www.Nattakae.webs.com |
บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓๑
๓
_________________________________________________________________________
ความหมายเชิงทฤษฎี
ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
_________________________________________________________________________
๓๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓๓
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
๓๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง๑
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับ รัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวม ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการ มีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการ ต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนิน การทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของ คนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุก ระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
๑ ประมวลและกลั่นกรองโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓๕
๓.๑
วิธีการทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คณะทำงานได้วิเคราะห์ความหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่คณะผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดทำ และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ มาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา
การวิเคราะห์ความหมายได้ใช้วิธีการจำแนกวิเคราะห์ (Parsing) ซึ่งเป็นหลักวิธีทางตรรกศาสตร์โดยทำความเข้าใจความเชื่อมโยงของแต่ละข้อความ และประโยคที่อธิบาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น ๕ ส่วนด้วยกัน๒
จากการวิเคราะห์ดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบด้านต่างๆอย่างสมบูรณ์ ที่จะสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้ (Foundation for Economic Theory Framework) กล่าวคือ ประกอบด้วย
(๑) กรอบแนวคิด
(๒) คุณลักษณะ
(๓) คำนิยาม
(๔) เงื่อนไข
(๕) แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๒ ดูภาคผนวก ก ซึ่งแสดงวิธีการ และ ผลสรุปเบื้องต้นจากการจำแนกวิเคราะห์(Parsing) ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน ส่วนภาคผนวก ข ประมวลพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความหมายของ ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
๓๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
๓.๒
กรอบแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกร ชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข
เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ความหมาย
(๑) เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน (Economic life guiding principles) ในทางที่ควรจะเป็น (i.e. secularized normative prescription) โดยมีพื้นฐาน มาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย (positive aspect) และตลอดระยะเวลากว่า ๒๕ ปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการทดลองดำเนินโครงการพัฒนาที่หลากหลาย ตามแนวพระราชดำริ เพื่อหาแนวทางและรูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วยังเกิดชุมชน หลายแห่งที่มีแนวทางการดำรงชีวิตและการพัฒนาที่สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาได้ ทั้งหมดนี้บ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติและตัวอย่างการนำไปประยุกต์ ใช้ที่เกิดขึ้นจริง (existence of empirical evidence)
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓๗
(๒) เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (timely / timeless) กล่าวคือ ได้มีพระราชดำรัสมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ และสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อก้าวพ้นจากวิกฤต และการพัฒนาในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน
(๓) เป็นปรัชญาที่มองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร(dynamic) กล่าวคือ มองว่าสถานการณ์ในโลกนั้นมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา (uncertainties) เนื่องจากความเชื่อมโยง (connectivity) ของปัจจัยต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
(๔) เป็นปรัชญาที่มุ่งผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตในแต่ละช่วงเวลาเพื่อ ความมั่นคง (security) และความยั่งยืนของการพัฒนา(sustainability) ในมิติต่างๆ อาทิ มิติทางธรรมชาติ ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ
(๕) อาจกล่าวได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็น Paradigm Shift ลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้น จากการพิจารณาและวิเคราะห์สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนนโยบาย แนวทาง และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ตลอดจนผลที่เกิดขึ้น ตลอดช่วงระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายรวมถึง การที่ชุมชนและประเทศต่างๆมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี วัฒนธรรมและค่านิยมทางสังคม
๓๘ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
๓.๓
คุณลักษณะ (Characteristics)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตน
ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อ โลกยุคโลกาภิวัตน์
ความหมาย
(๑) เป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น (normative prescription) โดยมีพื้นฐานมาจาก วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย (positive aspect) ซึ่งได้อธิบาย โดยละเอียดแล้วในข้อ ๓.๒-(๑)
(๒) เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ (scalable) ทั้งระดับครอบครัว ระดับ ชุมชน และระดับรัฐ อนึ่ง ระดับปัจเจกบุคคลนั้นอาจนับเป็นหน่วยครอบครัวเดี่ยว (single household) นอกจากนี้ ยังได้ เน้นว่า สามารถใช้ได้กับคนทุกระดับ อาทิ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจ เป็นต้น
(๓) แนวคิด ทางสายกลาง (Middle Path) เป็นหัวใจสำคัญ (Keyword) ของปรัชญาที่นำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกแห่งความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ กล่าวคือ
ไม่ใช่การปิดประเทศอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ใช่การเปิดเสรีอย่างเต็มที่ โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมของคนและสังคม ในการเข้าสู่กลไกตลาด
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓๙
๓.๔
ไม่ใช่การอยู่อย่างโดดเดี่ยว (Independence) หรือ พึ่งพิงภายนอกหรือคนอื่นทั้งหมด (Dependence) แต่เน้นความคิดและการกระทำที่จะพึ่งตัวเองเป็นหลัก (self-reliance) ก่อนที่จะไปพึ่งคนอื่น
ทางสายกลาง ในที่นี้ หมายถึง วิธีการ (Means) หรือ การกระทำที่พอประมาณ บนพื้นฐานของความมีเหตุผล และ สร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งในที่สุดแล้วจะนำไปสู่การพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นทั้งแนวทางการ แก้ไขปัญหาเพื่อให้รอดพ้นวิกฤต และทำให้สังคมและประเทศสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง (security) และยั่งยืน (sustainable) ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
คำนิยาม (Working definition)
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึง ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการ มีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ ภายใน
ความหมาย
ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆกัน ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี กล่าวคือ กิจกรรมใดๆที่ขาดคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งไปก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นความพอเพียง
๔๐ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
คุณลักษณะทั้ง ๓ ประกอบด้วย
(๑) ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง ความพอดี (dynamic optimum) ที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ในมิติต่างๆของการกระทำ๓
ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณ เพื่อนำไปสู่ความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง๔
(๒) ความมีเหตุผล (Reasonableness) หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอประมาณ ในมิติต่างๆ นั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุ ปัจจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ (expected results) อย่างรอบคอบ
(๓) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร (Self-immunity) เพื่อเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เนื่องจาก เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่มองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตรดังได้ กล่าวแล้วข้างต้น การกระทำที่จะสามารถเรียกได้ว่า พอเพียง (systematic and dynamic optimum) นั้น จึงมิใช่ แต่จะคำนึงถึงเหตุการณ์และผลในปัจจุบันเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
๓ ความพอประมาณ อาจพิจารณาจากความพอดีใน ๗ มิติ คือ พอดีกับเหตุ พอดีกับผล พอดีกับตน พอดีในเชิงปริมาณ พอดีกับกาล พอดีกับชุมชนและพอดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือ สัปปุริสธรรม ๗
๔ ความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงเป็นผลที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นจากการกระทำที่พอเพียง ดู ๓.๖
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔๑
๓.๕
(๑)
(scenario) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ภายใต้ข้อจำกัดของความรู้ที่มีอยู่ (bounded rationality) และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้พอเพียงที่จะสามารถพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระดับของความพอประมาณต้องครอบคลุมมิติการจัดการความเสี่ยง (risk management) เชิงพลวัตร (dynamic) จึงจะนับได้ว่าเป็นระดับพอเพียงที่สมบูรณ์
เงื่อนไข (Conditions of Sufficiency Actions)
ทั้งนี้ ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการ ดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ
ของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริตและ ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร
มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ
ความหมาย
เงื่อนไขกรอบความรู้ (Set of knowledge) ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัย
ก) ความรอบรู้ คือ มีความรู้ (Stock of all relevant knowl-edge) เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน โดยครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้ในโอกาสและเวลาต่างๆ
๔๒ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
ข) ความรอบคอบ คือ ความสามารถที่จะนำความรู้และหลักวิชาต่างๆ เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน (Connectivity of all acquired knowledge) ประกอบการวางแผน ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติทุกขั้นตอน
ค) ความระมัดระวัง คือ ความมีสติ ในการนำแผนปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนหลักวิชาต่างๆเหล่านั้นไปใช้ในทางปฏิบัติ (Utilization of knowledge at any point of time with carefulness and attentiveness) เพราะในความ เป็นจริงแล้ว สถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการนำความรู้และความรอบคอบมาใช้ จึงต้องอาศัยความระมัดระวังให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย (๒)
เงื่อนไขคุณธรรม (Ethical Qualifications) ที่จะต้อง เสริมสร้างใน ๒ ด้าน ได้แก่
ก) ด้านจิตใจ /ปัญญา โดยเน้นความรู้คู่คุณธรรม กล่าวคือ ตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และ มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ข) ด้านการกระทำ หรือแนวทางการดำเนินชีวิต โดยเน้น ความอดทน ความเพียร สติ ปัญญา และความรอบคอบ
ทั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายที่เน้นเป็นพิเศษในการเสริมสร้างเงื่อนไข ๒ ด้านข้างต้น คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ เนื่องจากการกระทำใดๆของคนกลุ่มนี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบในสังคมวงกว้างได้
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔๓
๓.๖
แนวทางปฏิบัติ และผลที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมาย
(๑) การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ จะทำให้เกิดทั้ง วิถีการพัฒนา (Development path) และผลของการพัฒนา (Development goal) ที่สมดุล (Balance) และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง (internal consistency between means and ends) กล่าวคือ
ความพอเพียง เป็นทั้งวิธีการ (Means) ที่คำนึงถึงความสมดุล-พอประมาณอย่างมีเหตูผล-และการสร้าง ภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม
ในขณะเดียวกัน ก็นำไปสู่ผลของการกระทำ (Ends) ที่ก่อ ให้เกิดความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
(๒) ความสมดุล และความพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง หมายถึง
ความสมดุล (Balance) ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้/เทคโนโลยี ในขณะ เดียวกันความสมดุลของการกระทำทั้งเหตุและผลที่เกิดขึ้นในมิติของเวลาก็จะนำไปสู่ ความยั่งยืนของการพัฒนา หรือความดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง (sustainability) ของ ทุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางสิ่งแวดล้อม และ ทุนทางภูมิปัญญาและ
๔๔ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
๓.๗
วัฒนธรรม ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
ความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง (Flexible and adaptable) ต่อผล กระทบจากด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก
ข้อสรุป
คณะทำงานได้ใช้วิธีการจำแนกวิเคราะห์ความหมาย (Parsing) เพื่อทำความเข้าใจ ความเชื่อมโยงของแต่ละข้อความและประโยค ที่อธิบาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถจำแนกข้อความออกได้เป็น ๕ ส่วน คือ กรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวทางปฏิบัติ และผลที่คาดว่าจะได้รับ การจำแนกวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้สรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบด้านต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจาก วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา มองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ
_______________________________________บทที่ ๓ ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔๕
การปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยมีแนวคิด ทางสายกลาง เป็นหัวใจสำคัญของกรอบแนวคิด
คำนิยาม ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
เงื่อนไข การตัดสินใจในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งเงื่อนไขความรู้ และ เงื่อนไขคุณธรรม กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในการนำแผนไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย ด้านจิตใจที่ตระหนักในคุณธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต และ: มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาและ ในระดับปฏิบัติรอบคอบในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้/เทคโนโลยี
๔๖ กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง _____________________
ที่มา http://www.sufficiencyeconomy.org