้ว ชุมชนเหล่านั้นจึงคิดสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอด
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕๙
ก.
ภูมิปัญญาและบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมกันลงมือ ทำการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกัน ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่ที่ประกอบด้วยชุมชนต่างๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง กลายเป็นประเทศแห่งความ พอเพียงได้ในที่สุด
๔.๔ การประยุกต์ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง
(๑) จากการสัมมนาของสถาบันราชภัฎในปี ๒๕๔๕ นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงในแง่มุมต่างๆ โดยในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาใช้คำว่า ทฤษฎีใหม่ในความหมายเดียวกับเศรษฐกิจ พอเพียง ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนดังเช่นในรายงานฉบับนี้ ซึ่งสรุป สาระสำคัญของการสัมมนาได้ ๙ ด้าน ดังนี้๑๐
ด้านความคิด ทฤษฎีใหม่มีลักษณะเป็นพหุนิยม ยอมรับการดำรงอยู่ของสิ่งที่แตกต่าง และเป็นทฤษฎีแบบองค์รวม เพราะมีหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และปรัชญาการดำรงชีวิต ดังเช่นที่ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้กล่าวถึง ทฤษฎีใหม่ว่า เป็นแนวพระราชดำริที่มีความยิ่งใหญ่ทางความคิด ๙ ประการ คือ๑๑
๑๐ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. ๒๕๔๔. การน้อมนำแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติในสถาบันราชภัฏ สิงหาคม
๑๑ ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ๒๕๔๑. ทฤษฎีใหม่มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิด สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน: ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ.นนทบุรี ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
๖๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
เป็นแนวคิดที่ก้าวพ้นเพดานความคิดแบบตะวันตก ซึ่งมี อิทธิพลต่อทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติทางการพัฒนา
เป็นแนวคิดที่ก้าวพ้นเพดานความคิดแบบวิภาษวิธี (Dialectical) ซึ่งถือว่ามี Thesis-antithesis-synthesis ที่เชื่อว่าสิ่งที่มีคุณลักษณะเหนือกว่า เมื่อมีความขัดแย้งกับสิ่งที่ด้อยกว่า ก็จะมีผลปรับเปลี่ยนให้ธาตุเดิมแปรผันในเชิงคุณภาพไปเป็นสิ่งที่มีคุณลักษณะใหม่ ในแง่ที่ว่า ทฤษฎีใหม่ยอมรับการดำรงอยู่ร่วมกันของธาตุหรือสิ่งที่แตกต่างกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้ง
เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติให้เห็นจริงได้
เป็นทฤษฎีที่มีความง่าย ไม่ซับซ้อน คนในทุกระดับสามารถเข้าใจได้ เข้าถึงและนำไปทำให้เห็นผลจริงทาง ปฏิบัติได้
เป็นทฤษฎีอาศัยประสบการณ์ของประเทศไทยและลักษณะทางสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและลักษณะเด่นของความเป็นไทยเป็นพื้นฐาน ในการนำมารวมกันขึ้นเป็นทฤษฎีใหม่
เป็นแนวคิดที่สมสมัยและเหมาะสมกับจังหวะเวลา ในการ เตือนให้ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศมีสติและระมัดระวังในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
เป็นแนวคิดที่แฝงไว้ซึ่งปรัชญาในการดำรงชีพและดำรงชาติ ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎีทางเศรษฐกิจอย่างเดียวแต่เป็นทฤษฎีแบบบูรณาการ
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๖๑
ข.
ค.
เป็นแนวคิดที่มีพลังในการกระตุ้นผู้ยากไร้ เพราะ ผู้ปฏิบัติสามารถมีความสุขได้ตามอัตภาพที่เหมาะสมกับสถานะของตน
เป็นแนวคิดที่ปลอดจากการเมือง ผลประโยชน์และอุดมการณ์ จึงเป็นแนวคิดที่มีความเป็นสากล
ด้านการเมือง การบริหาร และการปกครอง เป็นกลไกการพัฒนาทางการเมืองของประเทศที่เข้มแข็ง เพราะ ยึดหลักการ ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังเช่นที่ อนันต์ อนันตกูล๑๒ กล่าวถึง ทฤษฎีใหม่ตาม แนวพระราชดำริ โดยพิจารณาจากมิติด้านการเมืองว่า เป็นปรัชญาการพัฒนา และเป็นพันธกิจแห่งชาติ ที่ทุกฝ่ายสามารถนำมายึดถือปฏิบัติ เพื่อตอบสนองให้เป็นไปตาม เป้าหมายและค่านิยมแห่งชาติ ที่สำคัญคือ จะเป็นกลไกการพัฒนาทางการเมืองของประเทศที่เข้มแข็ง เพราะยึด หลักการของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน การ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาบนพื้นฐาน ภูมิรัฐศาสตร์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างพลังประชาชน และการส่งเสริมการพัฒนาทุนทางสังคม ในการบริหารโครงการ จะต้องมีหลักการบริหารจัดการที่ดี
ด้านการพัฒนาสังคม ทฤษฎีใหม่มองสังคมอย่างเป็นองค์รวม ไม่แยกการพัฒนาเป็นส่วนๆ ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวเนื่องกับ
๑๒อนันต์ อนันตกูล. ๒๕๔๑. ปรัชญาการพัฒนา : ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มิติธรรมศาสตร์และการเมือง ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ. นนทบุรี ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
๖๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
เศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนจิตสำนึกของคน ดังที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์๑๓ กล่าวว่า ทฤษฎีใหม่มีความลึกซึ้งและเป็นแก่นแห่งการพัฒนาอย่าง แท้จริง ไม่ใช่เพียงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับชุมชน เกี่ยวเนื่องกับชนบท เกี่ยว เนื่องกับการผลิต เกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจ เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม เกี่ยวเนื่องกับประเพณีท้องถิ่น เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคง เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ เกี่ยวเนื่องกับการปกครอง เกี่ยวเนื่องกับการรวมตัวของ สมาชิกในครอบครัว และที่สำคัญที่สุดคือ เกี่ยวเนื่องกับวิธี คิดและจิตสำนึกของคน ทั้งนี้เพราะปรัชญาแห่งทฤษฎีใหม่ เป็นปรัชญาที่ว่าด้วยการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ที่สุด เป็นการมอง สังคมอย่างเป็นองค์รวม ไม่แยกการพัฒนาออกเป็นส่วนๆ ง.
ด้านการวางผังภาคและเมือง สามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามหลักวิชาการวางผังภาค ผังเมือง และผังชนบท โดย ชลิตภาภร วีรผล๑๔ ได้เสนอตัวอย่างแผนพัฒนาสาขาต่างๆ รวม ๔ แผน ได้แก่ แผนพัฒนาสาขาการอนุรักษ์พื้นที่เกษตรตามทฤษฎีใหม่ (Agricultural Conservation Plan) แผน
๑๓ เปรม ติณสูลานนท์. ๒๕๔๑. ปรัชญาการพัฒนา: ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน: ทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ.นนทบุรี ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
๑๔ ชลิตภาภร วีรผลิน. ๒๕๔๑การนำทฤษฎีใหม่ไปสู่การปฏิบัติจากมุมมองของนักผังภาค และผังเมือง ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน: ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ. นนทบุรี ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๖๓
จ.
พัฒนาสาขาการจัดตั้งชุมชนชนบท ภายใต้การพัฒนา หน่วยพื้นที่รวมกิจกรรมอเนกประสงค์ แผนพัฒนาสาขาการปรับปรุงพื้นที่ถือครองทำการเกษตร และแผนพัฒนาสาขา การจัดตั้งชุมชนเกษตรกรใหม่ตามทฤษฎีใหม่ เพื่อพัฒนา การเกษตรยั่งยืน
ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ และน้ำ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน แหล่งน้ำ การผลิตธัญญาหาร และการเพาะพันธุ์พืช ดังมีวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบประชารัฐตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ตามที่ธวัชชัย สันติสุข๑๕ ได้กล่าวไว้ว่า ต้องเปลี่ยนความต้องการจากส่วนเกินของ ชีวิตมาเป็นการบริโภคเพื่อความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต ต้องวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและปรับปรุงความอุดม สมบูรณ์ของดินทั้งในระดับชุมชนและครัวเรือน เพื่อผลิตอาหารจากเกษตรกรรม และใช้เป็นที่อยู่อาศัย วางแผนเรื่องแหล่งน้ำทั้งในระดับชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อการบริโภคการเกษตร วางแผนการผลิตธัญญาหารเพื่อการ บริโภคของคนและสัตว์ให้พอเพียงเพื่อลดการนำเข้าจากภายนอก วางแผนการผลิตอาหารเพื่อบริโภคและเพื่อเป็นรายได้ โดยปลูกในรูปแบบผสมผสานวางแผนการเลี้ยงสัตว์
๑๕ธวัชชัย สันติสุข. ๒๕๔๑. การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบประชารัฐตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ. นนทบุรี ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
๖๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
อย่างบูรณาการและพึ่งตนเองเรื่องอาหารสัตว์ วางแผน การเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์พืช สัตว์ การเลี้ยงดูและ บำรุงรักษา รวมทั้งให้ผนวกความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และ การจัดการความสมดุลของธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า การจัดการพันธุ์พืช-สัตว์ ในรูปการผลิตแบบผสมผสานอย่างสมดุล ฉ.
ด้านการเกษตรและการอารักขาพืช การประยุกต์ใช้หลักการ เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถประยุกต์หรือดัดแปลงใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละสภาพพื้นที่ ไม่มีสูตรตายตัว โดยต้องมีการใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นผสมผสานกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังเช่นที่ สุธรรม อารีกุล๑๖ ให้ความเห็นว่า การเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำให้เกิดความหลากหลายในแมลงและโรคที่เกิด ซึ่งมีทั้งคุณและโทษมี วัฏจักรแห่งสมดุลธรรมชาติที่สลับซับซ้อน ดังนั้นการบริหารและการจัดการศัตรูพืช โดยพึ่งพาตนเองนั้น ต้องใช้ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นผสมผสานกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ ใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความสมดุลแห่งธรรมชาติ พร้อมทั้งอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไปได้
๑๖ วัลลภ พรหมทอง. ๒๕๔๓.และสุธรรม อารีกุล. ๒๕๔๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอารักขาพืชกับทฤษฎีใหม่ในรายงานการวิจัย การน้อมนำแนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติในสถาบันราชภัฏ สำนักงานสภา สถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๖๕
ช.
ด้านการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ เป็นการดำเนินชีวิตที่ต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดผลคุ้มค่าที่สุด ไม่ผลิตและบริโภคเกินกำลัง และมีส่วนร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังเช่นที่สุเมธ ตันติเวชกุล๑๗ ได้กล่าวถึงการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำรงสำหรับ เกษตรกรซึ่งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักทฤษฎีใหม่ โดยให้เกษตรกร ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต ประหยัด ยกเลิกที่จะแก่งแย่งชิงดีกันในการดำเนินชีวิต และให้รู้จักขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้ให้เพิ่มพูนในระดับที่สามารถพึ่งพาตนเองต่อไปได้ ขณะที่บุญเสริม บุญเจริญผล(มปป.)๑๘เสนอแนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่าเป็นการดำเนินชีวิตที่ให้ เน้นพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และต้องไปบริโภคจนเกินกำลัง ตลอดจนส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ โดยไม่เหลียวแลกัน
๑๗ สุเมธ ตันติเวชกุล ๒๕๔๔ ใต้เบื้องพระยุคลบาท พฤษภาคม
๑๘ บุญเสริม บุญเจริญผล ๒๕๔๑ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง: ด้านการดำเนินชีวิต ในรายงานการวิจัย การน้อมนำแนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฎิบัติในสถาบันราชภัฏ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ
๖๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
ซ.
ฌ.
ด้านจริยธรรม มนูญ มุกประดิษฐ์๑๙ มีความเห็นว่า ปรัชญาหลักของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรินั้น มุ่งเน้น มรรควิธีของการดำเนินสายกลางตามแนวพระพุทธศาสนาผสมกลมกลืนด้วยมิติทางด้านจริยธรรมของการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่ง สงเคราะห์เกื้อกูลพึ่งพากัน ปรัชญาหลักของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ผนวกแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา เข้ามาประสานกลมกลืนกับ วิถีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างลุ่มลึกและชาญฉลาด เช่นหลักของมัชฌิมาปฏิปทา การรู้จักพอในการบริโภคและใช้ชีวิต ละและเลิกวัฒนธรรมการบริโภคที่ไร้สาระและบ้าคลั่ง การมัธยัสถ์อดออมการสร้างความมั่นคงในชุมชนพร้อมๆ กับความมั่นคงของจิตใจ โดยไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มี การเกื้อกูลกันรู้จักให้และสงเคราะห์กัน
ด้านการเรียนรู้และการศึกษา มีลักษณะการเรียนรู้ แบบบูรณาการ เป็นองค์รวม มีการพัฒนาชีวิตอย่างประหยัด เรียบง่าย สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ ทักษะวิธีการทำงานที่เน้นความเพียร โดยมีเป้าหมายสู่ความพอเพียงพื้นฐานของมนุษย์ ดังเช่นที่สุมน อมรวิวัฒน์๒๐ได
้เสนอความคิด
๑๙ มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ๒๕๔๑ การประยุกต์ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง : ด้าน จริยธรรม ในรายงานการวิจัย การน้อมนำแนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติในสถาบันราชภัฏ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ.
๒๐ สุมน อมรวิวัฒน์ ๒๕๔๑ทฤษฎีใหม่ : คือการเรียนรู้เพื่ออิสรภาพของชีวิต ใน เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระ ราชดำริ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ. นนทบุรี
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๖๗
เห็นไว้ว่า ทฤษฎีใหม่คือ การเรียนรู้เพื่ออิสรภาพของชีวิต โดยมีมุมมองว่าทฤษฎีใหม่ คือหลักการพัฒนาชีวิตที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคุณธรรมประจำใจ โดยผู้ศึกษา ต้องเน้นปฏิบัติจริงและใช้สติปัญญาให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้ ว่าการศึกษาคือ วิถีชีวิต วิถีคุณธรรมและวิถีของปัญญาธรรม ซึ่งสามารถสรุปเป็นสูตรที่ได้จากทฤษฎีใหม่ที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้และการศึกษาได้ว่าคือ การพูดน้อย ทำมาก พากเพียร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดถูกต้องด้วยปัญญา
(๒) อย่างไรก็ดี คณะทำงานเห็นว่าหัวข้อข้างต้นยังไม่สามารถครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงได้ทั้งหมด จึงได้ริเริ่มโครงการจัดทำฐานข้อสนเทศ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานของความเข้าใจในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างแนวพระราชดำริ เรื่องทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลงานที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มแนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง ในแง่มุมต่างๆ ได้เป็น ๖ ด้าน ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในระดับต่างๆ การบริหารเศรษฐกิจรายสาขา ด้านการเมืองการบริหารและการปกครอง ด้านการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ด้าน วิถีชีวิตและวัฒนธรรม๒๑
๒๑ รายละเอียดปรากฏตามข้อมูลในฐานข้อสนเทศที่บรรจุในแผ่นซีดี-รอม ซึ่งเป็นอีก ผลงานหนึ่งจัดทำโดยคณะทำงานฯ
๖๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
๔.๕ ตัวอย่างผลงานของสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่นำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจไปประยุกต์ใช้ในแต่ละด้าน
(๑) กรอบแนวคิดทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีตัวอย่าง ผลงานที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในด้านนี้ อาทิ ปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็น หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น
(๒) การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในระดับต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ ระดับองค์กร ระดับชุมชนเมือง/ชุมชนชนบท เป็นต้น โดยมี ตัวอย่างผลงานที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในด้านนี้ อาทิ การประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต) การประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่ตามแนวทางพระราชดำริ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน การพัฒนาชนบทไทย (มหาวิทยาลัยรามคำแหง) เป็นต้น
(๓) การบริหารเศรษฐกิจรายสาขา อาทิ สาขาเกษตรกรรมและสาขาอุตสาหกรรม โดยมีตัวอย่างผลงานที่นำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในด้านนี้ ได้แก่ โครงการ เกษตรธรรมชาติ บ้านดอนเปา ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ. เชียงใหม่ (สถาบันวิจัยและพัฒนา) การศึกษาความ พึงพอใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี หนองคายและหนองบัวลำภู (สถาบันราชภัฎอุดรธานี)เป็นต้น
__________________ บทที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๖๙
(๔) ด้านการเมืองการบริหารและการปกครอง ข้อมูลที่ได้จาก การรวบรวมผลงานจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในขณะนี้ พบว่ายังไม่มีผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ใดๆ เกี่ยวกับการ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในแง่มุม ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเมือง ยกเว้นบทความของ อนันต์ อนันตกูล ซึ่งได้กล่าวถึงข้างต้น
(๕) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีตัวอย่างผลงานที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ในด้านนี้ อาทิ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนกับป่าชุมชนโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จ. มหาสารคาม (สถาบันราชภัฏมหาสารคาม) การวิจัยและพัฒนาระบบ การเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาและ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : มิติใหม่ของการเกษตรเพื่อสุขภาพและความอยู่รอด (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่) Sufficiency Economy : The resources management for peaceful and sustainable development (มหาวิทยาลัยสยาม) เป็นต้น
(๖) ด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม อาทิ ด้านจริยธรรมการดำเนินชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี และด้านภูมิปัญญา ฯลฯ ตัวอย่างผลงานที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในด้านนี้ ได้แก่ ความพอเพียงกับการอยู่รอดของ สังคมชนบทไทย : กรณีหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) ฯลฯ
๗๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง __________________________
ที่มา http://www.sufficiencyeconomy.org