www.Nattakae.webs.com |
บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๑๑
๒
_________________________________________________________________
วรรณกรรมปริทัศน์ :ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
_________________________________________________________________
๑๒กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
นับตั้งแต่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้อัญเชิญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นกรอบนำทางในการจัดทำแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๙ นั้น หน่วยงานต่างๆ ผู้ทรง คุณวุฒิ และนักวิชาการ ได้มีการศึกษาค้นคว้า นำไปประยุกต์ใช้และ มีข้อคิดเห็นต่างๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ประมวลวรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำเป็นหนังสือเรียบร้อยแล้ว โดยในบทนี้ จะนำเสนอเฉพาะวรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เท่านั้น
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๑๓
๒.๑ เกริ่นนำ
คณะทำงานได้รวบรวมและสังเคราะห์วรรณกรรมปริทัศน์เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ ซึ่งมีข้อคิดเห็น และข้อสังเกตต่อปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้
การประมวลวรรณกรรมเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในที่นี้ได้จัดกลุ่มออกเป็น ๒ ประเภท คือ วรรณกรรมที่ เกี่ยวกับหลักแนวคิดและหลักการ และวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ
๒.๒ วรรณกรรมปริทัศน์เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการ
๑) อภิชัย พันธเสน, เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงกับการวิเคราะห์ความหมายของนักเศรษฐศาสตร์ (๒๕๔๒)
เศรษฐกิจพอเพียงในนานาทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์
ผู้เขียนได้สรุปแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ เกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้แยกแนวคิดออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) กลุ่มที่อธิบายว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นความคิดที่เหนือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ (๒) กลุ่มที่มีความคิดตรงกลาง และ (๓) กลุ่มที่อธิบายว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับ เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก
๑๔กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะของผู้สังเคราะห์
เศรษฐกิจพอเพียงโดยเนื้อแท้ก็คือ พุทธเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยผู้เขียนได้กล่าวถึงทางสายกลางว่าเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่ การสร้างสมสติปัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตที่สำคัญที่สุด โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเข้าสู่นิพพานในท้ายสุด นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาบางประการเกี่ยวกับแนวคิด ทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ แนวคิดในเรื่อง Utility ในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นเพียงการใช้ดัชนีแทนค่าความพอใจของผู้บริโภคเท่านั้น ในขณะที่บทบาทของพุทธศาสนาเป็นการเสริมความพอใจและ Utility ของแต่ละบุคคลด้วยมิติทางด้านคุณธรรม
สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับความมีเหตุผล เป็นแนวคิดที่ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากนำมาใช้ในการอธิบายประกอบ การวิเคราะห์เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่าการวิเคราะห์ความหมายเรื่อง Rationality กว้างเกินกว่า คำจำกัดความของ Rationality ที่ใช้กันอย่างทั่วไป กล่าวคือ ข้อสมมติฐานทางเศรษฐศาสตร์ ที่กล่าวว่ามนุษย์มี เหตุผล มีความหมายอย่างแคบว่ามนุษย์ย่อมทำทุกอย่าง เพื่อมุ่งประโยชน์ของตัวเอง ไม่น่าที่จะตรงกับความหมายของ Rationality อย่างแท้จริง
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๑๕
๒) ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์, เศรษฐกิจพอเพียงกับวิกฤตเศรษฐกิจ (ร่างเบื้องต้น, ๒๕๔๒)
ผู้เขียนเห็นว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่สอดคล้องกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก และ ได้อธิบายองค์ประกอบของความพอเพียง อันได้แก่ ความพอประมาณ โดยการใช้แนวคิด Utility function ในการวิเคราะห์ ความมีเหตุผล ด้วยแนวคิดของ Rational behavior
ผู้เขียนได้อธิบายความหมายของความพอเพียงจากแนวคิดของ Marginal utility ซึ่งอาจมีลักษณะพอเพียง เนื่องจากมีค่าลดลงเมื่อระดับการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงลักษณะความพอใจของมนุษย์โดยทั่วไปของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มีข้อสันนิษฐานว่า จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่จำกัด (Non-satiation) ซึ่งเป็นลักษณะของความไม่พอเพียง
การอธิบายความมีเหตุผลด้วยแนวคิด Rational behaviour เป็นเพียงการเสริมองค์ประกอบที่ใช้ในการตัดสินใจของบุคคลในเรื่องความรู้ ความเข้าใจ และความรอบคอบ แต่ยังไม่ได้พิจารณาถึงมิติทางคุณธรรมในการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
ตัวบทความยังขาดการวิเคราะห์องค์ประกอบอีกประการหนึ่งของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันได้แก่ การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว เพื่อพร้อมรับต่อผลกระทบจากภายนอก
๑๖กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
๓) สมชัย จิตสุชน พฤติกรรมที่ไม่พอเพียงกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI
ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนใช้คุณสมบัติ ๔ ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความซื่อสัตย์ และความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อธิบายคุณลักษณะ หลักๆ ของเศรษฐกิจพอเพียง แล้ววิเคราะห์ความหมายทางเศรษฐศาสตร์ ของเศรษฐกิจที่ไม่พอเพียงโดยพิจารณาในแง่ของคุณสมบัติทั้งสี่ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม บทความนี้เปรียบเสมือนAnecdotal examples ของความไม่พอเพียง จึงไม่สามารถใช้เป็น Definitive paradigm demonstration ของความพอเพียงได้
ความพอประมาณ : แม้ผู้เขียนได้สรุปว่าลักษณะ envious คือลักษณะของความไม่พอประมาณ โดยพิจารณาจาก พฤติกรรมเลียนแบบการบริโภค แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ลักษณะ altruistic จะเป็นเสมือน หรือนำไปสู่ความ พอประมาณได้อย่างไร
นอกจากนี้แล้ว พฤติกรรมแบบจมไม่ลง เป็นเพียง Habit formation ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ในขณะที่เศรษฐกิจที่ซบเซา มานานอาจทำให้ผู้บริโภคมี พฤติกรรมแบบโงหัวไม่ขึ้น ซึ่งเป็น Habit formation เช่นเดียวกันกับความขาดแคลนในช่วงสงครามหรือจากประสบการณ์ภัยธรรมชาติสามารถสร้างนิสัย รู้จักประมาณในการบริโภค หรือ รู้จักเก็บออมไว้ใช้ ในยามขัดสน ได้เช่นกัน
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๑๗
กล่าวโดยสรุป ทั้ง Emulation of consumption และ Habit formation จะเป็นลักษณะของความไม่พอประมาณได้ ก็ต่อ เมื่อเป็นกระบวนการที่มี Asymmetry กล่าวคือจะเลียนแบบแต่ผู้มั่งมีกว่าตน และจะคุ้นเคยกับระดับการบริโภคเมื่อครั้งที่ ตนเองมั่งคั่งเท่านั้น แต่จะไม่เลียนแบบผู้มีฐานะเท่าเทียมกันหรือด้อยกว่า และจะไม่คุ้นเคยกับระดับความสามารถในการบริโภคในอดีตหากเป็นระดับที่ต่ำกว่าในปัจจุบัน
ความมีเหตุผล : ผู้เขียนเห็นว่าพฤติกรรมแบบ Herdingและ Speculation ตลอดจน Risk-loving นั้น ไร้เหตุผล แต่ในความจริงแล้ว ภายใต้ความไม่สมบูรณ์ของเงื่อนไขสนับสนุน Perfect Market Hypothesis อาจทำให้ทั้ง พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผลในความหมายของ Rational behaviour ก็เป็นได้ นอกจากนี้ การตีความว่าพฤติกรรมแบบ Risk-loving เป็นสิ่งไร้เหตุผลก็ไม่ถูกต้องตามหลักการ เพราะการมี Risk-loving utility profile เป็นเรื่องของความพอใจ ไม่ใช่เรื่องของการดำเนินการอย่างมี เหตุผลภายใต้โครงสร้างของความพอใจ และ การลงทุนใน ล๊อตเตอรี่ ก็เป็น Rational behaviour สำหรับ Risk-loving utility
ความซื่อสัตย์ ผู้เขียนได้อธิบายความเสียหายจากความ ไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่า ในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจความเสียหายดังกล่าว มักจะถูกมองว่า เป็นความสูญเสียภายในต่อผู้ถือหุ้น แต่ภายหลังจากที่รัฐบาลต้องเข้ามาประคับประคอง สถานการณ์ภาคเอกชน ทำให้ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ดังกล่าว
๑๘กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
กลายเป็นปัญหาของส่วนรวม แต่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงผลเสียจากความไม่ซื่อสัตย์สุจริตในเชิงเศรษฐศาสตร์ อาทิ การก่อให้ เกิด Economic rent ที่ส่งผลต่อ Economic incentive for innovation จากกระบวนการอันมิชอบต่างๆ
ความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวัง : ผู้เขียนได้ มุ่งเน้นที่นโยบายของภาครัฐ ในการยกตัวอย่างของการขาดความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง อาทิ การเปิดเสรีทางการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และการที่รัฐไม่กระตือรือร้นในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อช่วยในการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น อย่างไรก็ดี การแสวงหาเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยในการบริหารความเสี่ยง เป็นการ สร้างภูมิคุ้มกันโดยอาศัยปัจจัยภายนอก
มากกว่าที่จะเป็น การสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยอาศัยการออมภายในประเทศเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนา
๔) สุเมธ ตันติเวชกุล เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ บรรยายพิเศษ วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๒
ผู้บรรยายเห็นว่าการดำเนินชีวิต และการพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลา ๔๐ ปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปที่ความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ จนนำไปสู่การพัฒนาที่ขาดสติ และขาดความยั้งคิด ละเลยพื้นฐานสติปัญญาและวิถีการดำเนินชีวิตของไทย
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริซึ่งเน้นหลัก ความพอดี พอประมาณ สามารถใช้เป็นเครื่องควบคุมความไร้สติและ
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๑๙
ขาดการยั้งคิดของคน อันเนื่องมาจากการมุ่งขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
๑)
ข้อคิดเห็นของผู้บรรยายสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในทุกระดับ และทุกด้านของสังคม ทั้งนี้ ควรมีการนำเนื้อแท้ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง บนพื้นฐานของ สติปัญญา และวิถีการดำเนินชีวิตของไทย
๒.๓ วรรณกรรมปริทัศน์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ข้อคิดเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของประเทศ (เอกสารภายใน, ๒๕๓๐)
ผู้เขียนได้หยิบยกตัวอย่างจากประสบการณ์ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ช่วงปี ๒๕๒๒๒๕๒๙ สรุปว่า การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม มีหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ (๑) ความพอดี (๒) ความคล่องตัว และ (๓) ความระมัดระวัง โดยมุ่งรักษาเสถียรภาพ และสนับสนุน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการกระจายรายได้ ขณะเดียวกันต้องป้องกันปัญหาก่อนที่จะรุนแรงขึ้น โดยคำนึง ถึงผลกระทบที่จะตามมา และต้องประสานเป้าหมายทาง เศรษฐกิจด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกัน
๒๐กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
๒)
ข้อคิดเห็นของผู้เขียนสะท้อนถึง หลักการข้างต้นในการประสานเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เพื่อบริหารนโยบายเศรษฐกิจของประเทศในระดับมหภาค เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเรื่องทางสายกลาง และเป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าปรัชญาการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาใช้ได้กับการบริหารประเทศเช่นเดียว กับในระดับบุคคล
วิโรจน์ ณ ระนอง ความเสี่ยงและภูมิคุ้มกันในภาค เกษตรกรรมของไทย เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนนำเสนอว่า ความเสี่ยงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกร ทั้งความเสี่ยงด้านราคาสินค้า ความเสี่ยงด้านการพึ่งพาและราคาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศความเสี่ยงด้านธรรมชาติ ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต ซึ่งเกษตรกรเองก็มีการบริหาร ความเสี่ยงบางส่วนแล้ว เช่น การกระจายความเสี่ยงในกิจกรรมด้านการเกษตรโดยใช้เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และการกระจายความเสี่ยงออกไปสู่กิจกรรมนอกการเกษตร โดยทำหัตถกรรม อุตสาหกรรมย่อยในครัวเรือน รับจ้างนอกภาคเกษตร ส่วนภาครัฐเองก็มีส่วนช่วยแบ่งรับภาระความเสี่ยงของเกษตรกรโดยนโยบายประกันราคาพืชผล เป็นต้น
ผู้เขียนให้ความเห็นว่าปัญหารายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไม่ได้เกิดจากความเสี่ยงแต่อย่างเดียว ความเสี่ยงเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมเกษตรกรที่ยากจน และมีทุนน้อย ให้ฟื้นตัวลำบากเมื่อเผชิญกับผลกระทบที่รุนแรง
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๒๑
๓)
ผู้เขียนเห็นว่า ทฤษฎีใหม่ มองการณ์ไกลไปกว่าประเด็นเรื่องความเสี่ยง โดยในขั้นที่สองและขั้นที่สามของทฤษฎีใหม่ เป็นเรื่องของการรวมตัวของเกษตรกรในรูปของกลุ่มและสหกรณ์ ร่วมมือกันในด้านการผลิตและการตลาด สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา โดยร่วมมือกับหน่วยราชการ มูลนิธิ ธนาคารและบริษัทเอกชน เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด
นอกจากนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งหมายถึง การเตรียมจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น การใช้ทฤษฎีใหม่ในภาคเกษตร จะช่วยให้ลดความเสี่ยง และสามารถอยู่อย่างพอเพียงได้ คือ มีใช้บริโภคภายในครัวเรือนและนำผลผลิตส่วนเกินไปหารายได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือมีทั้งความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อลดต้นทุนการครองชีพและการผลิตของเกษตรกร
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ทฤษฎีใหม่ : มุมมองทาง เศรษฐศาสตร์ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนนำเสนอหลักการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสนับสนุน แนวความคิดว่า การทำการเกษตรตามกระบวนการของระบบการค้าเสรีในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยมีความเสียเปรียบและมีปัญหา เพราะกระบวนการค้าเสรีไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้เกษตรกรเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ เกษตรกรเหล่านี้ไม่สามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีเท่าที่ควร และ
๒๒กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
มีต้นทุนในการทำธุรกรรมสูง หรือเผชิญกับโครงสร้างตลาดสินค้าเกษตรที่ไม่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีส่วนทำให้ราคาผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
นอกจากนี้แล้ว แนวทางการพัฒนาและมาตรการของรัฐบาลที่ผ่านมา ยังมีส่วนทำให้ภาคเกษตรกรรมโดยรวม ตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบมาโดยตลอด และไม่สามารถพัฒนาได้อย่างจริงจัง นโยบายการพัฒนาได้ให้ประโยชน์กับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและบริการมากกว่าภาคเกษตร ประโยชน์บางส่วนที่ควรตกอยู่กับภาคการเกษตรก็ถูกถ่ายโอนมายังผู้บริโภคในตัวเมือง
ผู้เขียนมีความคิดว่า ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ทฤษฎีใหม่ จะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะกับเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้สามารถม
๔)
ีโอกาสดำรง ชีวิตแบบพอมีพอกินได้ แนวทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางที่ไม่ขัดกับกระบวนการค้าเสรี แต่จะเสริมให้กระบวนการพัฒนาของประเทศมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และการนำทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติในพื้นที่ๆ เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาหลายด้าน ลงไปได้ แม้จะไม่สามารถแก้ปัญหาของภาคเกษตรหรือความยากจนในชนบทได้ทั้งหมดก็ตาม
ชนิกา เจริญวงษ์ บทความสำรวจความคิดความเข้าใจ การปฏิบัติตามแนวทฤษฎีใหม่ เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนเห็นว่า เกษตรทฤษฎีใหม่ มีความสำคัญและมีบทบาทต่อภาคเกษตร และจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของประเทศ
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๒๓
๕)
แบบยั่งยืน เนื่องจากทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรสามารถ พึ่งตนเองได้ในระดับสูง ทั้งด้านส่วนตัวและสังคม คือทั้งสร้างผลผลิต รายได้ ครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนสามัคคี พื้นดินกลับอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี มีองค์ประกอบหลายประการที่จะทำให้การเกษตรวิธีนี้ประสบความสำเร็จ ก้าวไปได้อย่างมั่นคงไม่ล้มเลิกกลาง คัน มีการขยายผลที่เหมาะสมในทุกๆ ด้านอย่างไม่รวดเร็วเกินไป กล่าวคือ ถ้าเกษตรกรสามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง หมายความว่าจะต้องมีความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีระบบภูมิคุ้มกัน โดยอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง โดยต้องเสริมสร้างความอดทน ความเพียร สติ ปัญญา ความซื่อสัตย์ สุจริต ตามองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายจำเป็นต้องมี เข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่อย่างแท้จริง
นอกจากนี้แล้ว การจัดการความเสี่ยงในเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร การใช้ทฤษฎีใหม่ในภาคเกษตร จะช่วยลดความเสี่ยง ช่วยลดต้นทุนค่า ขนส่งในระบบเศรษฐกิจและสามารถอยู่อย่างพอเพียงได้ แต่ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น การสนับสนุนจากทั้งราชการและเอกชน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย
๒๔กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนมุ่งเน้นบทบาทที่สำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงการปรับตัวและพัฒนาของธุรกิจด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบริหารจัดการธุรกิจที่รอบคอบ การจัดการทรัพยากรการผลิตให้เกิดประโยชน์ การเข้าถึงตลาด การบริหารการเงินที่เป็นระบบ และการมีระบบข้อมูลเตือนภัย ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นหลัก ความสมดุล ความพอประมาณ และการเชื่อมโยงให้เกิดความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการ จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ลักษณะการเสนอความคิดของผู้เขียน มักจะใช้คำหลัก คือ (๑) ความค่อยเป็นค่อยไป (๒) ความเสี่ยงและภาระหนี้สิน และ (๓) การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องความพอเพียงและความพอประมาณอย่างมีเหตุผลตลอดจนการยึดทางสายกลาง ได้เป็นอย่างดี
การประยุกต์แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงต่อองค์กรใหญ่ อาจไม่ใช่สิ่งที่จะเห็นได้ชัดเจน และ อาจไม่สอดคล้องกับแนว ความคิดในทางธุรกิจทั่วไปที่ส่งเสริมการเก็งกำไร และเชื่อว่า High Risk High Return อย่างไรก็ดี แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะใช้ในระดับนโยบายของชาติ ควรจะมุ่ง เน้นระดับ SMEs ในแง่มุมกว้าง เช่น เกษตรกรรายเล็กและกลาง ซึ่งกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๒๕
๖)
ผู้สรุปเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในส่วน SMEs ได้เป็นอย่างดีกล่าวคือ ถึงแม้องค์กรขนาดใหญ่จะ ล้มละลายในช่วงหลังวิกฤต แต่ SMEs ส่วนมาก ยังสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงระดับครอบครัวในชุมชนจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อแต่ละครอบครัวลงได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีกันในชุมชนด้วย
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ บรรษัทภิบาล กับเศรษฐกิจพอเพียง เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนมุ่งเน้นเรื่องความพอเพียง ซึ่งหมายถึง ความ พอประมาณและมีเหตุผล ตลอดรวมถึง การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีพอควร โดยต้องมีความรอบรู้และระมัดระวัง ในขณะที่ การมุ่งสร้างกำไรในระยะสั้น จะก่อให้เกิดหนี้สิน และขาดความรอบคอบ ในการกระจายความเสี่ยง ส่วนความซื่อสัตย์ที่มีไม่พอ จะส่งผลให้ต้องการกอบโกยผลประโยชน์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงของการขาด ธรรมาภิบาล ซึ่งถือเป็นหลักในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในการทำธุรกิจ
ผู้เขียนได้นำเสนอกรอบความคิดของ Corporate governance โดยประยุกต์จริยธรรมธุรกิจ (Ethic) เข้ามาร่วมด้วยโดย เฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันการกอบโกยผลประโยชน์ของ ผู้บริหาร และวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ ใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยครอบคลุมธุรกิจและเชื่อมโยง หลักธรรมาภิบาลและจริยธรรมได้อย่างดี
๒๖กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
๗)
นิพนธ์ พัวพงศกร การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยกับ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
การพัฒนาประเทศไทย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการเงิน จนมีการลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์ ด้วยความเสี่ยงสูง กล่าวคือ มีอัตราส่วนการลงทุนต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่สูงขึ้นมาก และเกิดความ ไม่เป็นธรรมในการดำเนินการจากการเอารัดเอาเปรียบธุรกิจขนาดเล็กและกลาง ซึ่งมีผลิตภาพเฉลี่ยต่ำ และมีโอกาสต่ำ ที่จะเติบโตสู่กิจการขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงละเลย การสร้างภูมิคุ้มกัน เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้เกิดการพัฒนาบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม
ผู้เขียนหยิบยก โครงสร้างอุตสาหกรรมของไทยในอดีต ๕๐ ปีที่ผ่านมา เพื่ออธิบายภาพของการพัฒนาอุตสาหกรรม แล้วเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนของ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยง ทั้งนี้ โดยวิเคราะห์ว่า ความชะล่าใจในการมองว่าเศรษฐกิจจะมีแต่ขาขึ้น ทำให้เกิดความไม่รอบคอบและขาดการระมัดระวังเท่าที่ควร จึงควรประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงอย่างมีระบบและประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี เนื่องจาก SMEs มีความหลากหลาย การประยุกต์แนวคิดเรื่องความพอเพียง ควรมีความยืดหยุ่นพอสมควร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไปของแต่ละท้องถิ่น และประเภทของอุตสาหกรรม
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๒๗
๘)
ณัฐพงศ์ ทองภักดี และคณะ การปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียง ด้านการค้าระหว่างประเทศ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนเห็นว่า ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศในเชิงความได้ เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative advantage) และทฤษฎีการค้าแบบใหม่ สามารถประยุกต์เข้ากับแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนิน การลดความเสี่ยงด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจนนโยบาย ที่ช่วยให้เกิดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบถาวร ตลอดจนการระมัดระวังต่อผลกระทบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความ ผันผวนต่างๆ
บทความนี้ เน้นการรู้จักคิดอย่างรอบคอบในการผลิตบนพื้นฐาน ของการรู้จักตัวเองให้มากที่สุด เพื่อจะผลิตสินค้าที่มีความได้เปรียบอย่างแท้จริง มิได้ตามกระแสโลกรอบๆตัวเรา โดยยกทฤษฎีแนวเก่ากับใหม่มาเปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้ประยุกต์ได้กับแนวทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศได้ทั้งสองแนว
อย่างไรก็ดี ยังมีความไม่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจพอเพียงอาจเป็นเพียงส่วนย่อยของทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศทั้งสองแบบ หรือแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมีความยืดหยุ่นและ ใช้ได้ดี แม้ในแนวการมองในแบบต่างๆ (Robustness) จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างค่อนข้างกว้างขวาง จึงสมควรที่จะมีการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศในแบบที่
๒๘กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
แตกต่างออกไป จนเป็น A Class of Decomposition International Trade Theory
๙)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แนวความคิดการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงด้วย โครงสร้างการผลิตที่เหมาะสม เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
ผู้เขียนพยายามเขียนถึงแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งประโยชน์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นประเด็นในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันในภาคเกษตรยากจน และการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอย่างมีระบบ ทั้งในด้านอุตสาหกรรม การปลูกจิตสำนึก และความพอประมาณในการลงทุน และความรอบคอบในการวางแผนผลิตและจำหน่าย โดยนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับการบริการภายใต้ความพอดีและทางสายกลาง จะทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศได้
หัวข้อเด่นของบทความนี้คือ สัดส่วนที่เหมาะสมของการผลิต ในแต่ละสาขา ว่าควรเป็นเท่าไรในแต่ละช่วงเวลา เพื่อป้องกันปัญหาในด้านประสิทธิภาพ และการลงทุนสูงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในอนาคต ซึ่งจะเห็นว่า ผู้เขียนมุ่งเน้นที่ระดับที่เหมาะสม (Optimal Level) แต่ยังไม่ได้เชื่อมโยงแนวคิดเรื่อง ความเหมาะสมนี้ กับแนวคิดเรื่องความพอเพียง แต่ชี้ให้เห็นว่า การมุ่งเน้นที่จุดสูงสุด (Maximisation) และก่อให้เกิดความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมโยง แต่ละภาคของเศรษฐกิจให้มีความพอเพียง
----------------------------------------------บทที่ ๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : เศรษฐกิจพอเพียง ๒๙
๑๐)
การพัฒนาโครงสร้างการผลิตที่เหมาะสมบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจากการศึกษาตัวเราเองก่อนว่า อะไรเป็นจุดแข็งแกร่งของเราในช่วงเวลานั้นๆ ตลอดรวมถึง ภูมิปัญญาไทย (รอบรู้) เน้นการออมและการลงทุนที่ฉลาด (ระมัดระวัง) และมีการผลิตที่หลากหลายและลดความเสี่ยงจากตลาดภายนอก (ภูมิคุ้มกันที่ดี) ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินไปได้ ต้องมีทางสายกลางในความคิดและการกระทำ เป็นองค์ประกอบหลักด้วยเช่นกัน
ปกรณ์ วิชยานนท์ และ ยศ วัชระคุปต์ ภูมิคุ้มกันต่อ ความผันผวนของเงินทุนจากต่างประเทศ เอกสารประกอบ การสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี ๒๕๔๒
จากบทเรียนวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น อันเนื่องจากความ ผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนระหว่างประเทศที่ขยายตัว อย่างรวดเร็วนั้น จำเป็นที่จะต้องมี การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น และลดการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศลง โดยไม่ผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัว โดยพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศมากเกินควร
นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงบทเรียนจาก ความไม่รอบคอบของการวางนโยบายเศรษฐกิจด้วยว่า หากความน่าเชื่อถือทางเครดิตของประเทศเสื่อมลงเมื่อใด ก็เป็นการยากที่จะฟื้นฟูความน่าเชื่อถือดังกล่าวให้กลับมาสู่ระดับเดิมได้ และถึงแม้จะทำได้ก็มักใช้เวลานานอีกด้วย
๓๐กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ___________________________________
การสร้างระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าด้วยวิธีการต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็นผู้สร้างเองนั้นอาจสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันโดยอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาคนั้นคงจะกระทำได้ยาก เนื่องจากอาจไม่มีประเทศที่จะเป็นผู้นำทางด้านการเงิน ภายใต้สภาพเศรษฐกิจในเอเชียที่ตกต่ำมากในขณะนี้
ที่มา http://www.sufficiencyeconomy.org