www.Nattakae.webs.com
เศรษฐกิจการเงิน | การพัฒนาเศรษฐกิจ | เศรษฐกิจยางพารา | WEBBOARD | BLOG | แนะนำตัว

 

โสมเร่งเครื่องเจรจา FTA อาเซียน กลัวตกขบวนอาเซียน-จีนแซงหน้า

เกาหลีหวั่นตกขบวนเปิดเสรี เร่งเจรจา FTA อาเซียน-เกาหลี ตั้งเป้าเจรจาลดภาษีสินค้าจบภายในปีนี้ เริ่มลดภาษีได้ 1 ก.ค.2549 เผยอาเซียนนำสินค้า 8,000 รายการเข้าสู่บัญชีลดภาษี เผยเหล็ก-รถยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่ในบัญชีอ่อนไหวของไทย ส่วนเกาหลีผลักเกษตร-เครื่องใช้ในครัว เข้าบัญชีอ่อนไหว แหล่งข่าวจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าในการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างอาเซียน-เกาหลี ว่า ระหว่างวันที่ 18-21 กรกฎาคมนี้ จะมีการเจรจารอบที่ 4 ที่กรุงเทพฯ สำหรับประเด็นสำคัญในการเจรจาครั้งนี้ คือ การจัดทำกรอบข้อตกลงการค้าสินค้า (agreement of trade in goods) ซึ่งขณะนี้กรมอยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในการจัดทำรายการสินค้าร่วมกัน ในเบื้องต้นจะอาศัยกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งกำหนดว่าจะต้องครอบคลุมสินค้าที่ทำการค้าทั้งหมด (substantial all trade) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้า การเจรจา FTA อาเซียน-เกาหลี วางกรอบให้ประเทศคู่เจรจากำหนดรายการสินค้าไว้ในบัญชีปกติ (normal track) ร้อยละ 80 ของรายการสินค้าทั้งหมด หรือประมาณ 8,000 รายการสำหรับอาเซียน ขณะที่เกาหลีจะมีประมาณ 10,000 รายการ โดยจำนวนรายการขึ้นอยู่กับการแบ่งพิกัดของแต่ละประเทศ หลังจากนั้นจะเพิ่มอีกร้อยละ 10 จนครบร้อยละ 90 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 จะเป็นสินค้าในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (sensitive list) โดยมีกำหนดระยะเวลาในการลดภาษีเบื้องต้น คาดว่าจะสามารถเริ่มลดภาษีได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2549 จนถึงปี 2552 ทั้งนี้ไทยเสนอให้เหล็ก, รถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว ด้านเกาหลีเสนอสินค้าเกษตรและสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว

"FTA อาเซียน-เกาหลี เจรจามาแล้ว 3 รอบ ครอบคลุมกรอบความตกลงทั่วไป เช่น ระยะเวลาในการลดภาษี, ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศ ภาพรวมพบว่ามีความคืบหน้าไปมาก และคาดว่าภายในปี 2548 จะได้ข้อยุติในเรื่องการลดภาษีสินค้า จากนั้นในปี 2549 จะเจรจาในภาคบริการ และการลงทุนเพื่อให้แล้วเสร็จ และสามารถลงนามในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมนี้" แหล่งข่าวกล่าว ขณะนี้เกาหลีเร่งกระบวนการเจรจา FTA อาเซียน-เกาหลีมาก หลังจากพบว่าการเจรจา FTA อาเซียน-จีน คืบหน้าไปมาก เกาหลีจึงไม่อยากตกขบวน และในบัญชีรายการสินค้าของเกาหลีจะมีลักษณะคล้ายๆ ญี่ปุ่น แต่สามารถเจรจาคืบหน้าไปมากกว่า แต่การเจรจาของอาเซียน-ญี่ปุ่น ยังมีปัญหา เนื่องจากญี่ปุ่นพยายามจะนำผลการเจรจา FTA ที่ทำกับบางประเทศในกลุ่มอาเซียนมารวมกันเป็นอาเซียน-ญี่ปุ่น ทำให้ข้อตกลงของบางประเทศขัดกันเอง จึงคาดว่า FTA อาเซียน-เกาหลี จะเสร็จสิ้นก่อน FTA อาเซียน-ญี่ปุ่น นอกจากนี้ อาเซียน-เกาหลีจะหารือประเด็นกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (rules of origin) ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้รูปแบบกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียน กล่าวคือ มีการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (local content) ของประเทศอาเซียน-เกาหลี ร้อยละ 40 แต่หากเกาหลีไม่ยอมรับก็จะต้องมีการเจรจากันต่อไปอีก ส่วนเจรจาในประเด็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ จะมีการเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศเพื่อทำหน้าที่พิจารณากรณีพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนจากอาเซียน-เกาหลี หรือประเทศที่สาม และจะมีการหารือถึงวิธีการในการระงับข้อพิพาทด้วย

เกาหลีหวั่นตกขบวนเปิดเสรี เร่งเจรจา FTA อาเซียน-เกาหลี ตั้งเป้าเจรจาลดภาษีสินค้าจบภายในปีนี้ เริ่มลดภาษีได้ 1 ก.ค.2549 เผยอาเซียนนำสินค้า 8,000 รายการเข้าสู่บัญชีลดภาษี เผยเหล็ก-รถยนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่ในบัญชีอ่อนไหวของไทย ส่วนเกาหลีผลักเกษตร-เครื่องใช้ในครัว เข้าบัญชีอ่อนไหว แหล่งข่าวจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าในการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างอาเซียน-เกาหลี ว่า ระหว่างวันที่ 18-21 กรกฎาคมนี้ จะมีการเจรจารอบที่ 4 ที่กรุงเทพฯ สำหรับประเด็นสำคัญในการเจรจาครั้งนี้ คือ การจัดทำกรอบข้อตกลงการค้าสินค้า (agreement of trade in goods) ซึ่งขณะนี้กรมอยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในการจัดทำรายการสินค้าร่วมกัน ในเบื้องต้นจะอาศัยกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งกำหนดว่าจะต้องครอบคลุมสินค้าที่ทำการค้าทั้งหมด (substantial all trade) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้า การเจรจา FTA อาเซียน-เกาหลี วางกรอบให้ประเทศคู่เจรจากำหนดรายการสินค้าไว้ในบัญชีปกติ (normal track) ร้อยละ 80 ของรายการสินค้าทั้งหมด หรือประมาณ 8,000 รายการสำหรับอาเซียน ขณะที่เกาหลีจะมีประมาณ 10,000 รายการ โดยจำนวนรายการขึ้นอยู่กับการแบ่งพิกัดของแต่ละประเทศ หลังจากนั้นจะเพิ่มอีกร้อยละ 10 จนครบร้อยละ 90 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 จะเป็นสินค้าในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (sensitive list) โดยมีกำหนดระยะเวลาในการลดภาษีเบื้องต้น คาดว่าจะสามารถเริ่มลดภาษีได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2549 จนถึงปี 2552 ทั้งนี้ไทยเสนอให้เหล็ก, รถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว ด้านเกาหลีเสนอสินค้าเกษตรและสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว

"FTA อาเซียน-เกาหลี เจรจามาแล้ว 3 รอบ ครอบคลุมกรอบความตกลงทั่วไป เช่น ระยะเวลาในการลดภาษี, ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศ ภาพรวมพบว่ามีความคืบหน้าไปมาก และคาดว่าภายในปี 2548 จะได้ข้อยุติในเรื่องการลดภาษีสินค้า จากนั้นในปี 2549 จะเจรจาในภาคบริการ และการลงทุนเพื่อให้แล้วเสร็จ และสามารถลงนามในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมนี้" แหล่งข่าวกล่าว ขณะนี้เกาหลีเร่งกระบวนการเจรจา FTA อาเซียน-เกาหลีมาก หลังจากพบว่าการเจรจา FTA อาเซียน-จีน คืบหน้าไปมาก เกาหลีจึงไม่อยากตกขบวน และในบัญชีรายการสินค้าของเกาหลีจะมีลักษณะคล้ายๆ ญี่ปุ่น แต่สามารถเจรจาคืบหน้าไปมากกว่า แต่การเจรจาของอาเซียน-ญี่ปุ่น ยังมีปัญหา เนื่องจากญี่ปุ่นพยายามจะนำผลการเจรจา FTA ที่ทำกับบางประเทศในกลุ่มอาเซียนมารวมกันเป็นอาเซียน-ญี่ปุ่น ทำให้ข้อตกลงของบางประเทศขัดกันเอง จึงคาดว่า FTA อาเซียน-เกาหลี จะเสร็จสิ้นก่อน FTA อาเซียน-ญี่ปุ่น นอกจากนี้ อาเซียน-เกาหลีจะหารือประเด็นกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (rules of origin) ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้รูปแบบกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียน กล่าวคือ มีการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (local content) ของประเทศอาเซียน-เกาหลี ร้อยละ 40 แต่หากเกาหลีไม่ยอมรับก็จะต้องมีการเจรจากันต่อไปอีก ส่วนเจรจาในประเด็นการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ จะมีการเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศเพื่อทำหน้าที่พิจารณากรณีพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนจากอาเซียน-เกาหลี หรือประเทศที่สาม และจะมีการหารือถึงวิธีการในการระงับข้อพิพาทด้วย

 

 

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

 

 


เศรษฐกิจการเงิน   |  การพัฒนาเศรษฐกิจ  |  เศรษฐกิจยางพารา  |  WEBBOARD  |  BLOG  |  แนะนำตัว